23 พฤศจิกายน 2556

เรื่องราว 2 วัน ของผม

เขียนโดย น้องดรีม นักศึกษาฝึกงาน 

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
            วันนี้ในที่สุดก็ล่วงเลยเข้าสู่อาทิตย์ที่สองของการฝึกงาน นับได้เป็นวันที่สี่แล้วสำหรับการทำงานลงพื้นที่ภาคสนาม ก่อนที่จะเข้าเรื่องว่าวันนี้ทำอะไรมาบ้างนั้น เราจะมาใมห้รายระเอียดเกี่ยบกับผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีกกลุ่มหนึ่ง นั้นก็คือ “คนเร่ร่อน” อธิบายได้ดังนี้
            คนเร่ร่อน คือ บุคคลที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะหรือบนท้องถนนเป็นที่อยู่อาศัย มักจะอยู่ตามจุดต่าง ๆ เช่น สนามหลวง สะพานพุทธ หัวลำโพง หมอชิต สวนลุมพินี ใต้ทางด่วนหรือใต้สะพานต่างๆ สถานที่อยู่ของคนเร่ร่อนจะอิงอยู่กับแหล่งหากิน เช่น สถานีรถโดยสาร ตลาด และแหล่งท่องเที่ยวสาเหตุที่คนออกมาเร่ร่อน สาเหตุพบว่ามาจากการตกงาน ปัญหาครอบครัว ความพิการไม่สามารถดูแลตนเองได้ เร่ร่อนตามพ่อแม่และชอบใช้ชีวิตอิสระ (อ้างอิงจากหนังสือ การทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ,11)
วันนี้ทั้งวันเราเดินไปทั่วทั้งสนามหลวง และท่าพระจันทร์ จากนั้นก็นั่งเรือข้ามฟากไปที่วังหลัง ระหว่างทางที่เดินผ่านก็คอยสังเกตุหาดูเผื่อจะพบเพื่อนของเรา แต่ถ้าหากไม่เจอก็นับว่าโชคดี แสดงว่าอาจจะไม่มีผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพิ่มขึ้น หรือแค่เขาเหล่านั้นไม่ได้มาอยู่แถวนี้
            เราเดินกับพี่เลี้ยงเป็นเวลาค่อนวันจึงเดินย้อนกลับทางเดิน และขึ้นเรือข้ามฟากกลับมาที่วังหลังเพื่อจะมาดูที่ท่าพระจันทร์ และสนามหลวงอีกครั้ง ในที่สุดเราก็เจอเพื่อนของเรานั่งอยู่ประปรายที่บริเวณท่านพระจันทร์แถว ๆ ริมทางเท้า เราได้เข้าปคุยทักทายกับเขา แม้บางเพื่อนบางคนอาจจะยังกลัวที่อยู่ ๆ ก็มีคนมาคุยกับเขา แต่เราก็พยามที่จะทำความรู้จักคุ้นเคย เพื่อที่จะคุยกับเข้าได้อย่างราบรื่น แต่มันก็ต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป
            คนเดินขายหนังสือพิมพ์ ผู้ที่อาศัยอยู่โดนเดี่ยวที่สะพานควาย พี่คนนี้แกเป็นคุยที่คุยกับเราอย่างเป็นมิตรที่สุดสำหรับวันนี้ พี่แกเล่าว่า แกเที่ยวเร่ขายหนังสือพิมพ์บริเวณนี้มาเป็นเวลานานแล้วเห็นจะยี่สิบสามสิบปีได้ ตั้งแต่หนุ่ม ๆ เลยล่ะ แกได้กำไรวันละสามร้อยอาจจะมีมากกว่านั้นบ้างแต่ก็ไม่เกินสี่ร้อยบาท แกใช้ชีวิตคนเดียวในบ้านเช่า ชีวิตแกเลยไม่ต้องการอะไรมากกว่านี้ นอกจากสิ่งที่ได้ทำ การเป็นนายตัวเอง ทำเท่าไหนได้เท่านั้น นับเป็นความสุขเล็ก ๆ ของแกเอง
            งานวันนี้ดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเดินเสียมากกว่า เดินไปในหนทางของผู้ที่ต้องการจะศึกษาถึงวิถีชีวิตของผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ และนำมาเผยแพร่ให้กับสังคมได้รับฟังต่อไป

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
            วันนี้เป็นวันที่ห้าของการฝึกงานภาคสนาม และวันนี้ยังเป็นการอยู่ประจำพื้นที่รถโมบาย เริ่มการทำงานของวันเหมือนวันก่อน ๆ คือการทักทายถึงเพื่อนของเรา ทั้งผู้ที่ติดสุรา หรือ ผู้ป่วยข้างถนน และนี่คือ อีกหนึ่งกลุ่มของผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะ “ผู้ป่วยข้างถนน”
ผู้ป่วยข้างถนน คือ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่พลัดหลงออกจากบ้านมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะจนกลายสภาพเป็น “คนเร่ร่อน” ทั้งนี้ยังรวมถึง “คนเร่ร่อนไร้บ้าน” ที่มีอาการผิดปกติทางสมองหรือทางจิตด้วย (อ้างอิงจากหนังสือ การทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ,12)
       โดยรวมแล้ว เพื่อนที่เราพบเจอในแต่ละวันของการฝึกงานที่ผ่านมา ส่วนมากล้วนแต่จัดอยู่ในกลุ่มคนเหล่านี้  นับเป็นประสบการณ์อีกแบบหนึ่งที่ปกติแล้วคงจะไม่ได้พบเจอง่าย ๆ  เป็นแน่ เพราะอยู่ดี ๆ คงไม่มีคนเข้าไปคุยกับคนเมาหรือผู้ป่วยทางสมองเหล่านี้แน่ ๆ และการจะคุยให้รู้เรื่องก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เราต้องถามเขาบ่อย ๆ ในสิ่งที่เขาพูดออกมา ถามย้ำซ้ำเดิม และนำเรื่องที่เขาเล่าในแต่ละครั้งมาเทียบดูเพื่อหาเรื่องที่จริงที่สุด เราต้องไม่เบื่อและหน่ายไปก่อน กับเนื้อความที่เขาเล่าออกมาที่ส่วนมากจะเป็นน้ำมากกว่าเนื้อ มีเพียงบางส่วนที่เป็นความจริง เขาอาจจะโกหกเรา หรือแค่จำความไม่ได้ก็เท่านั้นเอง เราจึงต้องพยายามเข้าไปพูดคุยกับเขามาก ๆ หมั่นทักทายถามสารทุกข์สุกดิบ คุยเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ตลอดไปในการฝึกงานครั้งนี้ เพื่อหาความจริงที่ซ้อนอยู่ในคำลวง
          วันนี้เป็นวันที่ยังมีผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเข้ามาใช้บริการของรถโมบายอยู่ไม่ขาดสาย และวันนี้เราก็ได้เจอกับพี่กอล์ฟอีกครั้งหลังจากที่แกหายหน้าหายตาไปนาน เราถามแกว่าแกหายไปไหนมา คำตอบที่ได้รับพร้มรอยยิ้มร่าเริงของแกคือ แกก็เก็บขวดขายไปเรื่อย ไปตามพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ในสนามหลวงพร้อมเมามายไปในแต่ละวัน และวันนี้แกก็เมามาอีกเช่นเคย
        วันนี้เรายังได้เจอกับพี่เวช พี่เวชยังคงเป็นเช่นเหมือนวันก่อน ๆ ยังคงเมาเหล้า พูดจาเรื่อยเปื่อยเสียงดังพร้อมกับร้อยยิ้มเสมอ ๆ เราอาจจะต้องดุแกบ้าง ว่าทำไหมแกถึงกินเหล้าอีกแล้ว (ดุได้เฉพาะบางคนที่ดุได้ เพราะหากดูไม่ดี เราอาจจะเป็นฝ่ายที่หน้าเขียวแทน) บางครั้งก็แซวแกในเรื่องของความรักที่แกออกหัก แกมีวลีเด็ดในเรื่องนี้ที่ชอบพูดประจำคือ “ฉันรักเขา แต่เขาไม่รักฉัน แต่ฉันไม่สนใจเพราะฉันรักเขา” มันดูเป็นความรักที่ไม่ซับซ้อนอะไรเหมือนคนเมืองผู้ปกติ
         เรายังได้เจอประสบการณ์แปลกใหม่อีกอย่างคือ ผู้ป่วยข้างถนนคนหนึ่ง ตอนแรกเราก็นึกว่าแกเป็นคนปกติธรรมดา ที่เข้ามาพูดคุยอะไรด้วย แต่พอคุยไปสักพักเริ่มแปลก ๆ เพราะแกบอกว่าแกเคยเป็นมือปืนบ้างล่ะ ร้องเพลงเพราะร้องเพลงให้เราฟัง แต่ก็ร้องไม่จบเพลง และเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย พร้อมกับบอกลาว่าจะกลับ แล้วทำการเขย่ามือเราอยู่ถึงสี่ห้ารอบวนเวียนไปมาอยู่อย่างนี้ บางทีก็บอกว่า “เอ็งน่ะมันเด็กน้อยนัก กูน่ะต่อยมานับต่อนับ” ทำเอาเราหวาด ๆ อยู่เหมือนกันว่าจะโดนต่อยเอาแบบงง ๆ หรือเปล่า แต่ก็ทำใจดีสู่เสือยิ้มสู้ พูดครับ ๆ บอกแกว่าแกบอกว่าจะกลับเป็นรอบที่เท่าไหร่แล้ว พร้อมกับระวังระแวงมองมือของแกไปด้วยว่ามีทีท่าแปลก ๆ หรือเปล่าจะได้หลบทัน และภายหลังจากที่ผู้ป่วยข้างถนนคนนี้ได้เดินจากไปแล้ว พี่จ๋าแกก็บอกว่าเวลา เจอเรื่องแบบนี้ ให้ดุไปได้เลย แม้เราอาจจะกลัว แต่เราทำหน้าที่แบบนี้ก็ต้องจัดการให้อยู่หมัด เพราะเขาก็จะเกรงเราอยู่ในทีเหมือนกัน
         วันนี้ยังมีประสบกาณ์ใหม่ ๆ อีกอย่างที่เราประทับใจ คือเราได้สอนหนังสือให้กับน้องไปรท์เด็กที่ติดสอยห้อยตาแม่ผู้มาขายของที่บริเวณของหลอด และเราจึงได้รู้ว่าการสอนหนังสือนี่ก็อยากไม่ใช่เล่น เราเลยให้น้องวาดรูปอะไรก็ได้ และในขณะที่น้องสร้างสรรค์งานศิลปะ เราก็ได้เห็นแววตาที่เป็นประกาย ไม่เหมือนกับที่พบกันครั้งแรก ที่แววตาน้องดูหม่นหมอง แต่ไม่นานนักน้องก็ต้องกลับบ้าน เพราะแม่ของน้องขายของเสร็จแล้ว หลังจากนั้นเราก็ได้เจอ กุ๊ก หรือกุ๊กกู๋ ผู้ป่วยข้างถนนอีกคน
กุ๊กกู๋ เป็นผู้ป่วยที่อายุมากพอสมควร แต่สมองกลับยังเด็กนัก และก่อนหน้าที่เราจะได้มาฝึกงานที่นี่ พี่จ๋าก็บอกว่าทางมูลนธิก็ได้ช่วยกันสอนโน้นสอนนี้แกกุ๊กจนกุ๊กพอที่จะสามารถทำอะไรได้เองอยู่ในระดับหนึ่ง
กุ๊ก มาพร้อมกับเสื้อผ้าที่แปลกแหวกแนวคือใส่เสื้อผู้หญิง กับกางเกงยีนต์หลุดก้น และเป้าขาดเป็นรอยกว้าง แถมยังมีนกหวีดลายธงชาติ กับเส้นผ้าลายธงชาติอีกเช่นกัน (กุ๊กบอกว่าเห็นคนเยอะดี เลยเดินเขาไป เขาให้มา แถมยังได้ข้าวฟรี พร้อมกับเงินอีกสองหรือสามร้อยบาท อันนี้เราก็ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จเพียงใดโปรดใช้วิจารณญาณ จักรยาน อากาศยาน หรืออะไรก็ตามที่มียาน ๆ ประกอบการตัดสินใจในการอ่าน) แต่ก็ไม่ลืมที่จะหาผ้ามาผูกปิดกันกับการทำให้สายตาผู้อื่นตกใจพร้อมรอยยิ้มพรายที่ประปรายเต็มหน้าทั้งปากทั้งตา และทุกประโยคที่พูดล้วนมีคำว่าครับตามหลัง ดูไร้เดียงสา หัวเราง่าย ๆ กินอาหารจุ เหมือนกระเพราะไม่มีวันเต็ม เพราะไม่ว่าถามว่า กุ๊ก กินนี่ไหม กินนั้นไหม กุ๊กก็บอก ครับ กินครับเสมอ
         หลังจากนั้นพอถึงช่วงเย็นเราก็ได้เดินลงพื้นที่ในช่วงเย็น กับพี่นธี พี่จ๋า พี่เลี้ยง และนักศึกษาที่มาหาข้อมูลถ่ายภาพไปรายงาน (บ่อยครั้งที่มีนักศึกษามา) เมื่อเสร็จจากการเดินลงพื้นที่ กับการแจกถุงยางบ้าง ให้ยากันยุงบ้าง ก็มาจบลงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับการสรุปสิ่งที่ได้พบเจอมาในระหว่างที่ฝึกงานมาทั้งหมดห้าวันนี้
        สิ่งที่เราได้จากการพูดคุยกับพี่นธีในครั้งนี้ช่วยเปิดมุมมองของเราให้กระจ่างชัดขึ้นอีก โดยสิ่งที่เราเข้าใจมาตลอดว่า การทำงานในครั้งนี้คือมาช่วย ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะนั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งที่เราต้องทำจริง ๆ คือนำเรื่องราวของเขาเหล่านั้น ออกไปเผยแพร่แก่สาธารณะ เพื่อให้คนทั่วไปได้รับทราบว่า เขาเหล่านั้น ไม่ใช่ชนชั้นที่ไม่มีคุณค่าอะไร หากแต่มีความเท่าเทียมเสมอภาคเท่า ๆ กับเรา ๆ ท่าน ๆ ทุกประการ โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความ วีดีโอขนาดสั้น ภาพถ่าย การจัดงานสัมนา นิทรรศการภาพ ฯลฯ และในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะได้ทำกระบวนการเหล่านั้นอย่างครบถ้วนแน่นอน
        เมื่อเราคุยสรุปกันเสร็จก็มีโทรศัพท์เข้ามาหาว่ามีคนใจดีผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม บริจาคเงินเพื่อซื้อข้าวกล่อง และให้นำไปแจกจ่ายที่พาหุรัดกับอาสาอีกคนที่เป็นแม่ค้าขายข้าวราดแกงที่บริเวณคลองหลอด หรือ ป้าหน่อย ถ้าหากแวะเวียนมาแถวนี้ลองมาชิมกันได้ อาหารของแกอร่อยทุกอย่าง เราฝากท้องทุกเที่ยงเลย ฮา และเมื่อแจกจ่ายข้าวกล่องเสร็จก็เป็นอันเสร็จภาระกิจในวันนี้ของเรา
สุดท้ายสายตาเราก็กระจ่างในหน้าที่งานที่ควรจะทำ ว่าเราควรที่จะทำอะไร เพื่ออะไร และควรทำมันให้ดีที่สุดในโอกาสต่อ ๆ ไป 

