28 กันยายน 2556

People live in Public area(PLIPA): สวัสดิการ : ชุมชน สังคม

People live in Public area(PLIPA): สวัสดิการ : ชุมชน สังคม: สวัสดิการ  : ชุมชน สังคม นึกคันไม่คันมืออยากจะเขียนบทความเล็ก ๆ เรื่องสวัวดิการขึ้นมาเฉย ๆระหว่างนั่งนึกเล่น ๆ ที่ริมสระว่ายน้ำบนโรงแร...

สวัสดิการ : ชุมชน สังคม

สวัสดิการ : ชุมชน สังคม

นึกคันไม่คันมืออยากจะเขียนบทความเล็ก ๆ เรื่องสวัวดิการขึ้นมาเฉย ๆระหว่างนั่งนึกเล่น ๆ ที่ริมสระว่ายน้ำบนโรงแรมหรูใจกลางกรุงเทพมหานครเมื่อสองวันก่อน แต่ไม่ได้ลงมือเขียนเป็นเรื่องเป็นราว พอกลับมาถึงบ้านใช้เวลาพกสมองหนึ่งวันเต็ม ๆ จึงได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการก่อนอื่นต้องขออนุญาตกำหนดนิยามความหมายของคำว่า “สวัสดิการ”ที่นักวิชาการทั้งหลายให้ไว้มาเป็นกรอบในการเริ่มต้นเขียนกันก่อนอาจารย์ วิทยา ตันติเสวี  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้เคยเขียนบทความเล็ก ๆ ในเรื่องของสวัสดิการไว้ดังนี้

 ความหมายและขอบเขตของคำว่า“สวัสดิการ”  
 ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า“สวัสดิการ” ต่างๆกันไป ได้แก่
  • Welfare  (สวัสดิภาพ สวัสดิการ)  คือการมุ่งให้เกิดการกินดีอยู่ดีของบุคคลหรือกลุ่มสวัสดิการทั่วไปของชุมชนหรือสังคม ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
  • สวัสดิการ หมายถึง “การกินดีอยู่ดี” หรือ Well-being ซึ่งถ้าจะขยายความออกไปก็อาจกล่าวได้ว่า คือภาวะของการมีสุขภาพดี มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสุข ถ้าเกี่ยวกับด้านแรงงานก็หมายถึง สิ่งหรือสถานการณ์ที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกสบาย หรือความกินดีดอยู่ดีของลูกจ้างนั่นเอง ซึ่งการดำเนินการเพื่อให้เกิดภาวะที่มีความสะดวกสบาย หรือความกินดีอยู่ดีของลูกจ้างนี้มิได้หมายความว่า เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างแต่ฝ่ายเดียว รัฐบาลและสหภาพแรงงานก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย
  • สวัสดิการ หมายถึง บริการหรือกิจกรรมใดๆ ที่หน่วยงานราชการ หรือองค์กรธุรกิจเอกชนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรนั้นๆ ได้รับความสะดวกสบายในการทำงาน มีความมั่นคงในอาชีพ มีหลักประกันที่แน่นอนในการดำเนินชีวิต หรือได้รับประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี เพื่อจะได้ใช้กำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาความสามารถของตนในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ไม่ต้องวิตกกังวล ปัญหายุ่งยากทั้งในทางส่วนตัวและครอบครัวทำให้มีความพอใจในงาน มีความรักงานและตั้งใจที่จะทำงานนั้นให้นานที่สุด สำหรับสวัสดิการที่สมบูรณ์แบบนั้นย่อม หมายถึงสวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง ทั้ง
                -         ในขณะที่ทำงาน (On – the – Job)
                -         นอกเวลาทำงานแต่ยังอยู่ในที่ทำงาน (Off – the – job withinthe workplace)
                -         นอกสถานที่ทำงาน (Outside the workplace)  นอกจากนั้นจะต้องไม่ให้เฉพาะลูกจ้างเท่านั้น แต่จะ ต้องรวมถึงครอบครัวและชุมชนด้วย
  
แต่ในที่นี้จะขออนุญาตกล่าวถึงสวัสดิการชุมชน และสวัสดิการสังคมเป็นหลัก โดยมุ่งพิจารณาไปถึงการจัดการให้มีหรือการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่และการคิดค้นรูปแบของการให้สวัสดิการที่หลากหลายเป็นประเด็นสำคัญซึ่งทั้งหมดควรจะมีการใช้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนในการร่วมคิดร่วมทำในขั้นตอนต่างๆ เพื่อนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่าสวัสดิการชุมชน หรือสวัสดิการสังคม

เมื่อขึ้นชื่อว่า สวัสดิการ ต้องย้อนกลับขึ้นไปดูความหมายดีดีอละต้องระวังไม่ให้เกิดความไขว้เขวเป็นอันขาดเพราะหากมีมุมมองหรือทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสวัสดิการที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงในชุมชนและสังคมและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าส่วนบุคคลและต้องส่งผลกระทบในวงกว้างมากกว่าส่งผลเพียงแค่ในวงแคบ ๆ  ที่สำคัญ สวัสดิการ นั้นต้องเกิดขึ้นภายใต้ความต้องการของสมาชิกในชุมชนและสังคมนั้น ๆ เป็นสำคัญ


สวัสดิการชุมชนควรเป็นสวัสดิการที่มุ่งเน้นไปที่การสร้าง การกินดีอยู่ดีมีความสุขให้แก่คนในชุมชนเป็นสำคัญจะระดมทรัพยากรภายในชุมชนมาจำนวนมากน้อยหรือไม่อย่างไรไม่สำคัญแต่ให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ที่ได้ต้องก่อให้เกิดสวัสดิการภายในชุมชนนั้นอย่างทั่วถึงและหลากหลาย

สวัสดิการสังคมควรเป็นระบบการให้บริการจากรัฐที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยมุ่งเน้นสังคมอุดมสุขและมีพลังแห่งความเป็นพลเมืองเป็นสำคัญ และควรสร้างสวัสดิการสังคมที่หลากหลายให้สอดคล้องกับความหลากหลายของพลเมืองที่รวมกันอยู่ในสังคมนั้นๆ

เมื่อมาถึงบรรทัดนี้ต้องขออนุญาตอ้างอิงข้อเขียนอันทรงพลังของศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ที่เขียนเรื่อง จากครรภ์มาดา ถึงเชองตะกอนไว้เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วเป็นปฐมบทของการจัดสวัสดิการในประเทศต่าง ๆที่สอดคล้องและเหมาะสมลงตัวในบริบทของสังคมที่เป็นพลวัตรอยู่ตลอดเวลาและต้องขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนของสังคมหันมาร่วมกันสร้างสวัสดิการชุมชนและกระตุ้นให้ภาครัฐจัดรูปแบบสวัสดิการสังคมที่หลากหลาย เพื่อยกระดับให้พลเมืองได้ กินดีอยู่ดีมีความสุขโดยเร็ววัน


 เขียนและเรียบเรียงโดย :นที สรวารี
นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน

สวัสดิการ : ชุมชน สังคม

24 กันยายน 2556

ใจเขาใจเรา

โดย Hemmapat Boonyoiyad

24 กันยายน 2013 เวลา 16:19 น.

“บางคนไม่มีปัญหาก็ยังออกมาอยู่ที่นี่” คุณนที สรวารีกล่าวกับคู่สนทนา

ในความคิดส่วนตัว ถ้าไม่ใช่คนที่มีใจกับงานนี้มาเป็นสิบๆปี คงไม่เข้าใจเรื่องราวของผู้คนในที่สาธารณะอย่างนี้เป็นใครก็ต้องมองว่าคนที่มากินมานอนข้างถนนเป็นคนมีปัญหาไปจนถึงมองว่าเขาเหล่านี้นั่นเองที่เป็นปัญหาของสังคม

แต่ผู้เขียนเองแอบเถียงคุณนทีในใจว่าปัญหาที่หมายถึงนั้นคือประเด็นอะไรบ้าง ถ้าเป็นเรื่องปากท้อง ไม่มีที่ดินการทำมาหากินตกงาน หรือครอบครัวแตกแยกก็ยังนับว่าเป็นปัญหา แต่ประเภทร่ำรวย ประสบความสำเร็จการงานมั่นคง มีครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตานี่อาจไม่เรียกว่าปัญหาแต่ปมชีวิตอะไรบางอย่างที่สะกิดใจคนๆ หนึ่งให้แสวงหาคำตอบของชีวิตและออกมาอยู่ในที่สาธารณะ

ในฤดูที่ฟ้าฝนเอาแต่ใจบางวันแดดเปรี้ยง บางวันฝนก็โปรยปรายมาแบบไม่ลืมหูลืมตาคนทั่วไปอาจจะเปียกบ้างระหว่างทางไปทำงานหรือกลับบ้าน

แต่คนที่ใช้ชีวิตอยู่สนามหลวงนี่สินอนอยู่ดีๆฝนเกิดตกก็ต้องไปหาที่หลบฝน ตามป้ายรถเมล์บ้าง ตามหลังคากันสาดหน้าร้านรวงต่างๆ บ้างและอย่าคาดหวังว่าคืนที่ฟ้ารั่วจะได้นอนหลับพักผ่อนเลยทีเดียวเพราะแค่เพียงแบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้เพียงพอต่อประชากรสนามหลวงก็แสนยากเย็นเสียแล้วแม้จะทุลักทุเล อดหลับอดนอน คนที่นี่ก็ไม่เคยหวั่น

หัวใจของพวกเขาแข็งแกร่งกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ทำไมจึงกล่าวเช่นนี้น่ะหรือ

ทุกครั้งที่ผู้เขียนได้พบเจอพูดคุยกับคนสนามหลวงเมื่อไปเป็นอาสาสมัครของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนนอกจากคำบอกเล่าสภาพฟ้าฝนที่แต่ละคนต้องเผชิญแล้วยังได้รับรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และมุขตลกแถมมาให้เสมอๆ

ลองจินตนาการดูว่าตัวเองต้องนอนข้างถนนตากแดดตากฝน ไม่มีเงินติดตัวสักบาทแค่เพียงหนึ่งคืนเท่านั้น ท่านจะรู้สึกอย่างไร จะเอาตัวรอดด้วยวิธีไหน

หลายคนอาจสบถออกมาให้กับชีวิตลำเค็ญเมื่อนึกภาพตาม

หลายคนอาจไม่นึกถึงอะไรและกล่าวว่า “คนสนามหลวงน่ะขี้เกียจ กิน นอนไปวันๆไม่เห็นยากตรงไหน”

แน่ใจหรือว่าการนอนตากน้ำค้างกลางแจ้งมันง่ายจริงๆนอกจากความลำบากทางร่างกายที่ต้องทนหนาว ทนร้อน ทนเปียกทนยุงและสัตว์อีกสารพัดที่ร่วมใช้ชีวิตตามถนนหนทาง ความลำบากใจที่ต้องเผชิญต่อสายตาสาธารณชนบางคนไม่เพียงแค่มองอย่างเดียว ยังมีท่าทางหวาดระแวง รังเกียจจนกระทั่งบ่น ด่าระบายความในใจออกมาให้สะเทือนหัวใจ


ปมชีวิตที่ทำให้คนๆหนึ่งตัดสินใจออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน

นักวิชาการพยายามอธิบายปรากการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่าเป็นเพราะการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ดึงให้คนในครอบครัวห่างออกจากกันจนเกิดช่องโหว่ทำให้คนรู้สึกโดดเดี่ยว

ฉันเองไม่แน่ใจว่าคำอธิบายนี้ครอบคลุมเหตุผลของทุกคนหรือไม่

บางกรณีอาจเป็นเรื่องแคลงใจในครอบครัวที่ไม่พูดกันครอบครัวคนไทยไม่ค่อยแสดงความรู้สึกไม่แสดงความรักและไม่จับเข่าคุยกันเมื่อเกิดเรื่องผิดใจกัน

ในมุมนี้ฉันมองว่าคนสนามหลวงจึงมีทั้งด้านที่อ่อนแอและแข็งแกร่งอยู่ในคนเดียวกันเพราะการพาตัวออกจากปมปัญหานั่นเป็นความอ่อนแอแต่ก็แฝงไปด้วยความกล้าหาญเสี่ยงออกมาเผชิญชีวิตในโลกใบใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน

การมีคนออกมานอนข้างถนนอย่างนี้ทำให้สะท้อนความคิดของคนในสังคมออกเป็นสองด้าน

ด้านหนึ่งพยายามทำความเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

อีกด้านหนึ่งมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องกำจัดออกไปสิ่งหนึ่งที่ครอบงำทัศนคติของสังคมด้านลบนี้คือระบบการแบ่งความเป็นตัวฉันตัวเธอเมื่อเธอไม่เหมือนฉัน เธอจึงถูกตีตราว่าทำผิด ไม่เข้าพวก

ประการสำคัญคือการทำความเข้าใจสิทธิมนุษยชนให้ลึกซึ้งว่าเป็นเพียงหลักง่ายๆ ไม่ซับซ้อน

เพียงปรับทัศนคติว่าคนเราเท่ากัน คนอื่นเท่ากับเราและอะไรบ้างคือความจำเป็นในชีวิตที่มนุษย์คนหนึ่งต้องการ เพียงเท่านี้เองทุกคนจะปฏิบัติต่อการอย่างเสมอภาค

แม้ว่าหลายๆครั้งเราจะเห็นภาพสะท้อนทัศนคติทางสังคมในการวิกฤตต่างๆ เช่น น้ำท่วมซึ่งมีการให้ความช่วยเหลือที่ปนด้วยความเข้าใจผิดว่าต้องให้เท่าๆกันนั่นคือสิทธิมนุษยชน

แท้จริงแล้วสิทธิมนุษยชนคือการปฏิบัติให้ทุกคนได้รับมาตรฐานที่เท่ากันไม่ใช่การเรียกร้องให้ได้ในจำนวนที่เท่ากัน

หรือง่ายๆ ว่า....แค่คิดถึงใจเขาใจเรา เท่านั้นเอง

10 กันยายน 2556

เลี้ยงอาหาร

ขอบทุกท่านที่มีส่วนในการแบ่งปันครั้งนี้นะค่ะ ทีมบ้านสะเนียน คุณกนกนุช. และน้องส้มอาสาสมัคร ในการเลี้ยงครั้งนี้ 200 กว่าถ้วย ขอบคุณแทนเพื่อนทุกท่านที่เขาฝากคำอวยพรมายังคุณ...#มูลนิธิอิสรชน

9 กันยายน 2556

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ : พัฒนาการการทำงาน


เมื่อพูดถึงผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเชื่อว่าหลายคนยังไม่คุ้นชินกับคำ ๆ นี้ เพราะส่วนมากยังหลงวนอยู่ในวาทกรรม “คนเร่ร่อน”  “คนไร้บ้าน” หรือแม้กระทั่งยังติดบ่วงคำว่า “คนจรจัด” อยู่ด้วยซ้ำไป ทั้งที่ในความเป็นจริงยังมีหลากหลายชีวิตที่อยู่ในที่สาธารณะ ทั้งที่โลดแล่นอยู่ด้วยนิยามความหมายที่ว่า “โดยสมัครใจ” หรือ “รักอิสระ” ทั้งหมดนั่นเป็นเพียง การให้นิยามที่ตัดความรำคาญเมื่อถูกรุกไล่เพื่อซักถามจาก “คนนอก” มากจนเกินความพอดีที่จะอดทนสนทนาอยู่ได้.....

จากการคลุกคลีในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในที่สาธารณะ ทำให้ค้นพบความหลากหลายของสรรพชีวิตในที่สาธารณะจนจำแนกแยกแยะออกมาได้ 10 กลุ่ม เมื่อราวปลายปี 2553ซึ่งได้แก่ คนเร่ร่อน ,ผู้ติดสุรา ,คนที่ใช้ที่สาธารณะในการหลับนอน ,ผู้ป่วยข้างถนน ,คนจนเมือง ,คนไร้บ้าน ,เด็กเร่ร่อนและครอบครัวเร่ร่อน ,คนเร่ร่อนไร้บ้าน ,พนักงานบริการอิสระ และผู้พ้นโทษ และจากากรทำงานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ เราพบว่ายังคนอีกอย่างน้อย 3 กลุ่มอยู่ในพื้นที่สาธารณะทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ,เพื่อนบ้านแถบอาเซียน และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
ประเด็นที่น่าสนใจกับสถานการณ์ดังกล่าวคือ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา หน่วยงานภาครัฐเริ่มปรับตัวในการให้บริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีการระบุในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก ที่ระบุให้รัฐต้องมีนโยบายในการดูแลกลุ่มคนที่ยากไร้ไร้ที่พึ่งไม่มีอาชีพและที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงออกแบบการให้บริการพลเมืองในกลุ่มที่ตกหล่นจากการรับสวัสดิการของรัฐในรูปแบบของ “ศูนย์คนไร้บ้าน” ที่ต่อมา ได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการ เน้นการทำงานทั้ง รุกและรับ อีกทั้งยังมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่หลากหลายมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค ภายใต้ชื่อ “บ้านมิตรไมตรี”

