22 ตุลาคม 2554

จดหมายถึงนายกรัฐมนตรี เฝ้าระวังสถานการณ์หลังน้ำลด ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจะเพิ่มมากขึ้น

จดหมายถึงนายกรัฐมนตรี เฝ้าระวังสถานการณ์หลังน้ำลด ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจะเพิ่มมากขึ้น
            อิสรชน เป็นองค์กรที่ทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ พื้นที่หลัก คือสนามหลวง คลองหลอด ได้เฝ้าติดตาม สถานการณ์ตั้งแต่น้ำท่วม และร่วมเฝ้าติดตามสถานการณ์มาด้วยอย่างต่อเนื่องด้วยความเป็นห่วงและกังวลใจ ทั้งนี้ได้ลงพื้นที่ไปให้ความช่วยเหลือในบางพื้นที่ตามกำลังขององค์กร
            สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่หลังจากน้ำลด ก็คือ การออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ของคนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ หนึ่ง คือ การว่างงาน การตกงาน สิ้นเนื้อประดาตัว ที่กล่าวเช่นนั้น อิสรชนเคยเก็บข้อมูล หลังสถานการ์รัฐประหาร ปี 49 โรงงานหลายโรงงานปิดตัวลง คนงานตกงาน ในสนามหลวง มีสาวโรงงานออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะและบางรายเข้าสู่อาชีพของพนักงานบริการอิสระ กว่า 30% และในเหตุกาณ์สถานการร์น้ำท่วมครั้งนี้ แหล่งอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม หลายที่ปิดตัวลง พนักงานพักงาน หยุดงานไม่มีกำหนด บางรายกลับสู่ถิ่นฐาน แต่บางราย ต้องมาดิ้นรนช่วงโรงงานปิดตัว ในกรุง เพื่อหารายได้ในการพยุงชีพ เลี้ยงชีพ บางรายกลับสู่ครอบครัวไม่ได้ เพราะกลับสู่ชนบทก็ทำมาหากินไม่ได้ สิ่งที่น่ากังวลและเป้นห่วงมากที่สุด ที่อิสรชน เฝ้าระวังและร่วมประเมินสถานการร์ร่วมกับ บ้านมิตรไมตรี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่คงของมนุษย์
            สาเหตุที่สอง คือ สุขภาพจิต ผู้ประสบภัยน้ำท่วมบางราย ที่หมดสิ้นเนื้อประดาตัว ตั้งหลักไม่ทัน เข้าสู่ภาวะเครียดและบางรายอาจเสียสติ เข้าสู่ภาวะการป่วยทางจิต และออกมาสู่ถนน เพิ่มมากขึ้น ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ สถานกณารณ์ผู้ป่วยทางจิต เพียงที่สนามหลวง ณ เวลานี้ก็มีกว่า 40% ที่มีอาการทางสมองและจิต และตามถนนทุกเส้นคุณจะเห็นว่ามีผู้ป่วยทางจิต อย่างน้อยหนึ่งรายต่อถนนทุกเส้น สิ่งที่เราอิสรชนกล้ายืนยันที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจาก การย้อนเข้าสู่อดีต ไม่ว่าสถานการณ์ ฟองสบู่แตก รัฐประหาร ทำให้ธุรกิจและโรงงานหลายโรงงานปิดตัวลง บางรายสิ้นเนื้อประดาตัว ตั้งสติไม่ได้ ก็กลายเป็นผู้มีอาการทางจิต พลัดดหลง หรือหายออกจากบ้าน จนกลายมาเป็นผู้ใช้ชีวิตนี่สาธารณะ
            สาเหตุอีกประการหนึ่งคือการสิ้นเนื้อประดาตัวจากงานภาคการเกษตร ที่ดินทำกินถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ทำให้ต้องดิ้นรนเดินทางเข้าสู่เมืองใหญ่ที่ยังพอจะมีโอกาสในการทำมาหากินรวมถึงบางส่วนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีแนวโน้มจะใช้พื้นที่สาธารณะเป็นที่พักพิงและอาศัยในช่วงเวลาที่ตั้งหลักตั้งตัวในกรุงเทพมหานคร
            จึงเป็นสถานการณ์ที่เฝ้าระวังและคาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เพิ่มมากขึ้น กว่าปสถานการณ์ปกติ แต่ทุกรัฐบาลก็จะหันไปเน้นทางด้านเศรษฐกิจ เม็ดเงิน แต่อยากให้หันมาเห็นเรื่องบุคคลมากขึ้น เน้นการดูแลและพัฒนาบุคคลไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ต่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจก้าวเดิน แต่คนไม่ได้ได้รับการดูแลและพัฒนาร่วมกันไปด้วย การก่อเกิดการกดทับ ระบบชนชั้น ก็จะมีคู่กันไป เพราะคนจะมองไม่เห็นคนด้วยกันเอง มองไม่เห็นความเท่ากัน สิทธิอันพึ่งได้ของคนเท่ากันเอง  เพราะทุกวันนี้ผู้ที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อย่างสนามหลวง อย่างน้อยตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ราย กลายเป็นศพไม่มีญาติ ตายไม่ได้ตาย เพราะ ไม่ได้แจ้งตายและอาจเกิดการสวมสิทธิภายหลังได้ ซึ่งอาจจะมองเป็นปัญหาที่ไม่สำคัญ แต่ลึกแล้ว มันเกี่ยวเนื่องกันหมด  การรักษาพยาบาลถ้าไม่มีใครรับเป็นญาติก็ไม่ได้รับการรักษา เอากลับมาคืนที่ สุดท้ายก็นอนเสียชีวิต ณ ที่นั้น ทั้งที่เขาควรได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลขั้นพื้นที่ฐานตามสิทธิความเป็นมนุษย์ ทุกอย่างเริ่มต้นจากการมองเห้นคนไม่เป็นคน มองคนไม่เท่ากัน   การฟื้นฟูสภาพจิตใจ สังคม ต้องทำควบคู่ไปกับการฟื้นฟูทางด้านเศรษฐกิจ เพราะความมั่นคงทางสังคมจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกอบกู้สถานการที่เลวร้ายหลังจากผ่านพ้นวิกฤติพิบัติอุทกภัยของประเทศในครั้งนี้

นที สรวารี
นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

ไม่มีความคิดเห็น: