26 มิถุนายน 2556

Give and shear

อยากเห็นสังคมแห่งการแบ่งปัน 100 บาท คนยากไร้อิ่ม 3 มื้อ #มูลนิธิอิสรชน #ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ #ผู้สูงอายุ #homeless #ผู้ป่วยทางจิต #issarachonfoundation

25 มิถุนายน 2556

เพียงรอยยิ้ม

คุณยายาร้อย มาจากสุพรรณ หลงลืม พูดวนไปวนมา เลยเข้าไปทักทาย แกมีรอยยิ้มดีใจเหมือนนึกถึงลูกหลาน เลยเอาถุงเยี่ยมเพื่อนไปแบ่งปัน พร้อมพูดคุย คุณภาพชีวิตเบื้องต้นที่เราแบ่งปันให้คนแก่ยากไร้ในถนน #มูลนิธิอิสรชน #คนเร่ร่อน #ข้างถนน #ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ #ผู้สูงอายุ

22 มิถุนายน 2556

หลายพลังรวมกัน ช่วยคนยากไร้ได้มากขึ้น

Gook เธอที่สังคมเรียกว่า “บ้า” แต่เรามองว่า เธอ ผู้สร้างรอยยิ้ม



          มูลนิธิอิสรชน รู้จัก  Gook มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 เห็นครั้งแรก ที่เห็น ไม่ใส่เสื้อ กางเกงขาด หัวฟู ๆ เดินไม่มองหน้าใคร ไม่สนใจใคร เดินผ่านรถโมบายอิสรชน อาสาสมัครในรถค่อย ๆ ทัก เขาเดินผ่าน ครั้งที่ 2  ทัก โดยการเอาขนมให้ หยืนมองแล้วยิ้มเดินผ่านไป ครั้งที่ 3 ทักทายใหม่ ก็หยืน อีกแบบนี้ให้ สัก 4 ครั้ง เขาเริ่มรับ ทักทาย คำแรกที่ถามไปไหน เขาตอบ “ไปข้างหน้า” ถามชื่ออะไร “กุ๊กครับ” จากนั้นสัมพันธภาพ คำว่า “เพื่อน” จึงเกิดขึ้น ณ วันนี้ ปี 2556 3 ปีที่ผ่านมา  ณ วันนี้ Gook (เป็นชื่อภาษาอังกฤษที่เขาเขียนด้วยลายมือเขาให้) พัฒนาการดีขึ้น จำชื่อ จำเรื่องราวในสังคมที่ผ่านเข้ามาได้ เริ่มเขียนภาษาอังกฤษได้เยอะมากขึ้น อ่านออกมากขึ้น เริ่มโต้ตอบคนรอบข้างได้มากขึ้น คุยมากขึ้น จนสร้างรอยยิ้มให้อาสาสมัครทุกครั้ง
          ใน 1 ปีแรก กุ๊กยอมที่จะให้อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย ตัดผม ตัดเล็บ ต่อมาพอเข้าปีที่ 2 เริ่มฝึกให้กุ๊ก รู้จักสังคม การซื้อข้าวกิน ตอนแรกให้เงินพอดีไปซื้อข้าวกิน ตอนหลังให้เงินเกินไปซื้อพร้อมรอเอาเงินทอนมาคืนให้ถูก
         ณ วันนี้ พัฒนาการของกุ๊ก คือ จำชื่อพ่อ ชื่อแม่ ได้จำวันเกิดได้ ก็อยู่ในช่วงการตามแกะรอยข้อมูลเพื่อตามญาติ และอธิบายเมื่อเขาพร้อมเข้ารักษา ก็จะทำการพาไปรักษาทางการแพทย์
สิ่งที่อยากจะบอกในบทความนี้คือ การที่มูลนิธิอิสรชนทำ คือการพัฒนา ฟื้นฟู ก่อนส่งเข้ารับการรักษา ณ วันนี้ข่าวผู้ป่วยทางจิต ผู้ป่วยทางสมอง หลงจากบ้านบ้าง ญาติทิ้งบ้าง  หลงอยู่ตามถนน ในทุกเส้นทางอย่างน้อยเราจะเห็นที่คนเรียกว่า “ฤๅษี” บ้าง “คนบ้า” บ้าง สถานการณ์ดูแลก็ไม่เพียงพอ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง 11 + 2 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันนี้จำนวนผู้เข้ารับบริการ 3976 คน แต่ละสถานมีงบดูแลแค่ 250 คน อย่างเต็มที่ที่สุด แต่ในแต่ละที่มีผู้รับการไม่ต่ำกว่า 300 คน กับเจ้าหน้าที่ในสถานเพียง 12 คน หักแม่ครัว คนขับรถ เหลือเจ้าหน้าที่ภาคปฏิบัติเพียงไม่ถึง 10 คน


             

             ในส่วนของโรงพยาบาลทางด้านจิตเวช มีเพียง 11 แห่งทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่พยาบาลก็จำกัด แต่ผู้เข้ารับบริการมากขึ้น ญาติเอามาทิ้งบ้าง ญาติไม่สนใจบ้าง นี้คือปัญหาที่คนทำงานพบ แต่สิ่งที่ มูลนิธิอิสรชนกำลังจะบอก คือ การที่เราทำงานเหมือนหน่วยคัดกรองในพื้นที่ คือ การพัฒนาฟื้นฟูในพื้นที่ เราใช้ธรรมชาติของความเป้ฯมนุษย์ในการเข้าถึงที่เราอิสรชน เรียกว่า “เพื่อน” ในการฟื้นฟู ทักทาย พูดคุย เพียงแค่เราไม่ตีตรา แต่มองว่าเขาเป็นคนเท่ากับเรา เราเชื่อว่า คนเมื่อมีการสื่อสารกันบ่อย ๆ สมองได้ทำงานการฟื้นฟูจะเพิ่มมากขึ้น สังคมมองว่าเขาบ้า น่ากลัว ไม่มีใครกล้าทัก กล้าคุย แต่พอมีเรา มูลนิธิอิสรชน ที่ชวนอาสาสมัคร มามองเห็น มาคุย เมื่อเขาได้รับการฟื้นฟู แบะเมื่อเขาพร้อมก็จะนำส่งเข้ารักษาตามโรงพยาบาลจิตเวช เพราะไม่เป็นการผลักดันให้เป็นภาระของรัฐซึ่งมันล้นมาก  แต่สิ่งที่เราต้องทำคือ การลดภาระ การให้สังคมมาร่วมมือกัน ไม่ใช่ เป็นภาระของใคร แต่เป็นหน้าที่ของสังคม ทั้งครอบครัว สังคม ภาครัฐ และที่สำคัญ คือการนำอาสาสมัครไปฟื้นฟูคนทำงาน ในสถานสงเคราะห์ เพราะคนทำงาน 1 คนที่ต้องดูแลคนในสถานสงเคราะห์เกือบ 30-50 และส่วนใหญ่ก็มีอาการทางจิต อาการทางสมอง คนทำงานหนักอยู่แล้ว การฟื้นฟูคนทำงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ  เพราะไม่อย่างนั้นคนทำงานเองจะมาเป็นผู้รับบริการเอง
            เพราะฉะนั้นสิ่งที่อิสรชนทำ คือการฟื้นฟูในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนส่งรักษา เพื่อลดภาระ และส่งต่อกันได้มากขึ้น  การทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสิ่งที่สำคัญ คือการเต็มที่กับงานและต่อเนื่องกับการทำงาน ใส่ใจในการทำงาน  ในส่วนของสังคมและครอบครัว เพียงแค่สังคมมองเห็นกันมากขึ้น ใส่ใจกันมากขึ้น มองเห็นกันมากขึ้น และสื่อสารกันมากขึ้น




เพียงเริ่มที่ตัวคุณ

ทุกชีวิตต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด อย่าตรีตราคนข้างถนนว่าขี้เกียจ เขาไม่ได้ขี้เกียจ แต่เขาไม่มีโอกาสเหมือนคุณ ลุงแกหลงลืม เดินร้องเพลงเก็บขวดในซอยรามอินทรา 83 ทุกวัน เพียงคุณมองเห็นคนเท่ากัน การแบ่งปันก็จะเกิดขึ้น #มูลนิธิอิสรชน #แบ่งปัน

20 มิถุนายน 2556

homeless issarachon





อยากเห็นสังคมแบ่งปันเพื่อคนมากขึ้น
ทั้งคนแก่ถูกทิ้ง ผู้ป่วยถูกทิ้ง
คนยากไร้ถูกลืมมากมายข้างถนน
เมื่อไรจะเกิดการแบ่งปัน มากกว่าการสร้างวั­ตถุ
I want see more and more social sharing.
The old men was dropped. The sick were left.
Homeless. I will be sharing Them. Rather than
creating objects.Sharing For Human.
Issarachonfoundation

18 มิถุนายน 2556

เพชรน้ำเอก อิสรชน คนข้างทาง_part2



รายการเพชรน้ำเอกตอนนี้ อยากเห็นสังคมแบ่งปันเพื่อคนมากขึ้น ทั้งคนแก่ถูกทิ้ง ผู้ป่วยถูกทิ้ง คนยากไร้ถูกลืมมากมายข้างถนน เมื่อไรจะเกิดการแบ่งปันมากกว่าการสร้างวั­ตถุ ติดตามได้ในรายการเพชรน้ำเอก ทางช่อง 4050 ช่องของคนรุ่นเรา


 รายการเพชรน้ำเอก อิสรชน คนข้างทาง_part2






เพชรน้ำเอก อิสรชน คนข้างทาง_part1



รายการเพชรน้ำเอกตอนนี้ อยากเห็นสังคมแบ่งปันเพื่อคนมากขึ้น ทั้งคนแก่ถูกทิ้ง ผู้ป่วยถูกทิ้ง คนยากไร้ถูกลืมมากมายข้างถนน เมื่อไรจะเกิดการแบ่งปันมากกว่าการสร้างวั­ตถุ ติดตามได้ในรายการเพชรน้ำเอก ทางช่อง 4050 ช่องของคนรุ่นเรา

Link รายการเพชรน้ำเอก อิสรชน คนข้างทาง_part1
http://youtu.be/96z_9TL4HA0

ดาวอาสาลิเดีย2.flv




ดาวอาสา ลิเดียมาร่วมบริจาคยาให้คนเร่ร่อนหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะคลองหลอด พร้อมทั้งรับฟังปัญหาของคนที่นี่ ตอนถ่ายทำฝนตกทั้งวัน - - ทุกคนเลยต้องใส่ชุดกันฝนถ่ายทำกันในเทปนี้ค่ะ คนเร่ร่อนหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไม่ใช่คนไม่มีบ้านอยู่ แต่ออกจากบ้านเพราะ "ถูกกดดันจิตใจ" เช่น บางคนถูกพี่น้องตามฆ่าเอามรดก , ลูกทอดทิ้ง ฯลฯ อย่าง...ยายมาจากจ.อยุธยา มาอยู่สนามหลวงตั้งแต่อายุ 14 ปี กะว่ามากรุงเทพฯ สร้างอนาคต แต่...ไม่มีไรดีขึ้น - - เลยขายข้าวแกงตั้งแต่จานละ 1 บ. จนทุกวันนี้ ไม่มีญาติที่ไหนอีก ปักหลักที่นี่เลย ตอนนี้ปวดขาเดินไม่ได้ - - ตาก็มองไม่เห็น แต่...บางคนก็จบ ป.ตรี ป.โท ยังมาใช้ชีวิตที่นี่ เพราะไม่มีที่ไป - - เข้าบ้านไม่ได้ สารพัดปัญหาครอบครัว - - พี่น้องฆ่ากันเอง ลูกจะฆ่าพ่อ-แม่เอาสมบัติ

สถานการณ์ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ-55




สถานการณ์ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ-55 ข้อมูลการสำรวจ มูลนิธิอิสรชน

ผู้ใช้ชีวิตในพื่นที่สาธารณะ



อีกมุมหนึ่งของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธาณณะ สารคดีเชิงข่าว นศ. คณะนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต

People live in Public area(PLIPA): เพียงแค่กล้าที่จะเริ่ม

People live in Public area(PLIPA): เพียงแค่กล้าที่จะเริ่ม: งานที่เราทำอยู่ แม้สังคมไทยยังมองว่ามันแปลก ใหม่ แต่ต่างประเทศเขาก็ทำมานาน แต่เราเพียงกล้าเริ่มที่จะเริ่มต้น เราเชื่อว่าสังคมจะรับรู้ และเข...

เพียงแค่กล้าที่จะเริ่ม

งานที่เราทำอยู่ แม้สังคมไทยยังมองว่ามันแปลก ใหม่ แต่ต่างประเทศเขาก็ทำมานาน แต่เราเพียงกล้าเริ่มที่จะเริ่มต้น เราเชื่อว่าสังคมจะรับรู้ และเข้าใจมากขึ้นกับความว่า "ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ" และ ความเท่ากัน #มูลนิธิอิสรชน




จงมอบรอยยิ้มของคุณให้กับใครบางคน
เพราะนั่นอาจเป็นแสงอาทิตย์อันอบอุ่น
ที่เขารอคอยมาตลอดทั้งวัน
มันคือยิ้มที่...เปลี่ยนโลกได้...
แม้ไม่ได้เปลี่ยนโลกทั้งใบ...
...แต่อย่างน้อย
มันก็เปลี่ยนโลกของเขาได้...
...มิใช่หรือ ?

Give someone one of your smiles,
It might be the only sunshine they see all day. 
It can change the world, 
may be not the whole world, 
but their world.

Make the Homeless Smile 

#Issarachonfoundation





3 มิถุนายน 2556

People live in Public area(PLIPA): รณรงค์ ความเท่ากัน

People live in Public area(PLIPA): รณรงค์ ความเท่ากัน: เพื่อน ๆ ในที่ต่าง ๆ มาร่วมรณรงค์ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ อาสามัคร หน่วยงานเอกชน คนมีชื่อเสียง หรือแม้แต่ตัวเขาเอง มาร่วมรณรงค์คำว่า  "ค...

รณรงค์ ความเท่ากัน

เพื่อน ๆ ในที่ต่าง ๆ มาร่วมรณรงค์ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ อาสามัคร หน่วยงานเอกชน คนมีชื่อเสียง หรือแม้แต่ตัวเขาเอง มาร่วมรณรงค์คำว่า

 "คุณ (ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ) กับ ฉัน เราเท่ากัน"
                                      "You (People live in public or Homeless) and Me The same" 

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.508419452559179.1073741839.206718382729289&type=3










 

 



จากคนจรจัด คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน สู่ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธาณะ : วาทกรรมที่ต้องเปลี่ยนเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

           หลายคนคงคุ้นชินกับคำที่ใช้เรียกขานคนจรจัด คนเร่ร่อน และคนไร้บ้าน วิวัฒนาการของคำที่ใช้เรียกผู้คนที่เพียงใช้ชีวิตแตกต่างไปจากคนทั่วไปที่มีที่พักอาศัยที่เรียกว่าบ้าน ... จากเดิมที่เรียกกันอย่างสนิทติดปากว่า คนจรจัด จนเริ่มมีการคิดวาทกรรมใหม่ เพื่อลดแรงเสียดทาน ปรับเปลี่ยนจาก คนจรจัด ที่ ใช้คำเดียวกันนี้เรียกหมาจัดจัดด้วย ?? มาเป็นคำว่า คนเร่ร่อน เพื่อให้ฟังดูเป็นผู้เป็นคนขึ้นมาอีกนิดหน่อย จนเมื่อไม่นานมานี้ คำใหม่ วาทกรรมใหม่ ก็เกิดขึ้น คนไร้บ้าน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะสะท้อนบอกว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีเท่าเทียมกัน ต่างกันก็เพียง ที่อยู่ที่กิน อิสรชนเอง พยายามมองและเรียนรู้การใช้ชีวิตของเพื่อนพ้องกลุ่มนี้ อย่างลงลึกและพยายามเข้าถึงให้มากที่สุด จนเมื่อเวลบาผ่านมากว่า 5 ปี คำหนึ่งที่เรา ตั้งใจจะเสนอเป็นวาทกรรมให้คนในสังคมเรียกขานเพื่อนพ้องที่ใช้ชีวิตนอกบ้านว่า ผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ (People living in Public Areas) แทนคำเรียกขานอื่น ๆ ที่เคยใช้มา อาจจะยาวไปหน่อย แต่ มันมีความชัดเจนแบบไม่ต้องอธิบาย อะไรเพิ่มเติม


                การประดิษฐ์วาทกรรมใหม่ อาจจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมได้ แต่อย่างน้อย ในเวลาที่ผ่านไป มุมมองที่คนทั่วไปมองไปที่ เขาเหล่านั้น ก็น่าจะเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มากกว่า การมองแบบตีตรา พิพากษาแบบที่ผ่าน ๆ มา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็ใช้โอกาสตรงนี้ เริ่มทำงานอย่างหนักหน่วงและจริงจังเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจไปพร้อม ๆ กับ การให้ความช่วยเหลือแบบยั่งยืน เพราะนับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 มาจนถึงปัจจุบันเป็นฉบับที่ 11 แล้ว สิ่งหนึ่งที่รัฐไทยล้มเหลวมาโดยตลอดเห็นจะเป็นการให้บริการแก่พลเมืองขั้นพื้นฐานที่เรียกว่ารัฐสวัสดิการ ที่โดยมากรัฐไทยจะมุ่งเน้ไปที่การสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เป็นสำคัญให้ความสำคัญกับการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ในด้านจิตใจของพลเมืองน้อยมาก แม้ว่าจะมีการปรับตัวในภายหลังแต่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจในยุคแรก ๆ ก็ยังเป็นต้นเหตุสำคัญของการก่อตัวของปัญหาสังคมในปัจจุบันอีกเป็นจำนวนไม่น้อย

                รัฐไทยเลือกที่จะจัดรัฐสวัสดิการแบบหยิบยื่นให้เปล่ามากกว่าการจัดรัฐสวัสดิการแบบมีส่วนร่วม จึงทำให้เป็นการสร้างนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และรัฐไทยเองก็ออกมากล่าวหาพลเมืองของตนเองจากผลงานที่ตนเองได้มีส่วนร่วมทำให้เกิดขึ้นไว้ในอดีต ??

ในยุคใหม่นี้ รัฐไทย และผู้เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมการพัฒนาแบบยั่งยืน ไปพร้อม ๆ กันกับ การส่งเสริมการปรับทัศนสังคม ทัศนคติเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ที่ทำงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสียใหม่ ให้มองคนอย่างเท่าเทียม มองที่ศักยภาพ ไม่ใช่มองที่ความต่างในพลังอำนาจการต่อรองเท่านั้น มิเช่นนั้น ก็ต้องมีการประดิษฐ์วาทกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อหลีกหนีทัศนคติของคนที่มองคนไม่ใช่คนอยู่ร่ำไป

ในสถานการณ์ล่าสุดของสังคมไทย ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ก็ยังถูกจัดให้อยู่ในระดับล่างสุดของการสร้างความเข้าใจของปัญหาพื้นฐานที่เขาควรจะได้รับ สะท้อนได้จากการปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยการเลือกปฏิบติอย่างรุนแรงเกินกว่าจะให้อภัยได้  ไล่รื้อไม่ให้คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ออกจากพื้นที่ คลองหลอด สนามหลวง แต่ อนุญาตให้ คนอีกกลุ่มหนึ่งเข้าใช้หลับนอนได้โดยไม่มีความผิด ?