บ้านมิตรไมตรี ในระยะเริ่มแรกเปิดเพียง 4 บ้านในระยะแรก และเพิ่มเติมเป็น 5 บ้านในระยะ 2 ปีแรก หลังจากปี 2554 เป็นต้นมา บ้านมิตรไมตรี ขยายงานออกในส่วนภูมิภาคทั้งสิ้น 10 บ้านได้แก่ กรุงเทพมหานคร ,ชลบุรี ,นครราชสีมา ,ขอนแก่น ,อุบลราชธานี ,พิษณุโลก ,เชียงใหม่ ,นครศรีธรรมราช ,สงขลา และภูเก็ต โดยในแต่ละบ้าน ได้สร้างอัตตลักษณ์ในการทำงานได้อย่างชัดเจนและตรงความต้องการ และสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มการพัฒนารูปแบบการทำงานอย่างไม่หยุดนิ่ง


ในขณะที่ฟากขององค์กรพัฒนาเอกชนเองที่กลับหยุดนิ่งในการพัฒนารูปแบบการทำงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่ยังหลงวนอยู่กับงานประจำของตัวเอง สาละวนกับการเรียกร้องในเรื่องเดิม ๆ ที่ยังมองไม่เห็นการต่อยอดในการพัฒนา หรือการบูรณาการในการทำงานที่เป็นรูปธรรม ไม่มีข้อเสนอใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพของปัญหาและความต้องการที่ในแต่ละกลุ่มของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ มีแตกจต่างกันออกไป


มูลนิธิอิสรชน และ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณได้เดินสายถอดบทเรียนการทำงานของบ้านมิตรไมตรีและสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง ที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ โดยการสุ่มสำรวจและสอบถามพูดคุย ถอดบทเรียนการทำงานของภาครัฐ จนสามารถจัดทำ “คู่มือการทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” และกระตุ้นให้บ้านมิตรไมตรี 10 แห่ง คิดค้นรูปแบบการทำงานที่แต่ละบ้านเผชิญอยู่ในแต่ละพื้นที่ และมีแน้วโน้มที่จะนำไปสู่การทำงานในรูปแบบใหม่ ที่ภาครัฐปรับตัวมีการทำงานนอกเวลาราชการในระดับพื้นที่เพิ่มมากขึ้น มีการสร้างความคุ้นเคยกับ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในแต่ละจังหวัดเพิ่มมากขึ้น มีกระบวนการนำไปสู่การสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้เกิดการจัดสรรงบประมาณในการทำงานให้สอดคล้องกับขนาดของปัญหาในแต่ละพื้นที่ โดยเกือบทั้งหมด เกิดจากการสอบถามจากความต้องการของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นผู้รับบริการเองโดยตรง และยังมีการผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. .. ที่เป็นกฎหมายสำหรับสนับสนุนการทำงานกับผู้รับบริการกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ

 

จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ณ วันนี้ ภาครัฐ โดยเฉพาะ บ้านมิตรไมตรี  สำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานภาครัฐที่เริ่มทำงานเชิงรุกและรับ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ อย่างครบวงจร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองกันต่อไปว่า หากมีการจัดการอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของปัญหานี้ แล้ว ปัญหา ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จะสามารถคลี่คลายตัวเองลงได้บ้างหรือไม่อย่างไร

8 กันยายน 2556

ลงพื้นที่ยามค่ำ

วันนี้ 8-9-13  กำลังลงพื้นที่เยี่ยมเพื่อนกับ #อาสาสมัคร คุณลุง ประสบอุบัติเหตุ ทำใก้ประสาทสัมผัสช้า ลูกหลานไม่สนใจ มาอยู่ในถนน ก่อนหน้าเคยไปทำงานที่บาเรน พูดได้ 4 ภาษา แต่พอประสบอุบัติเหตุ ทำให้ความจำบางส่วนหายไป...ชีวิตมนุษย์ยามทำได้กอบโกย ยามทำไม่ได้ก็ถูกลืมข้างถนน #มูลนิธิอิสรชน

6 กันยายน 2556

ถุงเยี่ยมเพื่อน

ขอบคุณถุงเยี่ยมเพื่อน จาก #จิตอาสา วันนี้ลงพื้นที่เยี่ยมเพื่อนที่พาหุรัด #มูลนิธิอิสรชน

Food for homeless

Give food for #homeless  in #Sanamlung #Thailand by issarachonfoundation แจกอาหารเพื่อน #ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ  ใน #สนามหลวง โครงการเยี่ยมเพื่อน เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาร่วมกัน #มูลนิธิอิสรชน