22 มิถุนายน 2556

Gook เธอที่สังคมเรียกว่า “บ้า” แต่เรามองว่า เธอ ผู้สร้างรอยยิ้ม



          มูลนิธิอิสรชน รู้จัก  Gook มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 เห็นครั้งแรก ที่เห็น ไม่ใส่เสื้อ กางเกงขาด หัวฟู ๆ เดินไม่มองหน้าใคร ไม่สนใจใคร เดินผ่านรถโมบายอิสรชน อาสาสมัครในรถค่อย ๆ ทัก เขาเดินผ่าน ครั้งที่ 2  ทัก โดยการเอาขนมให้ หยืนมองแล้วยิ้มเดินผ่านไป ครั้งที่ 3 ทักทายใหม่ ก็หยืน อีกแบบนี้ให้ สัก 4 ครั้ง เขาเริ่มรับ ทักทาย คำแรกที่ถามไปไหน เขาตอบ “ไปข้างหน้า” ถามชื่ออะไร “กุ๊กครับ” จากนั้นสัมพันธภาพ คำว่า “เพื่อน” จึงเกิดขึ้น ณ วันนี้ ปี 2556 3 ปีที่ผ่านมา  ณ วันนี้ Gook (เป็นชื่อภาษาอังกฤษที่เขาเขียนด้วยลายมือเขาให้) พัฒนาการดีขึ้น จำชื่อ จำเรื่องราวในสังคมที่ผ่านเข้ามาได้ เริ่มเขียนภาษาอังกฤษได้เยอะมากขึ้น อ่านออกมากขึ้น เริ่มโต้ตอบคนรอบข้างได้มากขึ้น คุยมากขึ้น จนสร้างรอยยิ้มให้อาสาสมัครทุกครั้ง
          ใน 1 ปีแรก กุ๊กยอมที่จะให้อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย ตัดผม ตัดเล็บ ต่อมาพอเข้าปีที่ 2 เริ่มฝึกให้กุ๊ก รู้จักสังคม การซื้อข้าวกิน ตอนแรกให้เงินพอดีไปซื้อข้าวกิน ตอนหลังให้เงินเกินไปซื้อพร้อมรอเอาเงินทอนมาคืนให้ถูก
         ณ วันนี้ พัฒนาการของกุ๊ก คือ จำชื่อพ่อ ชื่อแม่ ได้จำวันเกิดได้ ก็อยู่ในช่วงการตามแกะรอยข้อมูลเพื่อตามญาติ และอธิบายเมื่อเขาพร้อมเข้ารักษา ก็จะทำการพาไปรักษาทางการแพทย์
สิ่งที่อยากจะบอกในบทความนี้คือ การที่มูลนิธิอิสรชนทำ คือการพัฒนา ฟื้นฟู ก่อนส่งเข้ารับการรักษา ณ วันนี้ข่าวผู้ป่วยทางจิต ผู้ป่วยทางสมอง หลงจากบ้านบ้าง ญาติทิ้งบ้าง  หลงอยู่ตามถนน ในทุกเส้นทางอย่างน้อยเราจะเห็นที่คนเรียกว่า “ฤๅษี” บ้าง “คนบ้า” บ้าง สถานการณ์ดูแลก็ไม่เพียงพอ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง 11 + 2 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันนี้จำนวนผู้เข้ารับบริการ 3976 คน แต่ละสถานมีงบดูแลแค่ 250 คน อย่างเต็มที่ที่สุด แต่ในแต่ละที่มีผู้รับการไม่ต่ำกว่า 300 คน กับเจ้าหน้าที่ในสถานเพียง 12 คน หักแม่ครัว คนขับรถ เหลือเจ้าหน้าที่ภาคปฏิบัติเพียงไม่ถึง 10 คน


             

             ในส่วนของโรงพยาบาลทางด้านจิตเวช มีเพียง 11 แห่งทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่พยาบาลก็จำกัด แต่ผู้เข้ารับบริการมากขึ้น ญาติเอามาทิ้งบ้าง ญาติไม่สนใจบ้าง นี้คือปัญหาที่คนทำงานพบ แต่สิ่งที่ มูลนิธิอิสรชนกำลังจะบอก คือ การที่เราทำงานเหมือนหน่วยคัดกรองในพื้นที่ คือ การพัฒนาฟื้นฟูในพื้นที่ เราใช้ธรรมชาติของความเป้ฯมนุษย์ในการเข้าถึงที่เราอิสรชน เรียกว่า “เพื่อน” ในการฟื้นฟู ทักทาย พูดคุย เพียงแค่เราไม่ตีตรา แต่มองว่าเขาเป็นคนเท่ากับเรา เราเชื่อว่า คนเมื่อมีการสื่อสารกันบ่อย ๆ สมองได้ทำงานการฟื้นฟูจะเพิ่มมากขึ้น สังคมมองว่าเขาบ้า น่ากลัว ไม่มีใครกล้าทัก กล้าคุย แต่พอมีเรา มูลนิธิอิสรชน ที่ชวนอาสาสมัคร มามองเห็น มาคุย เมื่อเขาได้รับการฟื้นฟู แบะเมื่อเขาพร้อมก็จะนำส่งเข้ารักษาตามโรงพยาบาลจิตเวช เพราะไม่เป็นการผลักดันให้เป็นภาระของรัฐซึ่งมันล้นมาก  แต่สิ่งที่เราต้องทำคือ การลดภาระ การให้สังคมมาร่วมมือกัน ไม่ใช่ เป็นภาระของใคร แต่เป็นหน้าที่ของสังคม ทั้งครอบครัว สังคม ภาครัฐ และที่สำคัญ คือการนำอาสาสมัครไปฟื้นฟูคนทำงาน ในสถานสงเคราะห์ เพราะคนทำงาน 1 คนที่ต้องดูแลคนในสถานสงเคราะห์เกือบ 30-50 และส่วนใหญ่ก็มีอาการทางจิต อาการทางสมอง คนทำงานหนักอยู่แล้ว การฟื้นฟูคนทำงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ  เพราะไม่อย่างนั้นคนทำงานเองจะมาเป็นผู้รับบริการเอง
            เพราะฉะนั้นสิ่งที่อิสรชนทำ คือการฟื้นฟูในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนส่งรักษา เพื่อลดภาระ และส่งต่อกันได้มากขึ้น  การทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสิ่งที่สำคัญ คือการเต็มที่กับงานและต่อเนื่องกับการทำงาน ใส่ใจในการทำงาน  ในส่วนของสังคมและครอบครัว เพียงแค่สังคมมองเห็นกันมากขึ้น ใส่ใจกันมากขึ้น มองเห็นกันมากขึ้น และสื่อสารกันมากขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น: