15 ธันวาคม 2554

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ : วิกฤติปัญหาของชาต

หลังเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ(???) และภายใต้ความผันผวนท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ประเทศไทยเองก็หลีกเลี่ยงที่จะโดนวิกฤตินี้ไม่ได้เช่นกัน โรงงานและสถานประกอบการหลายแห่งมีทีท่าว่าจะต้องปิดตัวลง ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีคนว่างงานภายในปีนี้อีกหลายแสนคน ยังไม่รวมที่ปัจจุบันเป็นผู้ว่างงานอยู่ก่อนแล้ว

หลายคนอาจะมองไม่เห็นหรือคาดไม่ถึงว่าคนว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างนั้น ส่วนมากเขาไปไหน เดินทางกลับภูมิลำเนา หางานใหม่ หรือไปไหน?? ล่าสุดจากการเข้าทำงานในพื้นที่สนามหลวงและคลองหลอดอย่างต่อเนื่องของอิสรชน พบว่า แรงงานที่ว่างงานจำนวนหนึ่งทั้งชายและหญิง ทะลักเข้าสู่พื้นที่สนามหลวงและคลองหลอดจำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน ส่วนใหญ่ที่สังเกตและได้รับฟังจากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่พบว่า จะเป็นแรงงานสตรีเสียเป็นส่วนใหญ่ ?? เกิดอะไรขึ้น ??

ปัญหาก็คือ หากแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ก็จะสามารถขวนขวายและหางานที่เป็นงานจ้างรายวัน จำพวก กรรมการ แรงงานก่อสร้างได้โดยไม่ยากมากนัก แต่หากเป็นแรงานผู้หญิงที่น่าเป็นห่วงก็คือ หากปล่อยเนินนานไว้เกินกว่า 2 สัปดาห์ มีแนวโน้มว่า แรงงานหญิงเหล่านี้ จะเข้าสู่ธุรกิจการบริการทางเพศ สืบเนื่องมาจาก แรงงานกลุ่มนี้ มักจะมีอายุเกินกว่า 30 ปี ทำให้ โรงงานหรือ สถานประกอบการที่เปิดรับสมัครคนงานใหม่มักจะปฏิเสธแรงงานผู้หญิงที่มีอายุเกินกว่า 30 ปี โดยอ้างถึงสภาพการทำงานไม่เหมาะสม หรือเหตุผลอื่นๆ สุดแท้แต่จะหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้าง

ในส่วนของแรงงานชายเองก็ตาม การรับจ้างแรงงานรายวัน หรือแรงงานชั่วคราว ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการยังชีพของเขาเหล่านั้นได้อย่างครบถ้วยสมบูรณ์แบบ หนำซ้ำในบ้างครั้ง อาจจะเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมให้เขา อยู่ในวังวนของการเข้าสู่ชีวิต ฅนสนามหลวงได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น
ไปราชประสงค์ เจอคนสนามหลวงพอดี
หากภาครัฐยังมัวแต่แก้ไขปัญหาให้กับชนชั้นกลางที่มีกำลังพอที่จะดูแลตนเองและครอบครัวได้ในระดับหนึ่ง โดยไม่เหลียวแลคนยากจน คนชั้นรากหญ้า ไม่นาน สนามหลวง และที่สาธารณะอื่น ๆก็จะอยู่ในสภาพที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะ ผู้คน จะทะลักกันออกมาจากบ้านเช่าที่เขาไม่สามารถหาเงินจ่ายค่าเช่าเดือนละ 1,000 -1,500 บาทได้ เพื่อมาอยู่ในที่สาธารณะ
รัฐในฐานะผู้รับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองทุกชนชั้น จำต้องมีมาตรการที่ถูกต้องชัดเจนและตรงกับสภาพชีวิตของคนที่อยู่ในกลุ่มรากหญ้าอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาเดือนเศษ รัฐบาลนี้ ยังไม่มีแผน หรือมาตรการใดใดที่จะลงมาช่วยเหลือคนยากจน คนจนเมือง คนจนชนบทอย่างแท้จริงเลยแม้แต่เรื่องเดียว

สภาพการณ์ดังกล่าวจะยังไม่แสดงผลอย่างทันทีทันใดในขณะนี้ แต่จะเริ่มชัดเจนขึ้น ในช่วงหลังจากฤดูการทำนาเพาะปลูกสิ้นสุดลง และหลังจากที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ให้สัญญาว่าจะเปิดทำการตามปกติในราวเดือนกุมภาพันธ์ ตอนนั้นเองจะเห็นภาพสรุปถึงสถานการณ์ที่แท้จริงเด่นชัดมากยิ่งขึ้น โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งอาจจะต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถทนต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกูและประกอบกับต้นทุนการผลิตที่จมหายไปกับมหันตภัยน้ำที่เพิ่งผ่านพ้นไป 
การทำงานในพื้นที่ของอิสรชน ปีใหม่ที่จะถึงนี้ ผ่านปีกระต่าย ย่างเข้าสู่ปีมังกร ศิริมงคลแห่งชีวิตและประเทศ "หงส์เหนือมังกร" เชิญชวนคนใจดีมองเห็นคุณค่าของคนเท่ากัน ร่วมสนับสนุนการทำงานของ อิสรชน โดยบริจาคงบประมาณร่วมสนับสนุนการทำงานได้ที่ ธ.กรุงไทย สาขา ปิ่นเกล้า เลขที่ 031-0-03432-9 "สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน"
วิกฤติการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมาจึงไม่ได้เป็นเพียงการสูญเสียในทางใดทางหนึ่ง หากแต่เป็นการสูญเสียที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และถ้าหากการค้นหาความจริงพบว่าเป็นเตจำนงความต้องการของใครคนใดคนหนึ่ง ที่ต้องการให้เกิดหายนะครั้งนี้ ก็ยิ่งต้องเรียกร้องความรับผิดชอบโดยสมบูรณ์จากบุคคลคนนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะ ทำให้ผู้คนหลักล้านเดือดร้อนไปทั่ว ประชาชนพลเมืองเสียชีวิตและสูญหายกว่า 700 คน บาดเจ็บอีกนับพันคน ครอบครัวบ้านแตกสาแหรกขาด ระบบสังคมโครงสร้างหลักโดนทำลายโดยสิ้นเชิง มีผู้คนต้องกลายเป็นคนเร่ร่อนไร้บ้านมากกว่า 100 ครอบครัวเป็นอย่างน้อยจากการสำรวจในเบื้องต้น ื

ภารกิจการเยี่ยมยาฟื้นฟูในสภาพปกติอาจจะยังไม่เพียงพอ การทำงานในเชิงรุกและเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานต่าง ๆ มีทักษะสำคัญในการทำงานกับผู้ที่เปลี่ยนสถานภาพจากคนปกติทั่วไปมาเป็น "ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ" จะมีความจำเป็นอย่างมาก สังคมต้องหันมาให้การสนับสนุนการทำงา่นกับคนกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องและช่วยกันพัฒนาชุดความรู้ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ เขตการค้าเสรีเาเซี่ยน ในปี 2015 ที่ไทย จะต้องแบกรับภาระมากมายจากประเทศรอบข้างในเวลาอันใกล้ ถามว่าเราพร้อมแล้วหรือยัง ถ้ายังต้องเร่งรีบพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมเสียแต่วันนี้

ไม่มีความคิดเห็น: