28 มิถุนายน 2557

จากเพื่อนถึงเพื่อน


27 มิถุนายน 2014 เวลา 20:19 น.
ทำงานลงพื้นที่มาก็ 2 ปีกว่าแล้วได้เรียนรู้ประสบการณ์อันหลากหลายในท้องถนน ข้างถนน ได้รู้จักกับมิตรภาพที่ดีกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตอนแรกเลยเราไม่เคยลงมานั่งคุยแบบนี้มาก่อน อย่างมากก็แค่เดินผ่านและไม่ได้สนใจอะไร แต่ก็แอบเก็บความสงสัยไว้อยู่บ้างว่า พวกเขาอยู่กันอย่างไง มีคนมาคุยด้วย รึป่าว ในความรู้สึกตอนแรกเราก็กลัวเขานะ ว่าเขาจะมาทำอะไรเรารึป่าว แต่พอได้ลองลงมานั่งคุย ลงมานั่งเป็นเพื่อน คุยกับพวกเขา รู้สึกได้ว่า ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดแถมเขายังดีใจอีกต่างหากว่ามีคนมาคุยกับพวกเขาโดยที่ไม่คิดที่รังเกียจ ในตัวพวกเขาครั้งแรกเลยที่ได้คุยจริงๆจังๆ กะคุณลุงท่านนึงแกได้ถามเรามาคำนึงว่า หนูไม่รังเกียจคนอย่างลุงหรอ ตัวลุงเหม็นนะแล้วก็ไม่มีใครเขาอยากจะมาคุยกะลุงด้วย เราได้ยินดังนั้นก็เลยบอกคุณลุงไปว่า ลุงหนูไม่คิดอย่างนั้นเลย หนูรู้สึกว่ามานั่งคุยกับลุงแล้วรู้สึกดี มาก พอคุณลุงได้ยินดังนั้น ก็ดีใจมาก พูดออกมาว่าแต่ก่อนไม่เห็นมีใครจะมาคุยลุงเลย มีแต่หนูนี้ละ แต่ก่อนลุงเคยไปนอนหน้าเซเว่นเค้าไล่ตี ลุงบ้าง ไล่ให้ไปที่อื่น เวลาคนเดินผ่านไป ผ่านมาก็ไม่มีใครจะกล้าคุยกะลุง ลุงก็กลัวเขาจะเข้ามาทำร้ายลุงอยู่เหมือนกัน ตั้งแต่วันนั้นจนมาถึงวันนี้ก็ยังแวะเวียนไปพูดคุยกับคุณลุงอยู่เสมอ แล้วยังได้ทักทายพูดคุยกับเพื่อนๆเราคนอื่นๆ ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีกด้วย เรารับรู้ได้นะถึงความอบอุ่น และความผูกผัน ในความเป็นเพื่อน เจอหน้ากันทักทายพูดคุย ยามเพื่อนมีปัญหา ทุกข์ใจ เราก็เป็นที่รับฟังให้กับเพื่อน คอยแนะนำเพื่อนให้กำลังใจเพื่อน ยามเพื่อนไปในทางที่ผิดเราก็จะมักตักเตือนเพื่อนอยู่เสมอ นี้ละ คำว่าเพื่อน เพื่อนกันมันไม่จำเป็นต้องแบ่งจะจน หรือ รวย เราไม่อายนะที่มีเพื่อนอยู่ข้างถนน เพราะเราคิดว่าพวกเขาเป็นเพื่อนเราแล้ว เพื่อนคนนี้ยินดีที่จะนั่งคุยตรงพื้นถนน นั่งคุยริมถนนกับเพื่อนอย่างเต็มใจ เพราะสุดท้ายแล้วยังไง เพื่อนก็สามารถพาเพื่อนอีกคนกลับสู่ครอบครัว สังคม ชุมชนได้ ความประทับใจของเพื่อนอีกคนที่ไม่มีวันลืมก็คือ พี่เฉลิม เป็นคนแรกที่คุยตั้งแต่มาเป็นอาสาสมัคร ทุกครั้งที่ลงพื้นที่คลองหลอดสนามหลวง เจอหน้ากันก็พูดคุย ทักทายกันอยู่ตลอดจนสุดท้าย เราสามารถพาพี่เฉลิมกับสู่ครอบครัวด้วยตัวเราเอง ถึงแม้ว่าทุกวันนนี้พี่เฉลิมจะกลับสู่ครอบครัวแล้ว แต่หน้าที่ของความเป็นเพื่อนก็ยังมีอยู่เสมอ เรายังคงติดต่อโทรไปหาพี่เฉลิมอยู่ ทุกครั้งที่มีโอกาส สอบถามว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง แล้วช่วงเดือนมกราของปี 58 เราได้สัญญากับพี่เฉลิมไว้ว่าเราจะไปเยี่ยมแกที่จังหวัดลำปางบ้านเกิดของแก เพื่อนมีความสุข เราก็มีความสุข และนี่คือมิตรภาพดีๆที่เราอยากจะแบ่งปันให้กับผู้อ่านทุกได้รับรู้ 


ป.ล ขออภัยมือใหม่หัดเขียนบันทึก 

25 มิถุนายน 2557

the long

The long and winding road that leads to your door
Will never disappear, I've seen that road before
It always leads me here, lead me to your door

The wild and windy night that the rain washed away
Has left a pool of tears crying for the day
Why leave me standing here, let me know the way

Many times I've been alone and many times I've cried
Anyway you'll never know the many ways I've tried
And still they lead me back to the long and winding road
You left me standing here a long, long time ago
Don't leave me waiting here, lead me to you door

But still they lead me back to the long and winding road
You left me standing here a long, long time ago
Don't keep me waiting here, lead me to you door

รูปภาพ : The long and winding road....You've never walk alone.

จากใจ ในการทำงานภาคสนาม


20 มิถุนายน 2014 เวลา 20:48 น.
จะเล่าอธิบายสักหน่อยตั้งแต่ครั้งแรกที่มาเป็นอาสาสมัครที่มูลนิธิอิสรชนจนกระทั่งตอนนี้ได้เป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิอิสรชน ครั้งแรกเลยเราได้เกิดความสงสัยในใจว่ามีคนมานอนอยู่แถวบ้านแต่เขาป่วยไม่สบาย เราจึงได้บอกแม่ว่าจะขอเอาน้ำ เอาข้าวเอายาไปให้แต่ว่าตอนนั้นเป็นตอนกลางคืนซึ่งฝนตกหนักมาก แม่เลยบอกว่าค่อยเอาไปให้พรุ่งนี้แต่ปรากฏว่าเราตื่นมาตอนเช้าคนนั้นที่มานอนแถวบ้านเราเขาได้เสียชีวิตลงแล้วมีรถปอเต๊กตึ้งมาเก็บไปเมื่อเช้า ในใจตอนนั้นเราแอบเศร้าใจอยู่เล็กๆที่ว่ช่าถ้าเราออกเอาข้าว เอายาเอาน้ำไปให้เขาคงไม่ตายซึ่งมันอาจเป็นความคิดของเด็กที่จะตั้งใจจะช่วย ปกติแล้วเราจะชอบให้ตังอยู่แล้วเช่นขอทานหรือไม่ก็คนที่เดินเข้ามาขอซึ่งตอนนั้นเราคิดว่าให้เขาไปแล้วโดยไม่คิดอะไรใจจริงสงสารเขาตั้งแต่แรกด้วยความตั้งใจและความสงสารจึงให้ตังเขาไป ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็ได้เก็บความสงสัยไว้ว่า ทำไมเขาถึงออกมาอยู่ข้างถนน แล้วทำไมเค้าถึงไม่กลับบ้าน ในความรู้สึกตอนแรกคือสงสารพอดีว่างช่วงนั้นปิดเทอมพอดีแล้วเราก็ว่างไม่รู้จะทำอะไรก็เลยตัดสินใจว่าจะมาลองทำงานอาสาสมัครเราจะได้หาคำตอบที่เรายังสงสัยและค้างคาใจเราอยู่ จนมาเจอกับมูลนิธิอิสรชน ได้มารู้จักกับพี่นทีและพี่จ๋า 2 สามีภรรยาผู้ที่อุทิศตนทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอดครั้งแรกที่มาเป็นอาสาสมัครก็ยังแอบสงสัยว่า เอ่ะพี่เค้ามาทำอะไรกันที่คลองหลอดทุกวันอังคารกับศุกร์ ประโยคที่พี่นทีเคยพูดให้เราฟังว่า คนที่นี้ไม่ต้องการให้ใครมาสงสารแต่อยากให้เข้าใจ และมองว่าเขากับคุณเราเท่ากัน จากใจตลอดระยะเวลาที่ลงทำงานภื้นที่ภาคสนามได้ทำงานเกี่ยวกับคน ได้รู้อะไรอีกเยอะในพื้นที่ ได้รู้จักคำว่ามิตรภาพ ความเป็นเพื่อน ความเข้าใจกัน มีแอบนอยๆบ้างเป็นบางครั้งอย่างเช่นเวลามีเพื่อน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เวลาเมาแล้วจะพูดว่าเราว่า เราอ้วนแต่เราก็ไม่โกดเราเข้าใจว่า เพื่อนเราเมาแต่พอเขาหายเมาก็มาคุยกับเราปกติอาจจะขี้อายซะด้วยซ้ำอีกอย่างงานภาคสนามเป็นงานที่ต้องมีความละเอียดอยู่เช่นการเก็บข้อมูลของเพื่อนเราซึ่งไม่เอาไปพูดกับใครเก็บไว้เป็นความลับซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การทำงานในภาคสนามยังคงดำเนินต่อไปยังมีคนที่ยังลำบากกว่าเราอีกเยอะ และยังมีเพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่บางส่วนยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ จะยืนยันว่าจะยังคงดำเนินงานภาคสนามต่อไปเพราะงานของเรายังหยุดไม่ได้และไม่มีวันหยุดเราพบเจอเพื่อนเราทุกทีที่แห่งทั่วกรุงเทพมหานครและเราจะใช้ความเป็นเพื่อนนี้ละส่งเพื่อนกลับบ้าน กลับสู่ภูมิลำเนาและชุมชนไม่ออกมาเร่ร่อนและใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีก 

การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในนครนิวยอร์ก

AREA แถลง ฉบับที่ 81/2557: 20 มิถุนายน 2557
การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในนครนิวยอร์ก
          การจัดหาที่อยู่อาศัยอย่างถาวรให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเป็นหนทางในการช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างยั่งยืนที่สุด ทั้งนี้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เรียนรู้จากกรณีมหานครนิวยอร์ก
          เมื่อเวลา 16:00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2557 หรือเทียบกับเวลาไทยคือ 03:00 น. ของเช้าวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2557 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าทรัพย์สินไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิอิสรชน ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย พร้อมด้วย คุณวิไลพรรณ หลวงยา รองประธานมูลนิธิ และคุณเมธินี คุณวิศาล อาสาสมัครมูลนิธิ ได้เข้าพบนายเดวิด เบียร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนายเจฟ ชูเออร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ของมูลนิธิคอมมอนกราวน์ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนดำเนินการด้านการช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ณ สำนักงานใหญ่บนถนนสายแปด มหานครนิวยอร์ก เพื่อศึกษาประสบการณ์ของมูลนิธิแห่งนี้
          มูลนิธิคอมมอนกราวน์ มีคติว่า “Ending homelessness in New York” หรือทำให้การไร้ที่อยู่อาศัยหมดไปในนครนิวยอร์ก มูลนิธินี้เคยได้รับรางวัลดีเด่นของสหประชาชาติด้านการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย สามารถช่วยผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้ราว 5,000 คน จากจำนวนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทั้งหมดทั่วนครนิวยอร์กประมาณ 50,000 คนในขณะนี้ ตัวเลขผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะลดลงอย่างต่อเนื่องก่อนช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2551 แต่หลังจากนั้นกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจมีผลสำคัญต่อการเกิดสภาพไร้บ้าน
          ในปัจจุบันมูลนิธิคอมมอนกราวน์สามารถจัดหาที่อยู่อาศัยได้ประมาณ 3,200 หน่วย ในโครงการที่อยู่อาศัยประมาณ 13 โครงการ นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่ๆ ช่วยบำบัดความต้องการเฉพาะหน้าแก่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีก 120 แห่ง  ห้องทั่วไปมีขนาด 30 ตารางเมตร โดยมีต้นทุนค่าก่อสร้างสูงถึง 9 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยนคร่าว ๆ 30 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ) แต่ก็มีห้องขนาดเล็ก ๆ เพียง 15 ตารางเมตร ทางมูลนิธิคิดค่าเช่าประมาณ 6,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ค่าเช่าตลาดคือ 21,000 บาทต่อเดือน มูลนิธิคัดเลือกผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมาเช่าได้อย่างโปร่งใส ไม่ใช่หาใครมาสวมสิทธิ์ หรือเช่าช่วง และปรากฏว่าผู้เช่า เต็มใจที่จะเช่า ณ ค่าเช่าราคาถูกนี้ โดยแทบไม่มีใครถูกไล่ออกเพราะไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้
          ผู้ที่เช่าอยู่ในโครงการที่อยู่อาศัยที่จัดหาให้นี้มักเป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมีอาการป่วยทางจิตถึงราว 40% แต่ไม่ได้อยู่ในระดับรุนแรง นอกนั้นเป็นกลุ่มอื่นๆ แต่ส่วนมากเป็นปัจเจกบุคคล ไม่ได้เป็นครอบครัว การจัดหาที่อยู่อาศัยให้ จะทำให้เขาสามารถกลับเข้าสู่สังคมปกติอย่างมีศักดิ์ศรี ส่วนที่อาบน้ำ อาหาร การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการจัดหางานทำให้กับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเหล่านี้
          มูลนิธินี้เกิดขึ้นมา 25 ปีแล้ว และมีความเป็นไปได้ทางการเงินในการดำรงอยู่ โดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุนส่วนหนึ่ง เพราะการสร้างที่อยู่อาศัยโดยภาครัฐแพงกว่า เสียค่ารักษาพยาบาลแพงกว่าที่จะจัดหาที่อยู่อาศัยแบบนี้ อีกส่วนหนึ่งก็คือผู้บริจาค หรืออาจเรียกว่าผู้ลงทุนยินดีบริจาคเงิน 0.8 เหรียญสหรัฐ แต่สามารถนำไปหักภาษีได้ถึง 1 เหรียญสหรัฐ เป็นระยะเวลา 10 ปี ทำให้มีเงินมากเพียงพอกับการดำเนินการ รายได้ของมูลนิธิตกปีละ 1,620 ล้านบาท มีลูกจ้าง 400 คน โดยสามในสี่เป็นผู้ดูแลอาคารต่าง ๆ ที่เหลืออยู่ในสำนักงานใหญ่ ในอนาคตอันใกล้นี้ ยังจะจัดสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มอีก 700 หน่วย
          ในอนาคต มูลนิธิอิสรชนอาจได้พยายามนำประสบการณ์ดีๆ จากมหานครนิวยอร์กนี้มาใช้ในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่นบ้าง
ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

15 มิถุนายน 2557

คำว่าเพื่อนกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ


13 มิถุนายน 2014 เวลา 20:30 น.
ขอเขียนบทความสั้นๆสักเล็กน้อยกับการลงมาทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ใน 13 กลุ่ม การทำงานของมูลนิธิอิสรชนนั้น คือการลงมาเป็นเพื่อนพูดคุย สร้างความคุ้นเคยในเบื้องต้น และหาทางส่งเขากลับสู่ภูมิลำเนา ในคำว่าเพื่อนนั้นกับในการทำงานของอิสรชน ต้องย้อนถามว่า คุณเคยมีเพื่อนสนิทมั้ย แล้วเพื่อนมีหน้าที่ไว้ทำอะไร ? คำตอบก็คือ ก็เพื่อนมีไว้ พูดคุยปรึกษา พูดคุยกันได้ทุกเรื่องในการลงพื้นที่แต่ละครั้งของเรา จะเข้าไปคุยในแบบเพื่อน ขั้นตอนแรกถือขนมหยิบติดไม้ ติดมือไปด้วย แล้วก็เข้าไปนั่งพูดคุยกับพวกเขา ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉันได้ลงมาทำอาสาสมัครที่สนามหลวง คลองหลอด และจนได้มาเป็นเจ้าที่ภาคสนามที่มูลนิธิอิสรชน ฉันมีเพื่อนมากมาย มันคือมิตรภาพข้างถนน มิตรภาพที่เข้าใจกัน แบ่งปันกัน เท่าเทียมกัน ช่วยเหลือกัน หลังจากนั้นฉันได้มีโอกาสส่งเพื่อนกลับบ้านนั้นก็คือพี่เฉลิม ออกมาเร่ร่อนตั้งหลายปี น้อยใจครอบครัว เลยออกมาเร่ร่อน ฉันได้ใช้ความเป็นเพื่อนในการลงไปพูดคุยกับพี่เฉลิมทุกครั้งและได้ชวนเค้ากลับบ้าน จนวันที่ไปส่งพี่เฉลิมกลับบ้าน ฉันก็เป็นคนไปส่งเอง ไปเยี่ยมพี่เฉลิมที่ร.พ นี่ละคำว่า ' เพื่อนที่เราใช้ในการทำงาน เพื่อนสามารถส่งเพื่อนกลับบ้านได้ เพื่อนคนนี้ก็ดีใจ และเพื่อนอีกคนนึงของฉันคือ พี่เวศ พี่เวศปกติจะเมาเป็นบ้างวัน ถ้าวันไหนโชคดีเจอพี่เวศไม่เมาก็ดีหน่อย อาจจะพอคุยกับพี่เวศได้บ้างแต่ถ้าวันไหนพี่เวศเมา เราก็จะคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่พอเวลาพี่เวศมีปัญหามีเรื่องไม่สบายใจก็จะมาปรึกษาหรือมาพูดคุยกับฉันเสมอ ในความเป็นเพื่อนเราอาจจะเรียกได้ว่าสนิทกันเพราะเจอหน้าพี่เวศเราก็ทักทายตลอดพูดคุยตลอด ดูแลในเรื่องสุขภาพ การทำแผลหรือแม้กระทั่ง พาเพื่อนส่งโรงพยาบาล การทำงานที่เราทำ ไม่ใช่แค่มองว่าเค้าเป็นผู้รับบริการกับเราเป็นเจ้าหน้าที่แค่นั้น แต่การทำงานของเรา คือ เพื่อนมากกว่า เพื่อนบางคนอาจจะมีเพื่อนเยอะ เพื่อนที่สนิทจริงๆอาจจะมีแค่ไม่กี่คน นี่ละมิตรภาพของคำว่า เพื่อนกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ 

9 มิถุนายน 2557

เส้นทางการเดินทางที่หลากหลายของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

7 มิถุนายน 2014 เวลา 21:00 น.

วันนี้ได้มีโอกาสไปติดตามเส้นที่ ทางของเพื่อนเราหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่มารับของแจกตามเทศกาลต่างๆที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ที่จังหวัดสมุทรสาครก่อนหน้านั้นจะขอเอ่ยว่าตัวเราได้ลงพื้นที่ ที่สนามหลวงคลองหลอดทุกวันอังคารกับวันศุกร์เป็นประจำช่งนี้ในพื้นที่สนามหลองหลอดจะเงียบเหงาเพราะเพื่อนเราในพื้นที่ต่างก็ไปรับของแจกที่ตามเทศกาลต่างๆ อย่างเช่นช่วงนี้วันที่ 4-8 มิถุนายน มีงานการแห่เจ้าพ่อศาลหลักเมือง ก็จะมีการแจกทาน การแจกผัดหมี่ ฉายหนังกลางแปลง ต่างๆ เสมือนเป็นงานบุญ งานวัด เพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะแต่ละคนจะมีโพยจดเอาไว้ว่าวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร ที่ไหนที่จะมีเทศกาลรับของแจกบ้าง ถึงในช่วงหน้าเทศกาลต่างๆตามจังหวัดต่างๆที่ใกล้กับกทม เพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะก็จะมารอรับของแจกและมารอดูฉายหนังกลางแปลง พอถึงหมดช่วงในหน้าเทศกาลเพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะก็ต่างจะทยอยกลับมาสู่พื้นที่ ที่เขาเคยอยู่ หรือกลับสู่สภาวะปกติ เพราะฉะนั้นในช่วงที่มาเทศกาลรับของแจก ส่วนที่เหลือในพื้นที่ก็จะมีแต่ผู้ป่วยทางจิต คนป่วย อย่างวันนี้เราได้มาลงตามดูเพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่มารอรับแจกผัดหมี่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร ได้เจอทั้งเพื่อนที่อยู้สนามหลวงและเพื่อนที่มาจากทั่วๆทุกเขตของกทมและเพื่อนในตัวจังหวัดสมุทรสาครเองเราได้ลงไปนั่งพูดคุยกลับกลุ่มเพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่แต่ก่อนเดิมอยู่สนามหลวง คุณลุงท่านนึงเล่าให้ฟังว่า ช่วงนี้มาอยู่พื้นที่สมุทรสาครก่อนเพราะว่าที่สนามหลวงมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติและช่วงนี้เค้าประกาศเคอฟิวทำให้ใช้ชีวิตอย่างปกติไม่ได้อีกอย่างตนกลัวถูกยิงเลยมาอาศัยอยู่ที่นี้ก่อน คุณลุงยังได้บอกอีกว่าช่วงตอนกลางคืนที่เค้าฉายหนังกลางแปลงจะพบเจอเพื่อนเราเยอะมากเพราะจะมานั่งจับพื้นที่หน้าจอฉายหนัง เพื่อรอดูฉายหนัง เป็นความสุขทางใจเล็กๆของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและเราได้ลงพื้นที่ต่อที่วัดพระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม ก็ได้พบเจอเพื่อนเราที่ป่วยทางจิต 1 คนนอนอยู่ในศาลาวัด และได้เข้าไปพูดคุยกับคุณลุงท่านนึงมาจากสายไหมแกบอกว่าตั้งใจจะมาไหว้พระละหนีความวุ่นวายในเมืองหลวงมาหาที่สงบพักผ่อนจิตใจอดีตแกเคยเป็นทหารผ่านศึกเก่า มีหลากหลายเส้นทางของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธาณะ เส้นทางที่จะไปรับของแจกไหว้ หรือเส้นทางที่ออกจากบ้านมาสู่ถนน เและเส้นทางที่กลับบ้านของพวกเขา ในปัจจุบันเราพบว่าเริ่มมีผู้สูงอายุที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพิ่มขึ้นอาจจะด้วยมาจาก อาการหลงลืม หรือโรคอัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม แต่งานของเรายังดำเนินต่อไปเพื่อช่วยเหลือ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะให้มีความเท่าเทียมกับคนในสังคม เพราะเราเชื่อว่า คนเท่ากับคนเสมอ 

4 มิถุนายน 2557

ชีวิต

ค่ำไหนนอนนั้น ชีวิตเหมือนจะสุข แต่คุณรู้ไหมไม่ใช่เรื่องง่ายที่นอนที่ไหนก็ได้ บางคนป่วย บางคนเจ็บปวดในชีวิต นี่แหละชีวิตเพื่อน #ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ #ผู้ป่วยข้างถนน #มูลนิธิอิสรชน #สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน #มองคนเท่ากัน เพียงใครสักคนที่มองเห็นเป็นเพื่อนกัน

18 เมษายน 2557

หน่วยสวัสดิการ

วันนี้ออกหน่วยสวัสดิการสังคม สิทธิขั้นพื้นฐานกับบ้านมิตรไมตรี กทม. ที่ หมอชิต เจอเพื่อนใหม่ถูกลวงกระเป๋า #มูลนิธิอิสรชน

27 มีนาคม 2557

เส้นทางการกลับบ้านของพี่เฉลิม


22 มีนาคม 2014 เวลา 13:01 น.
วันนี้นับว่าเป็นวันที่อากาศดีจึงได้มานั่งเขียนบทความเล็กๆนึกขึ้นได้จึงได้เขียนเรื่องของพี่เฉลิม
เราได้รู้จักกับพี่เฉลิมครั้งแรกในตอนที่มาเป็นอาสาสมัครวันแรกเลยแล้วก็ได้คุยกับพี่เฉลิมเป็นคนแรก ครั้งแรกที่ได้คุยพี่เฉลิมบอกกับเราว่าที่ออกมาอยู่ข้างนอกเพราะน้อยใจน้องสะใภ้ที่พูดว่าพี่เฉลิมไม่ทำงานไหนจะต้องมีลูกที่จะต้องเลี้ยงแล้วยังต้องมาหาเลี้ยงคนพิการอีกพี่เฉลิมได้ยินก็เลยคิดน้อยใจที่ว่าเราต้องมาเป็นภาระของครอบครัวเลยตัดสินใจออกมาอยู่ข้างถนน เดิมแต่ก่อนพี่เฉลิมเล่าให้ฟังอีกว่าตนเองได้เคยเข้ามาในกรุงเทพซึ่งมาทำงานที่ซอยกลีบหมูแต่ตนเองประสบอุบัติเหตุตกต้นไม้เลยทำให้ขาทั้ง 2 คนผิดรูปและเดินไม่ค่อยถนัดจึงได้กลับไปพักที่บ้านที่จังหวัดลำปางแล้วมาเกิดเรื่องที่ว่าตนเองพิการเลยคิดที่จะออกมาอยู่ข้างถนนโดยพี่เฉลิมบอกว่าได้นั่งรถไฟฟรีมาจากลำปางครั้งแรกได้มานอนอยู่ที่หัวลำโพงก่อนแต่ว่าอยู่ได้ไม่นานเพราะว่าที่หัวลำโพงมีเจ้าถิ่นแล้วแกก็ยังโดนขโมยของอีกด้วยจึงทำให้แกต้องหาที่อยู่ใหม่พอดีมีเพื่อนที่รู้จักได้ชวนพี่เฉลิมไปอยู่ที่สนามหลวงพี่เฉลิมจึงได้นั่งรถเมล์ฟรีจากหัวลำโพงมุ่งหน้าสู่สนามหลวงพี่เฉลิมเล่าให้ฟังอีกว่าหลังจากที่มาอยูสนามหลวงคลองหลอดแล้วก็ได้มานั่งๆนอนอยู่ที่นี้และได้รู้จักเพื่อนมากมายที่คลองหลอดแต่แกบอกว่าตัวแกก็ได้กินเหล้าเหมือนกันที่กินเพราะว่าเครียดและมันทำให้หลับสบายจึงกินเราได้ใช้เวลาในการพูดคุยกับพี่เฉลิมทุกครั้งที่ลงพื้นที่คลองหลอดสนามหลวงอยู่ๆมาวันหนึ่งพี่เฉลิมแกก็ได้ไปคัดใบสำเนามาให้ ซึ่งย้อนกลับไปครั้งแรกที่ได้เจอแก แกบอกว่าจะเก็บขวดขายแล้วไปคัดสำงแม้ว่เนามาให้เราดูหลังจากนั้นเราก็เข้าไปฟื้นฟูพี่เฉลิมได้พูดคุยสอบถามความเป็นมาและสอบถามหาญาติซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่ญาติของพี่เฉลิมได้ติดต่อมายังทางมูลนิธิว่าเค้าเป็นน้องชายของพี่เฉลิมและอยากจะให้พี่เฉลิมกลับบ้านเราซึ่งตอนนี้ได้เป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิอิสรชนจึงได้เข้าไปพูดคุยกับพี่เฉลิมว่าญาติได้ติดต่อกลับมาอยากจะให้กลับบ้านในการพูดคุยครั้งแรกพี่เฉลิมบอกว่าไม่กลับแน่นอนเพราะกลับไปแล้วก็จะเป็นเหมือนเดิมเราได้พูดคุยกับน้องชายของพี่เฉลิม น้องชายเล่าให้ฟังว่าพี่เฉลิมตอนที่อยู่ลำปางแกเป็นคนกินเหล้าจัดมากและกินทุกวันน้องชายบอกว่าอยากคุยกับพี่เฉลิมเราจึงส่งโทรศัพท์ให้คุยพี่เฉลิมแกก็ดีใจที่ยังน้อยน้องชายยังไม่ลืมแก สุดท้ายวันหนึ่งพี่เฉลิมได้มาบอกกับเราว่าอยากกับบ้านแล้วอย่างน้อยก็ขอกลับไปอยู่ที่บ้านแล้ววันนั้นเราได้พาพี่เฉลิมไปอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เรียบร้อยและได้พาไปตรวจสุขภาพที่ร.พ กลางเพราะว่าแกมีอาการไอเป็นเลือดซึ่งหมอได้สั่งให้แกนอนร.พเป็นเวลา 2วันหลังจากที่พี่เฉลิมได้ขึ้นมาจากห้องตรวจย้ายมาอยู่ห้องผู้ป่วยอายุวกรรมชายแกก็เล่าให้เราฟังว่าหมอได้สอดกล้องลงไปในช่องท้องเพื่อตรวจดูและหมอยังได้บอกอีกว่าเฉลิมถ้าหากยังกินเหล้าอยู่อีกอาจจะยังไม่ถึงปี 58 แน่เพราะกระเพาะทะลุหมดแล้วพี่เฉลิมแกบอกว่าแกกลัวแกจะเลิกกินเหล้าแล้วหลังจากพักร.พได้ 2วันเราและหน่วยงานบ้านมิตรไมตรีกรุงเทพก็ได้มารับตัวพี่เฉลิมเข้าไปนอนที่บ้านมิตรไมตรีกรุงเทพก่อนเพื่อเตรียมเข้าพร้อมก่อนเดินทางส่งกลับบ้านที่จังหวัดลำปางและแล้ววันที่พี่เฉลิมรอคอยก็มาถึงซึ่งเป็นวันที่จะต้องเดินทางไปลำปางเราได้เข้าไปพูดคุยกับพี่เฉลิมถามว่าดีใจไหม พี่เฉลิมก็ตอบพร้อมกับรอยยิ้มว่าดีใจมากที่จะได้กลับบ้านตื่นเต้นจนนอนไม่หลับระหว่างที่เดินทางพี่เฉลิมก็ยังคงนั่งไปตลอดทาง ( เราเดินทางในตอนกลางคืนของวันพุธ ) และแล้วก็ถึงจุดหมายปลายทางคือจังหวัดลำปางเราและหน่วยงานบ้านมิตรไมตรีและพี่เฉลิมได้แวะอาบน้ำที่บ้านพักผู้สูงอายุก่อนที่จะเดินทางไปบ้านพี่เฉลิม พี่เฉลิมได้ขอให้เราโทรหาน้องชายว่าพี่เฉลิมใกล้จะถึงแล้วให้มาเปิดประตูรับด้วย ระหว่างที่เราเดินทางไปบ้านพี่เฉลิม พี่เฉลิมก็ตั้งหน้าตั้งตารอคอยว่าเมื่อไหร่จะถึงบ้าน และแล้วรถก็ได้มาถึงหน้าบ้านพี่เฉลิมซึ่งพี่ชายของพี่เฉลิมได้มายืนรอรับอยู่ พี่เฉลิมได้เห็นครอบครัวพี่ชายก็ดีใจที่ได้กลับบ้านหลังจากที่เราได้มาถึงบ้านพี่เฉลิมแล้วเราได้มาพูดคุยกับน้องชายพี่เฉลิมและพี่ชายของพี่เฉลิมว่าเราได้พาพี่เฉลิมกลับมาบ้านแล้วนะ พี่ชายกับน้องชายของพี่เฉลิมก็บอกว่ายังไงพี่น้องก็ไม่ทิ้งกันอยู่ขอให้กลับมาอยู่บ้านเดียวจะหางานทำให้ครอบครัวของพี่เฉลิมน่ารักมีหลานๆลูกของน้องชายอีก 2 คน ซึ่งในวันที่เราส่งพี่เฉลิมกลับบ้านและได้เจอครอบครัวของพี่เฉลิมเราอดยิ้มไม่ได้ที่เห็นภาพความประทับใจและความภูมิใจว่าเราได้พาบุคคลอันเป็นที่รักของครอบครัวพรมปิงกลับมายังอ้อมกอดของพี่น้องและหลานๆแล้ว ถึงแม้ว่าสุดท้ายปลายทางเราจะส่งพี่เฉลิมกลับบ้านได้แล้วแต่ในใจลึกๆความรู้สึกของคนทำงานก็ยังรู้สีกใจหายอยู่ดีที่ว่าจะไม่เห็นแกในพื้นที่แล้วแต่อีกใจก็รู้สึกดีใจที่ได้พาแกกลับบ้านได้และเหลือไว้เพียงแค่ความทรงจำและมิตรภาพที่ดีต่อกัน ก่อนกลับเราได้บอกกลับพี่เฉลิมไว้ว่าต้นเดือนมกราคมเราจะไปเยี่ยมแกที่บ้านและจะไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆที่หมู่บ้านแกด้วย เสร็จสิ้นไปอีก 1 คนสำหรับการส่งกลับบ้านแต่ยังมีคนอีกมายที่คลองหลอดสนามหลวงและทุกๆที่ในกรุงเทพที่ยังไม่ได้กลับบ้านเพราะทุกคนล้วนแล้วแต่มีปมปัญหาในใจที่แตกต่างกันถ้าแก้ได้เร็วอย่างพี่เฉลิมก็ส่งกลับบ้านได้อย่างมีคุณภาพไม่ให้เขาได้ออกมาเร่ร่อนอีก ถึงแม้ว้าจะช้าหน่อยแต่ก้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าปมปัญหาในใจระหว่างพี่เฉลิมกับครอบครัวได้ถูกคลายลงแล้วต่อจากนี้ก็จะมีแต่ความรักและความเข้าใจกันของคนในครอบครัว




                                               ผู้เขียน น.ส ชนาทิพย์ ชื่นชนม์

                                              เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิอิสรชน

14 มีนาคม 2557

มูลนิธิอิสรชนเผยผลสำรวจผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในกทม.ปี 2556



12 มี.ค.2557 มูลนิธิอิสรชนซึ่งทำงานเกี่ยวกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับปัญหาการใช้ชีวิตของพวกเขาในปีนี้ โดยโสภณ พรโชคชัย ประธานก่อตั้งมูลนิธิอิสรชน ระบุว่า ปัจจุบันผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานครมี 3,140 คน (สิ้นปี 2556) เพิ่มขึ้นราว 10% จากปี 2555 แต่ก็ยังถือว่าไม่มากนัก แสดงถึงระบบการจัดหาที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนที่ดี มีประสิทธิภาพ แต่สำหรับผู้อยู่ตามชายขอบสังคมนี้ก็ควรได้รับสวัสดิการสังคมด้านการอยู่อาศัยที่ดี เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย
จากการสำรวจของมูลนิธิอิสรชน พบว่า มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจำนวน 3,140 คน ณ สิ้นปี พ.ศ.2556 แยกเป็นชาย 1,944 คนและหญิง 1,196 คน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า เพิ่มขึ้นกว่าปี พ.ศ.2555 จำนวน 284 ราย หรือเพิ่มขึ้นถึง 10% แสดงว่าสถานการณ์ปัญหาผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมีมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากจำนวนประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 6 ล้านคน ยังนับว่ามีจำนวนน้อยมาก ดังนั้นจึงเป็นความหวังว่า หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใส่ใจต่อการแก้ไขปัญหานี้ ปัญหานี้คงได้รับการแก้ไขโดยไม่ยาก
ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจำนวน 3,140 รายนี้อยู่ในเขตพระนครมากที่สุดถึง 18% รองลงมาคือเขตบางซื่อ 8% เขตจตุจักร 7% เขตปทุมวัน 7% และเขตสัมพันธวงศ์ 6% อาจกล่าวได้ว่าใน 5 เขตแรก มีประชากรผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะถึงเกือบครึ่งหนึ่งหรือ 46% ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเหล่านี้มักอยู่อาศัยในเขตพื้นที่ที่มีการท่องเที่ยวหรือที่สาธารณะ เช่น มีสวนสาธารณะ หรือแหล่งจับจ่ายใช้สอยต่างๆ ซึ่งมีโอกาสของที่พักและที่ทำงานมากกว่า แต่ในเขตคลองเตย ซึ่งมีชุมชนแออัดอยู่มาก กลับพบผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพียง 5% เท่านั้น เพราะส่วนใหญ่คงมีที่อยู่อาศัย แม้บางส่วนจะไม่ได้เป็นที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มาตรฐานการอยู่อาศัยที่ดี เช่น อยู่ในชุมชนแออัดก็ตาม
หากพิจารณาประเภทของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจำนวน 3,140 ราย จะพบว่า เป็นคนปกติที่เร่ร่อนอยู่ 29% หรือมากกว่าหนึ่งในสี่ เกือบ ๆ หนึ่งในสามเลยทีเดียว รองลงมาเป็นผู้ที่ใช้ที่สาธารณะหลับนอนชั่วคราว 26% ที่เป็นผู้ป่วยข้างถนนโดยเฉพาะผู้ป่วยทางจิตมีเพียง 22% ซึ่งถือว่าไม่มากนัก ดังนั้นบุคคลส่วนใหญ่จึงเป็นบุคคลปกติที่ยังไม่สามารถที่จะมีบ้านเช่าหรือซื้อบ้านเป็นของตนเอง หากจัดหาที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะให้เช่าให้อยู่อย่างปลอดภัยเป็นระเบียบย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตามก็มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะบางส่วนที่ไม่สามารถที่จะเช่าหรือซื้อบ้านได้ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจึงควรที่จะจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการอยู่อาศัยที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะให้โดยไม่คิดมูลค่าเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะสามารถช่วยตนเองได้ในภายหลัง และสำหรับกลุ่มอื่น ๆ ก็อาจที่จะส่งต่อไปยังหน่วยงานอื่น เช่น หน่วยราชการที่ดูแลเด็ก สตรี ผู้ให้บริการทางเพศ ผู้สูงวัย เพื่อการบำบัดเฉพาะทางต่อไป
ประเด็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เป็นคนต่างชาติมากขึ้น โดยพบชาวต่างชาติ 22 ราย และแรงงานข้ามชาติอีก 34 ราย แต่บุคคลเหล่านี้ก็มีสัดส่วนน้อยเพียง 2% ของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทั้งหมด ในการนี้มูลนิธิอิสระชนหรือหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรที่จะติดต่อประสานงานกับสถานทูต สถานกงศุลของต่างประเทศ ให้ความช่วยเหลือต่อไป และไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนสัญชาติอื่น ก็ควรที่จะมีการลงทะเบียนบุคคลที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทุกราย เพื่อการจัดสวัสดิการและการติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ
ยิ่งกว่านั้นจากการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2556 ที่ท้องสนามหลวง ต่อเนื่องมาจนถึงการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. ในพื้นที่ถนนราชดำเนิน ตลอดจนในบริเวณอื่น ก็ปรากฏมีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพิ่มขึ้นจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่ตกค้างในพื้นที่ต่าง ๆ โดยหลายคนมากจากภาคใต้ เมื่อคณะเดินทางกลับก็ไม่ตามกลับไปด้วย แต่ใช้ชีวิตเร่ร่อนในกรุงเทพมหานคร ยิ่งกว่านั้นการชุมนุมทางการเมืองยังส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เช่น การได้รับอันตรายจากการ์ดของผู้ชุมนุม ซึ่งอาจไม่เข้าใจวิถีชีวิตที่เร่ร่อนไปมาของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว แม้มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเป็นจำนวนมากและมากขึ้น แต่ก็ยังน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรเมือง และเมื่อเทียบกับมหานครใหญ่ ๆ ทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่าระบบการจัดหาที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนไทยมีประสิทธิภาพมาก โอกาสการมีบ้านเป็นของตนเอง หรือการเช่าบ้านมีมาก จำนวนชุมชนแออัดลดลง มีเพียงผู้ที่ขาดโอกาสจริงๆ จึงต้องไปใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ดังนั้นหากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัญหาก็จะทุเลาได้เป็นอย่างมาก

11 กุมภาพันธ์ 2557

โปรดอย่ามองฉันเป็นร่างที่ไร้วิญญาณแต่จงมองฉันเป็น คน=คุณ

คุณคิดว่าเป็นเรื่องง่ายไหม ที่คนหนึ่งคนต้องมานอนข้างถนน กินข้าวในถังขยะ มีเสื้อผ้าเพียงตัวเดียว ไม่มีเงินในกระเป๋าสักบาท ต้องดิ้นรนมีชีวิตในถนน เพื่อมีลมหายใจ เพื่อรอความหวัง เพื่อรอคอยการกลับบ้าน มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เขาไม่ได้ขี้เกียจอย่างที่สังคมตีตรา ถ้าเขาขี้เกียจจริง เขาคงไม่อยู่ในถนนเพื่อรอสักวันที่มีใครมองเห็นเขา กว่า 10 ปี
            ฉันลงพื้นที่ ภาพของคนที่ทำให้ฉันรู้สึกว่าทำไมโลกนี้มันช่างหาความเท่ากันของความเป็นคนได้น้อยเหลือเกิน ภาพของชายคนหนึ่งที่สายตามองลอยออกไปกลางถนน สายตาแห่งความโศกเศร้าที่ยังรอความหวัง เมื่อเดินเข้าไปคุย ชายอายุราว ๆ 40 กว่า เล่าย้อนรอยอดีต พร้อมสายตาที่โศกเศร้า ปนคิดถึง ชายที่จากบ้านมาเพราะความหวังมาขุดทองในเมืองหลวง แต่โชคร้ายกลับไม่ประสบผลสำเร็จ ประจวบกับเมียที่บ้านก็มีสามีใหม่ในช่วงที่ตนมาขนขวายทำงานในเมืองหลวง  ณ ตอนนี้ไม่ต้องพูดถึง ความเจ็บปวดจากการถูกหักหลัง มันคงไม่จางหาย แต่คงไว้แค่ความชินชา แต่ยังมีความหวังที่จะกลับบ้าน อยู่ใกล้ ๆ ลูกสาว ที่ตอนนี้ทำงานใน เซเว่น และญาติพี่น้อง แต่ไม่อยากรบกวนญาติพี่น้อง เพราะบ้านตนเองก็ไม่เหลือแล้ว ตอนนี้สร้างความหวังกับตัวเองด้วยการเก็บขวดขาย ออกเดินตั้งแต่เช้าจดเย็น ไม่กินอาหารสักมื้อ เพื่อจะเก็บเงินได้เยอะ ๆ  รายได้ต่อวัน 30-100 บาท กินแต่ตอนเย็น คือ มาม่า กับน้ำร้อนใน เซเว่น เพื่อเก็บเงินให้ได้หมื่น กลับบ้านไปหาญาติ  พร้อมทุก 15 วัน พอเจียดเงิน มาเสี่ยงโชค 1 ใบ เพื่อวันหนึ่งโชคอาจเข้าข้าง เป็นเรื่องราวที่ฟังเหมือนตลก แต่ตลกไม่ออก มันช่างมีเรื่องราวที่สับซ้อนอยู่ในคนหนึ่งคน ที่ยิ่งกว่ามีกินมีใช้ แต่เขาไม่มีเลย เงินที่จะกินแต่ละมื้อยังไม่มี
            พอมองหันมาอีกด้าน ภาพของหญิงคนหนึ่ง ที่ต้องระเหเร่ร่อนมาไกล เพื่อหลีกหนีความปวดร้าวในชีวิตที่ถูกกระทำ ย่ำยี ชีวิตที่ทุกวันพร่ำบอกว่าอยากกลับบ้าน แต่ไม่มีบ้านให้กลับ สามีมีชู้ กระทำทางจิตใจที่ เราคนภายนอกมองอาจเป็นเรื่องราวแค่นี้ แต่เราเมื่อฟังเขาเล่า น้ำเสียงที่ปนความเจ็บลึกที่ไม่มีใครเข้าใจถ้าไม่เป็นเขา และเพราะเขาก็ไม่เป็นเรา เขาถึงคิดไม่เหมือนเรางั้นอย่างเอาคำว่า “แค่นี้” มาตัดสินคน เพราะเขากับเราคนละความคิด แต่มีความเป็นมนุษย์เหมือนเรา หญิงที่วันนี้มีเพียงเหล้าเป็นเพื่อน คนเดินผ่านไปผ่านมาก็ดูถูก เหยียดหยาม รังเกียจ มองว่าอีขี้เมา แต่คุณรู้ไหม กว่าเขาจะอยู่ในสภาพนี้ เขาสู้มากี่ครั้ง ล้มมากี่ครั้ง แต่สุดท้ายไม่มีที่ยืนให้กับเขา
            เรื่องราวที่เขียนมาทั้งนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคนในพื้นที่ ที่เราพบเจอ เราไม่ได้อยากเล่าเรื่องราวให้คุณสงสาร แต่อยากให้คุณเข้าใจในความเป็นเขา และมองเขาเท่ากันกับคุณ ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งและหยิบยืนความเป็นเพื่อนให้กับเขา อย่าตีตรา และดูถูกความเป็นมนุษย์  เขาคือร่างมนุษย์ที่มีวิญญาณ ไม่ใช่ร่างที่ไร้วิญญาณ ที่คนเดินผ่านไปมามองเป็นขยะ แต่ถ้าคุณมองเขาเป็นคนเท่ากับคุณ การแบ่งปันในฐานะเพื่อนร่วมสังคมจะเกิดขึ้น ความเป็นเพื่อนจะถูกหยิบยกให้กัน มามองคนในที่สาธารณะใหม่นะค่ะ ลองเปิดใจ และมองว่าเขาก็คือ คน กิน ขี้ ปี้ นอน เหมือนกับเรา มีรัก โลภ โกรธ หลง  ทุกอย่างเหมือนกัน แต่โอกาสอาจจะต่างกัน แต่เขาคือ    คน=คุณเท่านั้นเอง

jasmin

27 มกราคม 2557

สื่อสร้างสานสุขที่จ.น่าน

 เริ่มต้นก่อนเลยว่าไปน่านตั้งแต่วันที่ 20 - 24 มกราคมพ.ศ 2557 จุดประสงค์ของการเดินทางครั้งนี้คือการไปแจกของให้เด็กนักเรียนบนดอยร.รตะเวนชายแดน100ปีสมเด็จย่าครั้งแรกที่ได้ถึงจังหวัดน่านเราถูกต้อนรับด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเองรู้สึกดีใจและมีความสุขมากและแล้วก็ถึงวันที่จะเดินทางขึ้นดอยจิงๆนั่งรถจนจนเมารถและรู้สึกยังไม่ค่อยคุ้นชินพอขึ้นไปถึงร.รตำรวจตะเวนชายแดนรู้สึกว่าน้องๆน่ารักมากพอเขาเห็นว่าพวกเรามาพวกเขาดีใจแล้วกล่าวคำว่าสวัสดีตลอดเวลาที่รถเราวิ่งเข้ามาในร.รน้องๆหลายๆคนยังมีการเดินเท้าไปร.รอยู่วันละ 2กิโลซึ่งมันทำให้เด็กกรุงเทพอย่างเราคิดได้ว่าทำไมเรามีโอกาสมากกว่าพวกเขาแต่เรากลับไม่สนใจแต่พวกเด็กๆอยากเรียนอยากมีความรู้แต่โอกาสยังไม่เข้าถึงพวกเขาที่ร.รตำรวจตะเวนชายแดนมีครูประมาณแค่3คนเด็กนักเรียนประมาณ 70 คนเองหลังจากแจกของเสร็จแล้วพวกพี่ๆก็ได้พาเรามาในหมู่บ้านห้วยลึกมาเล่นแจกของให้ชาวบ้านต่อเรารู้สึกว่าชาวบ้านห้วยลึกเป็นกันเองมากแล้วก็น่ารักมากพวกเขาดีใจที่เรามาเราได้สัมผัสรอยยิ้มและความจิงใจที่ชาวบ้านมีต่อเราและคณะที่มาก่รุ้สึกดีใจมากๆจิงๆและเรายังได้สัมผัสธรรมชาติอากาศบริสุทธิ์บนดอยได้ลองชิมอาหารบนดอยที่ไม่ได้ใช้กระทะหรือใช้หม้อแต่เป็นการย่างหรืการแอ๊บได้รู้จักกับคำว่ามิตรภาพไม่ใช่อย่างในกรุงเทพที่ใส่หน้ากากเข้าหากันตลอดเวลาประสบการณ์ครั้งนี้ได้สอนเราหลายอย่างในการปรับตัวให้เข้ากับพวกเขาได้ขอบคุณที่ได้มาสัมผัสถ้ามีโอกาสอยากจะไปอีกสักครั้ง :) 







กิจกรรมในพื้นที่

1 บาท ของคุณมีค่า เพียงคุณมองเห็นความเป็นคนเท่ากัน การแบ่งปันก็จะเกิดขึ้น
ให้เพื่อนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ได้ท้องอิ่ม ได้กลับบ้าน ได้รักษาพยาบาล เป็นต้น
เพราะเราเชื่อว่าการแบ่งปันไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งคนแก่ คนป่วย เด็ก ถูกทิ้งไร้การมองเห็นมากมายในสังคม
1. ธ.ทหารไทย สาขาทองหล่อ เลขที่ 182-2-16241-6 ชื่อบัญชีมูลนิธิอิสรชน
2. ธ.กรุงไทย  สาขาเซ็นทรัลปิ่นเหล้า เลขที่ 031-0-03432-9 ชื่อบัญชีสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน