สวัสดิการ : ชุมชน สังคม
นึกคันไม่คันมืออยากจะเขียนบทความเล็ก ๆ เรื่องสวัวดิการขึ้นมาเฉย ๆระหว่างนั่งนึกเล่น ๆ ที่ริมสระว่ายน้ำบนโรงแรมหรูใจกลางกรุงเทพมหานครเมื่อสองวันก่อน แต่ไม่ได้ลงมือเขียนเป็นเรื่องเป็นราว พอกลับมาถึงบ้านใช้เวลาพกสมองหนึ่งวันเต็ม ๆ จึงได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการก่อนอื่นต้องขออนุญาตกำหนดนิยามความหมายของคำว่า “สวัสดิการ”ที่นักวิชาการทั้งหลายให้ไว้มาเป็นกรอบในการเริ่มต้นเขียนกันก่อนอาจารย์ วิทยา ตันติเสวี ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้เคยเขียนบทความเล็ก ๆ ในเรื่องของสวัสดิการไว้ดังนี้
ความหมายและขอบเขตของคำว่า“สวัสดิการ”
ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า“สวัสดิการ” ต่างๆกันไป ได้แก่
- Welfare (สวัสดิภาพ สวัสดิการ) คือการมุ่งให้เกิดการกินดีอยู่ดีของบุคคลหรือกลุ่มสวัสดิการทั่วไปของชุมชนหรือสังคม ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
- สวัสดิการ หมายถึง “การกินดีอยู่ดี” หรือ Well-being ซึ่งถ้าจะขยายความออกไปก็อาจกล่าวได้ว่า คือภาวะของการมีสุขภาพดี มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสุข ถ้าเกี่ยวกับด้านแรงงานก็หมายถึง สิ่งหรือสถานการณ์ที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกสบาย หรือความกินดีดอยู่ดีของลูกจ้างนั่นเอง ซึ่งการดำเนินการเพื่อให้เกิดภาวะที่มีความสะดวกสบาย หรือความกินดีอยู่ดีของลูกจ้างนี้มิได้หมายความว่า เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างแต่ฝ่ายเดียว รัฐบาลและสหภาพแรงงานก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย
- สวัสดิการ หมายถึง บริการหรือกิจกรรมใดๆ ที่หน่วยงานราชการ หรือองค์กรธุรกิจเอกชนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรนั้นๆ ได้รับความสะดวกสบายในการทำงาน มีความมั่นคงในอาชีพ มีหลักประกันที่แน่นอนในการดำเนินชีวิต หรือได้รับประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี เพื่อจะได้ใช้กำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาความสามารถของตนในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ไม่ต้องวิตกกังวล ปัญหายุ่งยากทั้งในทางส่วนตัวและครอบครัวทำให้มีความพอใจในงาน มีความรักงานและตั้งใจที่จะทำงานนั้นให้นานที่สุด สำหรับสวัสดิการที่สมบูรณ์แบบนั้นย่อม หมายถึงสวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง ทั้ง
- ในขณะที่ทำงาน (On – the – Job)
- นอกเวลาทำงานแต่ยังอยู่ในที่ทำงาน (Off – the – job withinthe workplace)
- นอกสถานที่ทำงาน (Outside the workplace) นอกจากนั้นจะต้องไม่ให้เฉพาะลูกจ้างเท่านั้น แต่จะ ต้องรวมถึงครอบครัวและชุมชนด้วย
แต่ในที่นี้จะขออนุญาตกล่าวถึงสวัสดิการชุมชน และสวัสดิการสังคมเป็นหลัก โดยมุ่งพิจารณาไปถึงการจัดการให้มีหรือการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่และการคิดค้นรูปแบของการให้สวัสดิการที่หลากหลายเป็นประเด็นสำคัญซึ่งทั้งหมดควรจะมีการใช้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนในการร่วมคิดร่วมทำในขั้นตอนต่างๆ เพื่อนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่าสวัสดิการชุมชน หรือสวัสดิการสังคม
เมื่อขึ้นชื่อว่า สวัสดิการ ต้องย้อนกลับขึ้นไปดูความหมายดีดีอละต้องระวังไม่ให้เกิดความไขว้เขวเป็นอันขาดเพราะหากมีมุมมองหรือทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสวัสดิการที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงในชุมชนและสังคมและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าส่วนบุคคลและต้องส่งผลกระทบในวงกว้างมากกว่าส่งผลเพียงแค่ในวงแคบ ๆ ที่สำคัญ สวัสดิการ นั้นต้องเกิดขึ้นภายใต้ความต้องการของสมาชิกในชุมชนและสังคมนั้น ๆ เป็นสำคัญ
สวัสดิการชุมชนควรเป็นสวัสดิการที่มุ่งเน้นไปที่การสร้าง การกินดีอยู่ดีมีความสุขให้แก่คนในชุมชนเป็นสำคัญจะระดมทรัพยากรภายในชุมชนมาจำนวนมากน้อยหรือไม่อย่างไรไม่สำคัญแต่ให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ที่ได้ต้องก่อให้เกิดสวัสดิการภายในชุมชนนั้นอย่างทั่วถึงและหลากหลาย
สวัสดิการสังคมควรเป็นระบบการให้บริการจากรัฐที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยมุ่งเน้นสังคมอุดมสุขและมีพลังแห่งความเป็นพลเมืองเป็นสำคัญ และควรสร้างสวัสดิการสังคมที่หลากหลายให้สอดคล้องกับความหลากหลายของพลเมืองที่รวมกันอยู่ในสังคมนั้นๆ
เมื่อมาถึงบรรทัดนี้ต้องขออนุญาตอ้างอิงข้อเขียนอันทรงพลังของศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ที่เขียนเรื่อง จากครรภ์มาดา ถึงเชองตะกอนไว้เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วเป็นปฐมบทของการจัดสวัสดิการในประเทศต่าง ๆที่สอดคล้องและเหมาะสมลงตัวในบริบทของสังคมที่เป็นพลวัตรอยู่ตลอดเวลาและต้องขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนของสังคมหันมาร่วมกันสร้างสวัสดิการชุมชนและกระตุ้นให้ภาครัฐจัดรูปแบบสวัสดิการสังคมที่หลากหลาย เพื่อยกระดับให้พลเมืองได้ กินดีอยู่ดีมีความสุขโดยเร็ววัน
เขียนและเรียบเรียงโดย :นที สรวารี
นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน
สวัสดิการ : ชุมชน สังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น