28 มิถุนายน 2557

จากเพื่อนถึงเพื่อน


27 มิถุนายน 2014 เวลา 20:19 น.
ทำงานลงพื้นที่มาก็ 2 ปีกว่าแล้วได้เรียนรู้ประสบการณ์อันหลากหลายในท้องถนน ข้างถนน ได้รู้จักกับมิตรภาพที่ดีกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตอนแรกเลยเราไม่เคยลงมานั่งคุยแบบนี้มาก่อน อย่างมากก็แค่เดินผ่านและไม่ได้สนใจอะไร แต่ก็แอบเก็บความสงสัยไว้อยู่บ้างว่า พวกเขาอยู่กันอย่างไง มีคนมาคุยด้วย รึป่าว ในความรู้สึกตอนแรกเราก็กลัวเขานะ ว่าเขาจะมาทำอะไรเรารึป่าว แต่พอได้ลองลงมานั่งคุย ลงมานั่งเป็นเพื่อน คุยกับพวกเขา รู้สึกได้ว่า ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดแถมเขายังดีใจอีกต่างหากว่ามีคนมาคุยกับพวกเขาโดยที่ไม่คิดที่รังเกียจ ในตัวพวกเขาครั้งแรกเลยที่ได้คุยจริงๆจังๆ กะคุณลุงท่านนึงแกได้ถามเรามาคำนึงว่า หนูไม่รังเกียจคนอย่างลุงหรอ ตัวลุงเหม็นนะแล้วก็ไม่มีใครเขาอยากจะมาคุยกะลุงด้วย เราได้ยินดังนั้นก็เลยบอกคุณลุงไปว่า ลุงหนูไม่คิดอย่างนั้นเลย หนูรู้สึกว่ามานั่งคุยกับลุงแล้วรู้สึกดี มาก พอคุณลุงได้ยินดังนั้น ก็ดีใจมาก พูดออกมาว่าแต่ก่อนไม่เห็นมีใครจะมาคุยลุงเลย มีแต่หนูนี้ละ แต่ก่อนลุงเคยไปนอนหน้าเซเว่นเค้าไล่ตี ลุงบ้าง ไล่ให้ไปที่อื่น เวลาคนเดินผ่านไป ผ่านมาก็ไม่มีใครจะกล้าคุยกะลุง ลุงก็กลัวเขาจะเข้ามาทำร้ายลุงอยู่เหมือนกัน ตั้งแต่วันนั้นจนมาถึงวันนี้ก็ยังแวะเวียนไปพูดคุยกับคุณลุงอยู่เสมอ แล้วยังได้ทักทายพูดคุยกับเพื่อนๆเราคนอื่นๆ ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีกด้วย เรารับรู้ได้นะถึงความอบอุ่น และความผูกผัน ในความเป็นเพื่อน เจอหน้ากันทักทายพูดคุย ยามเพื่อนมีปัญหา ทุกข์ใจ เราก็เป็นที่รับฟังให้กับเพื่อน คอยแนะนำเพื่อนให้กำลังใจเพื่อน ยามเพื่อนไปในทางที่ผิดเราก็จะมักตักเตือนเพื่อนอยู่เสมอ นี้ละ คำว่าเพื่อน เพื่อนกันมันไม่จำเป็นต้องแบ่งจะจน หรือ รวย เราไม่อายนะที่มีเพื่อนอยู่ข้างถนน เพราะเราคิดว่าพวกเขาเป็นเพื่อนเราแล้ว เพื่อนคนนี้ยินดีที่จะนั่งคุยตรงพื้นถนน นั่งคุยริมถนนกับเพื่อนอย่างเต็มใจ เพราะสุดท้ายแล้วยังไง เพื่อนก็สามารถพาเพื่อนอีกคนกลับสู่ครอบครัว สังคม ชุมชนได้ ความประทับใจของเพื่อนอีกคนที่ไม่มีวันลืมก็คือ พี่เฉลิม เป็นคนแรกที่คุยตั้งแต่มาเป็นอาสาสมัคร ทุกครั้งที่ลงพื้นที่คลองหลอดสนามหลวง เจอหน้ากันก็พูดคุย ทักทายกันอยู่ตลอดจนสุดท้าย เราสามารถพาพี่เฉลิมกับสู่ครอบครัวด้วยตัวเราเอง ถึงแม้ว่าทุกวันนนี้พี่เฉลิมจะกลับสู่ครอบครัวแล้ว แต่หน้าที่ของความเป็นเพื่อนก็ยังมีอยู่เสมอ เรายังคงติดต่อโทรไปหาพี่เฉลิมอยู่ ทุกครั้งที่มีโอกาส สอบถามว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง แล้วช่วงเดือนมกราของปี 58 เราได้สัญญากับพี่เฉลิมไว้ว่าเราจะไปเยี่ยมแกที่จังหวัดลำปางบ้านเกิดของแก เพื่อนมีความสุข เราก็มีความสุข และนี่คือมิตรภาพดีๆที่เราอยากจะแบ่งปันให้กับผู้อ่านทุกได้รับรู้ 


ป.ล ขออภัยมือใหม่หัดเขียนบันทึก 

25 มิถุนายน 2557

the long

The long and winding road that leads to your door
Will never disappear, I've seen that road before
It always leads me here, lead me to your door

The wild and windy night that the rain washed away
Has left a pool of tears crying for the day
Why leave me standing here, let me know the way

Many times I've been alone and many times I've cried
Anyway you'll never know the many ways I've tried
And still they lead me back to the long and winding road
You left me standing here a long, long time ago
Don't leave me waiting here, lead me to you door

But still they lead me back to the long and winding road
You left me standing here a long, long time ago
Don't keep me waiting here, lead me to you door

รูปภาพ : The long and winding road....You've never walk alone.

จากใจ ในการทำงานภาคสนาม


20 มิถุนายน 2014 เวลา 20:48 น.
จะเล่าอธิบายสักหน่อยตั้งแต่ครั้งแรกที่มาเป็นอาสาสมัครที่มูลนิธิอิสรชนจนกระทั่งตอนนี้ได้เป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิอิสรชน ครั้งแรกเลยเราได้เกิดความสงสัยในใจว่ามีคนมานอนอยู่แถวบ้านแต่เขาป่วยไม่สบาย เราจึงได้บอกแม่ว่าจะขอเอาน้ำ เอาข้าวเอายาไปให้แต่ว่าตอนนั้นเป็นตอนกลางคืนซึ่งฝนตกหนักมาก แม่เลยบอกว่าค่อยเอาไปให้พรุ่งนี้แต่ปรากฏว่าเราตื่นมาตอนเช้าคนนั้นที่มานอนแถวบ้านเราเขาได้เสียชีวิตลงแล้วมีรถปอเต๊กตึ้งมาเก็บไปเมื่อเช้า ในใจตอนนั้นเราแอบเศร้าใจอยู่เล็กๆที่ว่ช่าถ้าเราออกเอาข้าว เอายาเอาน้ำไปให้เขาคงไม่ตายซึ่งมันอาจเป็นความคิดของเด็กที่จะตั้งใจจะช่วย ปกติแล้วเราจะชอบให้ตังอยู่แล้วเช่นขอทานหรือไม่ก็คนที่เดินเข้ามาขอซึ่งตอนนั้นเราคิดว่าให้เขาไปแล้วโดยไม่คิดอะไรใจจริงสงสารเขาตั้งแต่แรกด้วยความตั้งใจและความสงสารจึงให้ตังเขาไป ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็ได้เก็บความสงสัยไว้ว่า ทำไมเขาถึงออกมาอยู่ข้างถนน แล้วทำไมเค้าถึงไม่กลับบ้าน ในความรู้สึกตอนแรกคือสงสารพอดีว่างช่วงนั้นปิดเทอมพอดีแล้วเราก็ว่างไม่รู้จะทำอะไรก็เลยตัดสินใจว่าจะมาลองทำงานอาสาสมัครเราจะได้หาคำตอบที่เรายังสงสัยและค้างคาใจเราอยู่ จนมาเจอกับมูลนิธิอิสรชน ได้มารู้จักกับพี่นทีและพี่จ๋า 2 สามีภรรยาผู้ที่อุทิศตนทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอดครั้งแรกที่มาเป็นอาสาสมัครก็ยังแอบสงสัยว่า เอ่ะพี่เค้ามาทำอะไรกันที่คลองหลอดทุกวันอังคารกับศุกร์ ประโยคที่พี่นทีเคยพูดให้เราฟังว่า คนที่นี้ไม่ต้องการให้ใครมาสงสารแต่อยากให้เข้าใจ และมองว่าเขากับคุณเราเท่ากัน จากใจตลอดระยะเวลาที่ลงทำงานภื้นที่ภาคสนามได้ทำงานเกี่ยวกับคน ได้รู้อะไรอีกเยอะในพื้นที่ ได้รู้จักคำว่ามิตรภาพ ความเป็นเพื่อน ความเข้าใจกัน มีแอบนอยๆบ้างเป็นบางครั้งอย่างเช่นเวลามีเพื่อน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เวลาเมาแล้วจะพูดว่าเราว่า เราอ้วนแต่เราก็ไม่โกดเราเข้าใจว่า เพื่อนเราเมาแต่พอเขาหายเมาก็มาคุยกับเราปกติอาจจะขี้อายซะด้วยซ้ำอีกอย่างงานภาคสนามเป็นงานที่ต้องมีความละเอียดอยู่เช่นการเก็บข้อมูลของเพื่อนเราซึ่งไม่เอาไปพูดกับใครเก็บไว้เป็นความลับซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การทำงานในภาคสนามยังคงดำเนินต่อไปยังมีคนที่ยังลำบากกว่าเราอีกเยอะ และยังมีเพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่บางส่วนยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ จะยืนยันว่าจะยังคงดำเนินงานภาคสนามต่อไปเพราะงานของเรายังหยุดไม่ได้และไม่มีวันหยุดเราพบเจอเพื่อนเราทุกทีที่แห่งทั่วกรุงเทพมหานครและเราจะใช้ความเป็นเพื่อนนี้ละส่งเพื่อนกลับบ้าน กลับสู่ภูมิลำเนาและชุมชนไม่ออกมาเร่ร่อนและใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีก 

การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในนครนิวยอร์ก

AREA แถลง ฉบับที่ 81/2557: 20 มิถุนายน 2557
การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในนครนิวยอร์ก
          การจัดหาที่อยู่อาศัยอย่างถาวรให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเป็นหนทางในการช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างยั่งยืนที่สุด ทั้งนี้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เรียนรู้จากกรณีมหานครนิวยอร์ก
          เมื่อเวลา 16:00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2557 หรือเทียบกับเวลาไทยคือ 03:00 น. ของเช้าวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2557 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าทรัพย์สินไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิอิสรชน ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย พร้อมด้วย คุณวิไลพรรณ หลวงยา รองประธานมูลนิธิ และคุณเมธินี คุณวิศาล อาสาสมัครมูลนิธิ ได้เข้าพบนายเดวิด เบียร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนายเจฟ ชูเออร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ของมูลนิธิคอมมอนกราวน์ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนดำเนินการด้านการช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ณ สำนักงานใหญ่บนถนนสายแปด มหานครนิวยอร์ก เพื่อศึกษาประสบการณ์ของมูลนิธิแห่งนี้
          มูลนิธิคอมมอนกราวน์ มีคติว่า “Ending homelessness in New York” หรือทำให้การไร้ที่อยู่อาศัยหมดไปในนครนิวยอร์ก มูลนิธินี้เคยได้รับรางวัลดีเด่นของสหประชาชาติด้านการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย สามารถช่วยผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้ราว 5,000 คน จากจำนวนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทั้งหมดทั่วนครนิวยอร์กประมาณ 50,000 คนในขณะนี้ ตัวเลขผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะลดลงอย่างต่อเนื่องก่อนช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2551 แต่หลังจากนั้นกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจมีผลสำคัญต่อการเกิดสภาพไร้บ้าน
          ในปัจจุบันมูลนิธิคอมมอนกราวน์สามารถจัดหาที่อยู่อาศัยได้ประมาณ 3,200 หน่วย ในโครงการที่อยู่อาศัยประมาณ 13 โครงการ นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่ๆ ช่วยบำบัดความต้องการเฉพาะหน้าแก่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีก 120 แห่ง  ห้องทั่วไปมีขนาด 30 ตารางเมตร โดยมีต้นทุนค่าก่อสร้างสูงถึง 9 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยนคร่าว ๆ 30 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ) แต่ก็มีห้องขนาดเล็ก ๆ เพียง 15 ตารางเมตร ทางมูลนิธิคิดค่าเช่าประมาณ 6,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ค่าเช่าตลาดคือ 21,000 บาทต่อเดือน มูลนิธิคัดเลือกผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมาเช่าได้อย่างโปร่งใส ไม่ใช่หาใครมาสวมสิทธิ์ หรือเช่าช่วง และปรากฏว่าผู้เช่า เต็มใจที่จะเช่า ณ ค่าเช่าราคาถูกนี้ โดยแทบไม่มีใครถูกไล่ออกเพราะไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้
          ผู้ที่เช่าอยู่ในโครงการที่อยู่อาศัยที่จัดหาให้นี้มักเป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมีอาการป่วยทางจิตถึงราว 40% แต่ไม่ได้อยู่ในระดับรุนแรง นอกนั้นเป็นกลุ่มอื่นๆ แต่ส่วนมากเป็นปัจเจกบุคคล ไม่ได้เป็นครอบครัว การจัดหาที่อยู่อาศัยให้ จะทำให้เขาสามารถกลับเข้าสู่สังคมปกติอย่างมีศักดิ์ศรี ส่วนที่อาบน้ำ อาหาร การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการจัดหางานทำให้กับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเหล่านี้
          มูลนิธินี้เกิดขึ้นมา 25 ปีแล้ว และมีความเป็นไปได้ทางการเงินในการดำรงอยู่ โดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุนส่วนหนึ่ง เพราะการสร้างที่อยู่อาศัยโดยภาครัฐแพงกว่า เสียค่ารักษาพยาบาลแพงกว่าที่จะจัดหาที่อยู่อาศัยแบบนี้ อีกส่วนหนึ่งก็คือผู้บริจาค หรืออาจเรียกว่าผู้ลงทุนยินดีบริจาคเงิน 0.8 เหรียญสหรัฐ แต่สามารถนำไปหักภาษีได้ถึง 1 เหรียญสหรัฐ เป็นระยะเวลา 10 ปี ทำให้มีเงินมากเพียงพอกับการดำเนินการ รายได้ของมูลนิธิตกปีละ 1,620 ล้านบาท มีลูกจ้าง 400 คน โดยสามในสี่เป็นผู้ดูแลอาคารต่าง ๆ ที่เหลืออยู่ในสำนักงานใหญ่ ในอนาคตอันใกล้นี้ ยังจะจัดสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มอีก 700 หน่วย
          ในอนาคต มูลนิธิอิสรชนอาจได้พยายามนำประสบการณ์ดีๆ จากมหานครนิวยอร์กนี้มาใช้ในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่นบ้าง
ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

15 มิถุนายน 2557

คำว่าเพื่อนกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ


13 มิถุนายน 2014 เวลา 20:30 น.
ขอเขียนบทความสั้นๆสักเล็กน้อยกับการลงมาทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ใน 13 กลุ่ม การทำงานของมูลนิธิอิสรชนนั้น คือการลงมาเป็นเพื่อนพูดคุย สร้างความคุ้นเคยในเบื้องต้น และหาทางส่งเขากลับสู่ภูมิลำเนา ในคำว่าเพื่อนนั้นกับในการทำงานของอิสรชน ต้องย้อนถามว่า คุณเคยมีเพื่อนสนิทมั้ย แล้วเพื่อนมีหน้าที่ไว้ทำอะไร ? คำตอบก็คือ ก็เพื่อนมีไว้ พูดคุยปรึกษา พูดคุยกันได้ทุกเรื่องในการลงพื้นที่แต่ละครั้งของเรา จะเข้าไปคุยในแบบเพื่อน ขั้นตอนแรกถือขนมหยิบติดไม้ ติดมือไปด้วย แล้วก็เข้าไปนั่งพูดคุยกับพวกเขา ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉันได้ลงมาทำอาสาสมัครที่สนามหลวง คลองหลอด และจนได้มาเป็นเจ้าที่ภาคสนามที่มูลนิธิอิสรชน ฉันมีเพื่อนมากมาย มันคือมิตรภาพข้างถนน มิตรภาพที่เข้าใจกัน แบ่งปันกัน เท่าเทียมกัน ช่วยเหลือกัน หลังจากนั้นฉันได้มีโอกาสส่งเพื่อนกลับบ้านนั้นก็คือพี่เฉลิม ออกมาเร่ร่อนตั้งหลายปี น้อยใจครอบครัว เลยออกมาเร่ร่อน ฉันได้ใช้ความเป็นเพื่อนในการลงไปพูดคุยกับพี่เฉลิมทุกครั้งและได้ชวนเค้ากลับบ้าน จนวันที่ไปส่งพี่เฉลิมกลับบ้าน ฉันก็เป็นคนไปส่งเอง ไปเยี่ยมพี่เฉลิมที่ร.พ นี่ละคำว่า ' เพื่อนที่เราใช้ในการทำงาน เพื่อนสามารถส่งเพื่อนกลับบ้านได้ เพื่อนคนนี้ก็ดีใจ และเพื่อนอีกคนนึงของฉันคือ พี่เวศ พี่เวศปกติจะเมาเป็นบ้างวัน ถ้าวันไหนโชคดีเจอพี่เวศไม่เมาก็ดีหน่อย อาจจะพอคุยกับพี่เวศได้บ้างแต่ถ้าวันไหนพี่เวศเมา เราก็จะคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่พอเวลาพี่เวศมีปัญหามีเรื่องไม่สบายใจก็จะมาปรึกษาหรือมาพูดคุยกับฉันเสมอ ในความเป็นเพื่อนเราอาจจะเรียกได้ว่าสนิทกันเพราะเจอหน้าพี่เวศเราก็ทักทายตลอดพูดคุยตลอด ดูแลในเรื่องสุขภาพ การทำแผลหรือแม้กระทั่ง พาเพื่อนส่งโรงพยาบาล การทำงานที่เราทำ ไม่ใช่แค่มองว่าเค้าเป็นผู้รับบริการกับเราเป็นเจ้าหน้าที่แค่นั้น แต่การทำงานของเรา คือ เพื่อนมากกว่า เพื่อนบางคนอาจจะมีเพื่อนเยอะ เพื่อนที่สนิทจริงๆอาจจะมีแค่ไม่กี่คน นี่ละมิตรภาพของคำว่า เพื่อนกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ 

9 มิถุนายน 2557

เส้นทางการเดินทางที่หลากหลายของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

7 มิถุนายน 2014 เวลา 21:00 น.

วันนี้ได้มีโอกาสไปติดตามเส้นที่ ทางของเพื่อนเราหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่มารับของแจกตามเทศกาลต่างๆที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ที่จังหวัดสมุทรสาครก่อนหน้านั้นจะขอเอ่ยว่าตัวเราได้ลงพื้นที่ ที่สนามหลวงคลองหลอดทุกวันอังคารกับวันศุกร์เป็นประจำช่งนี้ในพื้นที่สนามหลองหลอดจะเงียบเหงาเพราะเพื่อนเราในพื้นที่ต่างก็ไปรับของแจกที่ตามเทศกาลต่างๆ อย่างเช่นช่วงนี้วันที่ 4-8 มิถุนายน มีงานการแห่เจ้าพ่อศาลหลักเมือง ก็จะมีการแจกทาน การแจกผัดหมี่ ฉายหนังกลางแปลง ต่างๆ เสมือนเป็นงานบุญ งานวัด เพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะแต่ละคนจะมีโพยจดเอาไว้ว่าวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร ที่ไหนที่จะมีเทศกาลรับของแจกบ้าง ถึงในช่วงหน้าเทศกาลต่างๆตามจังหวัดต่างๆที่ใกล้กับกทม เพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะก็จะมารอรับของแจกและมารอดูฉายหนังกลางแปลง พอถึงหมดช่วงในหน้าเทศกาลเพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะก็ต่างจะทยอยกลับมาสู่พื้นที่ ที่เขาเคยอยู่ หรือกลับสู่สภาวะปกติ เพราะฉะนั้นในช่วงที่มาเทศกาลรับของแจก ส่วนที่เหลือในพื้นที่ก็จะมีแต่ผู้ป่วยทางจิต คนป่วย อย่างวันนี้เราได้มาลงตามดูเพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่มารอรับแจกผัดหมี่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร ได้เจอทั้งเพื่อนที่อยู้สนามหลวงและเพื่อนที่มาจากทั่วๆทุกเขตของกทมและเพื่อนในตัวจังหวัดสมุทรสาครเองเราได้ลงไปนั่งพูดคุยกลับกลุ่มเพื่อนเราผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่แต่ก่อนเดิมอยู่สนามหลวง คุณลุงท่านนึงเล่าให้ฟังว่า ช่วงนี้มาอยู่พื้นที่สมุทรสาครก่อนเพราะว่าที่สนามหลวงมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติและช่วงนี้เค้าประกาศเคอฟิวทำให้ใช้ชีวิตอย่างปกติไม่ได้อีกอย่างตนกลัวถูกยิงเลยมาอาศัยอยู่ที่นี้ก่อน คุณลุงยังได้บอกอีกว่าช่วงตอนกลางคืนที่เค้าฉายหนังกลางแปลงจะพบเจอเพื่อนเราเยอะมากเพราะจะมานั่งจับพื้นที่หน้าจอฉายหนัง เพื่อรอดูฉายหนัง เป็นความสุขทางใจเล็กๆของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและเราได้ลงพื้นที่ต่อที่วัดพระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม ก็ได้พบเจอเพื่อนเราที่ป่วยทางจิต 1 คนนอนอยู่ในศาลาวัด และได้เข้าไปพูดคุยกับคุณลุงท่านนึงมาจากสายไหมแกบอกว่าตั้งใจจะมาไหว้พระละหนีความวุ่นวายในเมืองหลวงมาหาที่สงบพักผ่อนจิตใจอดีตแกเคยเป็นทหารผ่านศึกเก่า มีหลากหลายเส้นทางของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธาณะ เส้นทางที่จะไปรับของแจกไหว้ หรือเส้นทางที่ออกจากบ้านมาสู่ถนน เและเส้นทางที่กลับบ้านของพวกเขา ในปัจจุบันเราพบว่าเริ่มมีผู้สูงอายุที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพิ่มขึ้นอาจจะด้วยมาจาก อาการหลงลืม หรือโรคอัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม แต่งานของเรายังดำเนินต่อไปเพื่อช่วยเหลือ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะให้มีความเท่าเทียมกับคนในสังคม เพราะเราเชื่อว่า คนเท่ากับคนเสมอ 

4 มิถุนายน 2557

ชีวิต

ค่ำไหนนอนนั้น ชีวิตเหมือนจะสุข แต่คุณรู้ไหมไม่ใช่เรื่องง่ายที่นอนที่ไหนก็ได้ บางคนป่วย บางคนเจ็บปวดในชีวิต นี่แหละชีวิตเพื่อน #ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ #ผู้ป่วยข้างถนน #มูลนิธิอิสรชน #สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน #มองคนเท่ากัน เพียงใครสักคนที่มองเห็นเป็นเพื่อนกัน