21 พฤศจิกายน 2556

เริ่มเรียน

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เขียนโดย น้องดรีมนักศึกษาฝึกงาน
            วันนี้เป็นวันที่สามของการลงพื้นที่ฝึกงาน เริ่มวันที่สามด้วยการเดินทักทายถามสารทุกข์สุกดิบเพื่อนของเราที่บริเวณริมคลองหลอด พรางคุยกันถึงกันถึงผู้ที่มาใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีกกลุ่มหนึ่ง และส่วนมากคนที่ใช้ชีวิตรอบ ๆ สนามหลวงล้วนเป็นกันคือ “ผู้ติดสุรา” ผู้ติดสุราในที่นี่อธิบายได้ดังนี้
ผู้ติดสุรา คือ ผู้ที่เป็นโรคติดสุราหรือพิษสุราเรื้อรัง เป็นคำกว้างๆ ที่ใช้ในการวินิจฉัยผู้ติดสุรา ที่ทำให้เกิดปัญหาหน้าที่การงาน หรือสุขภาพ มีลักษณะการดำเนินโรคอย่างเรื้อรัง โดยมีลักษณะที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมการดื่มสุรา และมีผลเสียตามมาทั้งด้านสังคม กฎหมาย สุขภาพจิต และสุขภาพกาย โดยที่ผู้ป่วยมักไม่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ว่าเกิดจากการใช้สุรา สาเหตุที่ทำให้บุคคลเหล่านี้ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อันเนื่องมาจากครอบครัวไม่สามารถดูแล หรือบางครอบครัวไม่สามารถรับได้กับการมีพฤติกรรมดื่มสุราเป็นประจำ อีกส่วนหนึ่งคือ บุคคลเหล่านี้พอมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ แล้วดื่มสุรามาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกและทำให้เพิ่มความต้องการ แม้ว่าจะเกิดผลเสียมากมาย เป็นการเสพติดทางใจ และการเสพติดทางร่างกาย ทำให้เกิดการถอนสุราหรือไม่สบายหากไม่ได้ดื่ม (อ้างอิงจากหนังสือ การทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ,11)
หลังจากนั้นไม่นาน รถโมบาย ของมูลนิธิอิสรชนก็ขับมาถึง รถโมบายจะลงพื้นที่จอดประจำบริเวณสะพานข้ามคลองหลอดทุกวันอังคารกับวันศุกร์ มีพี่นธีกับพี่จ๋าประจำรถโมบาย โดยรถโมบายจะทำหน้าที่บริการน้ำดื่ม แจกถุงยาง ให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจ และให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนของเรา รถโมบายจะมาถึงคลองหลอดเวลาประมาณบ่ายโมงเป็นต้นไปถึงเวลาห้าโมงเย็น
จากนั้นเราก็ได้คุยถึงเรื่องรายระเอียดของงานที่จะได้ทำในอาทิตย์ต่อไป และวางตารางงานต่าง ๆ รวมถึงการลงพื้นที่ในครั้งต่อ ๆ ไปที่จะได้ออกไปนอกพื้นที่สนามหลวง สถานที่ที่ว่านี้ได้แก่ ศิริราช สวนจตุจักร หมอชิต สะพานควาย พาต้า เซนทรัลปิ่นเกล้า สถานนีขนส่งสายใต้ บางกอกน้อย และอาจจะมีเพิ่มอีก รวมทั้งวันที่ 13 14 เราอาจจะต้องไปอบรมความรู้เพิ่มเติมไปอีก
พอเราคุยกันถึงรายระเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งวางแผนงานเสร็จเรียบร้อย เราก็เริ่มทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่งของมูลนิธิ คือ การเดินแจกถุงยางให้แก่ Sex worker เราเดินจากคลองหลอดไปถึงบริเวณถนนราชดำเนินแล้วก็กลับมา ตอนแรกกะว่าจะพูดคุยกับพนักงานบริการไปด้วย แต่เหมือนกับว่าเวลาทำงานของพนักงานบริการเขาจะไม่คุยด้วยกับเรา เราจึงทำได้แค่เดินแจกถุงยางไปเท่านั้นเอง และเมื่อเราเดินแจกจนหมดแล้วเราก็เดินกลับมาประจำอยู่ที่รถโมบายเพื่อเฝ้าสังเกตเพื่อนของเราที่เดินผ่านไปผ่านมาหรือให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนของเรา อาทิเช่น การทำแผล เป็นต้น และหลังจากนั้นไม่นานเราก็ได้ทำความรู้จักกับเพื่อนคนใหม่ พี่เครานั้นเอง
พี่เครา แกเกิดที่เพชรบุรี เรียนหนังสือจบ มส.5 หรือม.5 ในปัจจุบัน (แต่สมั่ยนั้นยังไม่มีม.6 แต่มีป.7) และต่อปวช. แต่เรียนไม่จบ แกเลยบอกพ่อว่าอยากเป็นครูตชด. แล้วก็หาวิธีสอบเข้าแต่สุดท้ายด้วยการศึกษาข้อมูลที่ไม่ดีของแกเอง เลยทำให้แกสอบครูไม่ได้ จนในที่สุดแกทนไม่ไหว เลยบอกพ่อของแกเองว่าขอออกมาใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯ ก็แล้วกันช่วงนั้นแกอายุ 28 ปี พ่อแกก็บอกว่าได้ แต่ขอให้แกทำงานที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายเป็นพอ
หลังจากนั้นแกก็มาใช้ชีวิตที่เมืองหลวง ทำงานทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ อาทิเช่น ทำเครื่องกลึงไม้ ทำรองเท้าหนัง และอีกหลายอย่างตามแต่ที่แกจะทำได้ แต่ในบางครั้งบางงานแกก็ถูกโกง หักหลังบ้าง จากเพื่อนบ้าง คนรักบ้างทำให้แกเสียทั้งเงินเสียทั้งความไว้ใจต่อใคร ในที่สุดแกก็เริ่มที่จะหันหน้าพึ่งเหล้า และกลายเป็นคนติดเหล้าไปในที่สุด
แต่ตอนนี้แกบอกว่าแกมีความฝัน ที่อยากจะเก็บเงินซื้อรถซาเล้งขนของสักคันเพื่อที่จะขนของขนขนมมาขายที่คลองหลอด แกจึงเลิกเหล้า เราก็ได้แต่เฝ้ามองแกต่อไป และดูว่าแกจะพยายามเลิกเหล้าได้หรือไม่ เพราะถ้าหากแกมีความพยายามที่มากพอจนปรับปรุงตัวเองได้ ทางมูลนิธิอิสรชนก็จะได้ช่วยเหลือแก ด้วยการให้เงินแกไปลงทุนในส่วนหนึ่งเพิ่มเติมจากส่วนที่แกเก็บหอมรอมริบได้จากการเก็บขวดขาย และแน่นอน นั้นย่อมเป็นหลังจากที่แกเลิกเหล้าได้แล้ว
วันนี้เรายังได้เดินรอบสนามหลวงกับพี่เลี้ยงของเรา เพื่อพบป่ะกับเพื่อนใหม่ ๆ และเข้าไปทักทายทำความรู้จักกับเขาเหล่านั้น โดยอาจมี ยากันยุงแบบซองไปฝากบ้าง หรืออาจเป็นถุงยางหากเพื่อนของเราต้องการ และในตอนค่ำพี่นธีกับพี่จ๋ายังพาเราเดินเข้าไปในตรอกสาเก ที่ที่เหล่าพนักงานบริการ จะใช้เป็นที่ทำงาน เพื่อนเดินเข้าไปแจกถุงยาง และสำรวจข้อมูลไปด้วย แต่เนื่องจากเราเข้ากันไปตอนหัวค่ำ จึงยังไม่พบพนักงานบริการมากนักมีเพียงสองถึงสามคนได้ พวกเราจึงได้ออกมา และสิ้นสุดการปฎิบัติงานในวันนี้
จากที่เราได้คุยกับพี่เครา ทำให้เราได้เห็นว่าจุดเปลี่ยนของคนเรา อาจมาจากการที่ถูกกระทำโดยคนรอบข้าง หรือคนที่ไว้ใจ จนทำให้สภาพจิตใจไม่เข็มแข็งพอต้องหันหน้าไปพึ่งของจำพวกสารเสพติด อาทิ เหล้า หรืออะไรทำนองนั้น ทำให้ในท้ายที่สุดผลลัพธ์ก็ออกมาย่ำแย่ยากที่จะหวนคือสู่วิธีชีวิตดั้งเดิม เราอยากเห็นพี่เคราแกกลับตัวกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมอีกครั้ง แต่ก็นั้นแหล่ะเราคงทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากเข้ามาพูดคุยให้กำลังใจ และเรียนรู้จากพี่เครา จากนั้นที่เหลือคงทำได้เพียงเฝ้ามองแกเดินหน้าต่อไป ไปสู่ที่ที่แกอยากจะไปอยู่ในจุดจุดนั้น


16 พฤศจิกายน 2556

ความชัดเจน

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
         วันนี้เป็นวันที่สองของการลงพื้นที่ฝึกงาน วันนี้เราตกลงกับพี่เลี้ยงเราว่าจะเดินไปที่ถนนราชดำเนิน พร้อมคุยกันถึงเรื่องลักษณะของผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะว่าแบ่งออกได้กี่ประเภทรวมความได้ทั้งสิ้น 13 ประเภท แต่ในวันนี้นั้นเราคุยเจาะจงลงไปแค่บุคคลที่เป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่มีอาชีพเป็นพนักงานบริการเพื่อคลายความเครียตให้กับผู้อื่น หรือนั้นคือ Sex worker
          Sex worker หรือ พนักงานบริการ คือ บุคคลที่หาเลี้ยงชีพตัวเองด้วยการบริการทางเพศ ให้บริการทางด้านอารมณ์ จิตใจ โดยแลกกับค่าตอบแทน การเป็นพนักงานบริการอาจเนื่องมาจากเหตุหลายประการ เป็นต้นว่าความยากจนของครอบครัว ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจประการอื่น การขาดความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่ การไม่เป็นที่รักและยอมรับของใคร ๆ การได้เห็นตัวอย่างในเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ไม่ดีมาแต่เยาว์วัย ความผิดปรกติทางจิตใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี โดยมักยืนตามที่สาธารณะ ตามริมถนน บางคนเป็นทั้งคนเร่ร่อนและพนักงานบริการ (อ้างอิงจากหนังสือ การทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ,12)
Sex worker มีช่วงอายุตั้งแต่ 11 – 80 ปี แบ่งได้สองช่วงคือ 1. ช่วงอายุ 11 – 29 นับเป็นช่วงสาวรุ่น 2. ช่วงอายุ 30 – 80 นับเป็นช่วงผู้สูงอายุ แบ่งการจัดพื้นที่การยืนอยู่รอบสนามหลวงอย่างเป็นระเบียบจะไม่มีการล้ำเส้นข้ามพื้นที่กันโดยเด็ดขาด และยังรวมไปถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางด้านเพศที่บ้างคนก็มีอาชีพเป็นผู้บริการด้วย ในส่วนรายระเอียดปลีกย่อยที่มากกว่านี้เราขอไม่เอ่ยถึง
         เราได้รู้ถึงวิธีการสังเกตว่ามีวิธีการสังเกตที่กลิ่น เพราะเหล่าพนักงานบริการ จะใช้น้ำหอมกลิ่นเฉพาะ แต่มันกลับทำให้เราต้องหนักใจเนื่องจากเรามีปัญหาทางการรับรู้กลิ่น แยกประเภทกลิ่นไม่ค่อยจะถูก ถ้ากลิ่นไม่ฉุนติดฉมูกจริงแทบจะไม่รู้สึกเลย แต่ไม่เป็นไร เราคงต้องหาวิธีสังเกตอื่นแทน
ส่วนมากแล้วเหล่าพนักงานบริการมักจะไม่เปิดเผยตัวเอง อาจต้องใช้เวลาในการพูดคุยทำความรู้จักเป็นปีเราถึงจะทราบได้ เราจึงต้องใช้วิธีการสังเกตข้างต้นแทน และในบางคนที่มาเป็นพนักงานบริการอาจเป็นผู้ที่มีปัญหาทางจิตรวมอยู่ด้วย หรือเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะไปในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะหนึ่งคนอาจถูกจัดไว้ได้หลายประเภทด้วยกัน
         หลังจากที่เรานั่งคุยกันถึงเรื่องพนักงานบริการไปได้สักพักแล้วตกลงว่าจะลงพื้นที่ไปคุยกับเหล่าเพื่อนของเราต่อ ก็ได้เกิดเหตุที่มีผู้ชุมนุมเดินขบวนมาทางถนนราชดำเนิน ทำให้การที่เราจะไปคุยกับเพื่อนของเราเริ่มยากขึ้น เพราะเหล่าเพื่อนของเหล่าไม่ชอบคนเยอะ บางคนอาจหนีหายไปแถวอื่น หรือบางคนอาจไปร่วมอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย เราจึงเดินกลับมาที่สนามหลวงบริเวณคลองหลอดพร้อมกับผู้ชุมนุมที่มีมากมาย และเราก็ได้เจอกับเพื่อนของเรา
         เราได้เจอกับพี่เวชแกเป็นผู้ติดสุรา แกเกิดที่กาญจนบุรี แกเป็นคนภูเขา และในขณะที่คุยกันอยู่ พี่เฉลิมก็เดินมา
          พี่เฉลิม คนเดิมผู้มาจากลำปาง วันนี้แกบอกว่าอยากจะทำบัตรประชาชนใหม่เพราะบัตรเก่าหายไป พี่เลี้ยงเราบอกว่าแกต้องกลับไปที่ภูมิลำเนาเดิมจึงจะสามารถทำบัตรใหม่ได้ แกได้ยินดังนั้นก็บอกว่าไม่อยากกลับไป แล้วแกก็ใช้เราไปซื้อน้ำมาให้หน่อยเนื่องจากขาแกเจ็บเดินข้ามถนนไปอีกฝั่งหนึ่งของคลองหลอดที่มีร้านขายของ 24 ชั่วโมงไม่ไหว เราเลยรับเงินจากแกมาแล้ววิ่งไปซื้อให้แต่พอกลับมาพี่เวชก็หายตัวไปซะแล้ว หลังจากนั้นเราก็คุยถามสารทุกข์สุกดิบกับพี่เวชแล้วขอตัวจากมาปล่อยให้แกไปหาที่พักผ่อนของตัวเอง
เรากับพี่เลี้ยงเดินไปเรื่อย ๆ ก็ไปเจอกับ ลุงคำไข หรือ ลุงไข ลุงไขแกมาจากสุริน อายุ 55 20 พฤศจิกายน นี้ก็ 56 ลูกเมียแกตายหมดแล้ว แกมาอยู่ที่นี่ได้ 4 – 5 เดือน ตอนแรกแกมาอยู่ที่หมอชิตแล้วไปอยู่แถวถนนราชดำเนิน แต่ถูกขโมยกระเป๋าไป ดีที่แกเก็บเงินไว้ที่กระเป๋ากางเกงเงินจึงไม่หายไปด้วย หลังจากนั้นแกก็มาอยู่แถวคลองหลอดสนามหลวงแทน แกยังบอกอีกว่าแกเคยไปอยู่ สถานสงเคราะห์แล้ว แต่มันไม่มีอิสระจะทำอะไรก็ต้องมีกฎ แกเลยมาอยู่ที่นี่แทนดีกว่า
         หลังจากที่เราได้คุยทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ เราพอจะจับจุดได้นิดหน่อยว่า เขาเหล่านี้ ล้วนต้องการเพียงแค่ อิสระ อิสระที่จะได้ทำตามใจตัวเองโดยที่ไม่ต้องถูกใครมาบังคับให้ทำอะไรก็ตามที่ตนเองไม่ชอบ แต่มันก็เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยที่เราเริ่มจะเห็น มันคงยังต้องใช้เวลาอีกมาก ในการเปิดมุมมองของเราให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม

เขียนโดย  น้องดรีม นักศึกษาฝึกงาน

9 พฤศจิกายน 2556

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมอาสายุวกาชาดด้านการปฐมพยาบาล


    วันนี้จะมาเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ไปอบรมอาสายุวกาชาดด้านการปฐมพยาบาลที่ค่าย ผิน แจ่มวิชาสอน เพรช     เกษม 102 3 วัน 2 คืน ระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน
ในตอนแรกตัวฉันเองก็ไม่รู้ว่ามาที่นี้เค้าจะสอนอะไรเราบ้างในวันแรกก็รู้สึกเกร็งนิดๆต่างสถาบันต่างโรงเรียนได้มาอบรมด้วยกันฉันจับได้สีแดงในกลุ่มสีแดงก็มีเพื่อนต่างโรงเรียนปนๆกันไปตอนแรกก็ไม่กล้าที่จะคุยที่จะทักแต่พอนานๆไปฉันรู้สึกว่าเราสามารถเข้ากับคนอื่นได้และสามารถอยู่ตัวคนเดียวได้โดยที่ไม่มีใครมิตรภาพระหว่างเราและเพื่อนต่างโรงเรียนก็ได้เกิดขึ้นสิ่งที่วิทยากรได้สอนฉันก็มี 6 วิชา
วิชาที่ 1 สิ่งที่ฉันและเพื่อนๆได้เรียนรู้ก็คือ หลักการปฐมพยาบาล การประเมินอาการผู้บาดเจ็บ
วิชาที่ 2 ได้เรียนเกี่ยวกับบาดแผล แผลไหม้ การห้ามเลือด การใช้ผ้าพันแผล การจัดเตรียมชุดปฐมพยาบาล
ส่วนวิชาที่ 3และ4 คือ วิชาการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การทำ CPR ในเด็กอายุ 1-8ปี และเด็กทารกได้ 1เดือน - 1ปี และวิชา การสำลักสิ่งแปลกปลอมอุดอันตันหลอดลม
วิชาที่ 5 และ 6 คือ วิชาการบาดเจ็บของกระดูกและข้อ,การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ และ วิชาสุดท้ายที่ฉันได้เรียนก็คือวิชา ภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน การเป็น ลม ช๊อก ชักและหมดสติ , สารพิษจากสัตว์
    ซึ่งในตลอดทั้ง3วันนี้ัฉันได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการเรียนปฐมพยาบาลเยอะมากและคิดว่าฉันจะสามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้และที่ไม่ลืมอีกอย่างนึงคือมิตรภาพที่ดีจากเพื่อนๆน้องๆที่มาจากต่างโรงเรียนฉันดีใจที่ได้เข้าอบรมในครั้งนี้ :) 

แรกสบตา

ผู้เขียน น้องดรีม นักศึกษาฝึกงาน

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
        วันแรกของการฝึกงาน การลงพื้นที่ครั้งแรกที่สนามหลวงในฐานะนักศึกษาฝึกงานของ “มูลนิธิอิสรชน” ได้พบ และพูดคุยกับผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ทำให้ได้รู้ถึงอะไรหลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น เหล่าคนที่ใช้ชีวิตหลับนอนรอบสนามหลวงนั้น 90 % เป็นผู้ที่มีอาการติดแอลกอฮอล์ และอีก 10 % กินบ้างไม่กินบ้างตามแต่โอกาศ คนเหล่านี้ล้วนหนีจากบางสิ่งบางอย่าง หรืออาจมีปัญหาที่ติดพันทำให้ไม่สามารถที่จะหวนกลับบ้านได้ เขาเหล่านี้จึงต้องเดินทางอยู่ตลอดเวลา และในบางคนการเดินทางสิ้นสุดที่ท้องสนามหลวง อาจเป็นเพราะที่นี้ไม่มีคนที่เขารู้จัก หรือรู้จักเขามาก่อน มันทำให้เขารู้สึกได้ถึงอิสระที่เขาไม่มีเมื่อครั้งในอดีต
วันนี้เราได้พูดคุยทำความรู้จักกับผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ที่ท้องสนามหลวง เราเรียกเขาว่า “เพื่อน” เพราะเราทุกคนล้วนเท่าเทียม และเป็นเพื่อนกัน
         ยายชนา ยายชนาแก่มาจากต่างถิ่นเดินทางจากบ้านมาใช้ชีวิตที่ท้องสนามหลวง พี่เลี้ยงที่คอยชี้แนะเราบอกว่าแกเคยลั่นวาจาเอาไว้ว่าแกจะตายที่นี่ แต่เราไม่อยากให้มันเป็นเช่นนั้นเลย 
พี่เฉลิม พี่เฉลิมแกมาจากลำปาง แกบอกว่าแกอยู่ที่บ้านแล้วไม่สบายใจเนื่องจากโดนดูถูกจากแฟนสาวของน้องชาย เพราะแกไม่สามารถช่วยงานที่บ้านได้ แกเลยหนีจากบ้านที่เป็นมรดกตกทอด บ้านที่แกสมควรที่จะได้อยู่โดยชอบธรรม แกบอกว่าแกมาที่นี่แกสบายใจ อาจจะไม่สบายกายนักที่ต้องตากแดดตากฝน กินอิ่มบ้างอดบ้าง แต่มันก็ไม่ได้ทำให้แกทุกข์ใจ เราถามแกไปว่าแล้วที่บ้านไม่เป็นห่วงบ้างเหรอที่แกออกมาใช้ชีวิตอยู่แบบนี้ พี่ชนาแกก็บอกว่า ตอนที่ออกมาจากบ้าน น้องชายแกก็ร้องห่มร้องไห้ไม่อยากให้แกมา แต่แกตัดสินใจอย่างเด็จขาดแล้วว่าจะมา เพราะแกไม่สบายใจที่ต้องอยู่เป็นภาระให้กับน้องชายของแก
          พี่กอล์ฟ พี่กอล์ฟแกจากบ้านมาเพราะมีปัญหาในเรื่องของความสัมพันธ์กับภรรยาที่มีมือที่สามมาเกี่ยวข้อง และแกยังติดแอลกอฮอล์ เพราะในขณะที่เราพูดคุยกัน แกก็จิบน้ำสีขาว ๆ กลิ่นฉุนจมูกไปด้วย แกทำงานหาเงินโดยการเก็บขวดขาย แต่เพราะแอลกอฮอล์ทำให้บางครั้งสิ่งที่แกหามาได้ไม่ว่าจะเป็นรถสามล้อที่ซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรง เมื่อแกเมามันก็มหลายหายไป สุดท้ายแกก็ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แล้วในบางทีที่เมาแกก็มีเรื่อง หลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในเรื่องนี้คือบาดแผลที่โดนของมีคมบริเวณแขนซ้ายช่วงบน หน้าอกซ้ายบริเวณหัวใจ และอีกหลายแห่งประปรายทั่วร่างกายโชคดีที่ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตแม้บาดแผลจะดูน่ากลัวมาก เราจึงต้องล้างแผลให้แก และคุยไปด้วยในขณะเดียวกัน
         สิ่งที่เราได้พบเจอในวันแรกของการฝึกงาน ในวันแรกของการลงภาคสนามมันทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง ได้พบเจอสิ่งที่ถ้าไม่ลงมาสัมผัสด้วยตัวเองจะไม่มีวันได้เข้าใจเลยเป็นอันขาด
เราทุกคนต่างมีปัญหา คนบางคนแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ หากทว่า คนทุกคนควรมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตในสังคมได้ไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะ เขาก็คน เราก็คน เราเท่ากัน เราหวังว่าเราจะได้เรียนรู้จากการฝึกงานครั้งนี้ จากเพื่อน ๆ ทีเราจะได้พบเจอในโอกาศต่อ ๆ ไปมากยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อเปิดมุมมองของเราให้แจ่มใสชัดเจน และกว้างขึ้นกว่าเดิม

3 พฤศจิกายน 2556

Homeless All (+เพลย์ลิสต์)


คุณกับเขาเราเท่ากัน อยู่กันอย่างเข้าใจเห็นใจ
The road to friendship,sharing,and opportunity.
เส้นทางแห่ง มิตรภาพ การแบ่งปัน และโอกาส

http://www.youtube.com/v/Fx0ZeEwYBag?list=UUVy-ZlNRyAuCejRSaXj-diA&version=3&attribution_tag=_PMSy9HiMezuFplJcmr2aA&autohide=1&showinfo=1&feature=share&autoplay=1

Homeless 4 (+เพลย์ลิสต์)

คุณกับเขาเราเท่ากัน อยู่กันอย่างเข้าใจเห็นใจ
The road to friendship,sharing,and opportunity.
เส้นทางแห่ง มิตรภาพ การแบ่งปัน และโอกาส


http://www.youtube.com/v/pdtgtHR2GI0?version=3&list=UUVy-ZlNRyAuCejRSaXj-diA&autohide=1&feature=share&autoplay=1&showinfo=1&attribution_tag=JPbvTRv8ok9nxxxr7E4dBw

Homeless 3 (+เพลย์ลิสต์)

คุณกับเขาเราเท่ากัน อยู่กันอย่างเข้าใจเห็นใจ
The road to friendship,sharing,and opportunity.
เส้นทางแห่ง มิตรภาพ การแบ่งปัน และโอกาส


http://www.youtube.com/v/YEs7mWveaqA?version=3&list=UUVy-ZlNRyAuCejRSaXj-diA&feature=share&showinfo=1&autohide=1&attribution_tag=8w203JwqmoLoFaBjZhhT_g&autoplay=1

Homeless 2 (+เพลย์ลิสต์)

http://www.youtube.com/v/Wgzf4D115ak?version=3&list=UUVy-ZlNRyAuCejRSaXj-diA&autohide=1&feature=share&showinfo=1&autoplay=1&attribution_tag=csYXmWKuL9zo1xCB8ZXOAg

คุณกับเขาเราเท่ากัน อยู่กันอย่างเข้าใจเห็นใจ
The road to friendship,sharing,and opportunity.
เส้นทางแห่ง มิตรภาพ การแบ่งปัน และโอกาส

Homeless 1 (+เพลย์ลิสต์)

คุณกับเขาเราเท่ากัน อยู่กันอย่างเข้าใจเห็นใจ
The road to friendship,sharing,and opportunity.
เส้นทางแห่ง มิตรภาพ การแบ่งปัน และโอกาส


http://www.youtube.com/v/XXKw8YW5Hts?list=UUVy-ZlNRyAuCejRSaXj-diA&version=3&attribution_tag=9BZHHf-l2IoZZBCG0XebVg&showinfo=1&autohide=1&feature=share&autoplay=1

มิตรภาพข้างถนน


สมัย..นิยม ผู้เขียน
พูดถึงคำว่า มิตรภาพ หมายถึง มิตรภาพในความเป็นเพื่อนและความเห็นที่คล้ายคลึงกันจะเป็นพื้นฐานของมิตรภาพ 
ฉันได้มีโอกาสได้รู้จักกับเพื่อนคนนึงที่เค้าอยู่ข้างถนน เค้าชื่อ ตุ๊ก ชายหนุ่มที่ใส่เสื้อผ้าหลายตัว ใส่หมวกกันฝน ใส่เสื้อกันหนาวตัวหนาๆ มีกระเป๋าใส่เสื้อผ้าหลายใบ ครั้งแรกฉันได้เจอกับตุ๊กที่สนามหลวงเห็นตุ๊กกำลังยืนสงบนิ่งอยู่กลางสนามหลวงเลยเดินเข้าไปทักทายตอนแรกตุ๊กก็ยังกล้าๆกลัวอยู่ซึ่งเราก็เข้าใจกับการทักทายครั้งแรกตุ๊กอาจจะยังไม่คุ้นชินที่มีคนมาทักทายเค้าและสนใจเค้าหลังจากนั้นฉันก็ได้มีโอกาสไปทักทายตุ๊กทุกวัน ได้เอาขนมติดมือไปฝากได้นั่งกินขนมกับตุ๊ก  มิตรภาพระหว่างความเป็นเพื่อนระหว่างตุ๊กกับฉันก็ได้เกิดขึ้น เรื่องราวที่วนเวียนในหัวของตุ๊ก ตุ๊กเล่าให้ฟังว่าเค้าชอบเล่นกีฬาหลายชนิดและเคยได้เหรียญทองโอลิมปิกแล้วเค้าก็กำลังรอพี่หนุ่ยและเพื่อนนักกีฬาด้วยกันที่จะพาเค้าไปแข่งกีฬาที่โอลิมปิก ตุ๊กยังบอกอีกว่าเค้าเคยฮ.ตกที่ค่ายแห่งหนึ่ง ทุกครั้งที่ฉันจะลุกเดินกลับ ตุ๊กจะพูดกับฉันเสมอว่า ' อย่าลืมนะผมรออยู่ที่เดิม ' มันทำให้ฉันได้คิดว่าตุ๊กกำลังรอใครสักคนนึงอยู่รึป่าว และนี้คือเรื่องราวของมิตรภาพที่ดีของฉันที่อยากจะให้ทุกคนได้อ่าน :) 

26 ตุลาคม 2556

คุณเห็นเค้ามั้ย

ในสังคมที่มีแต่ความวุ่นวายแย่งชิงดีชิงเด่นกันและในยุคของทุนนิยมที่เทคโนโลยีทันสมัยเจริญก้าวหน้า ยังมีคนอีกกลุ่มนึงที่ถูกสังคมตีตราว่าพวกเค้าเป็นคนที่สกปรกน่ารังเกียจซึ่งคนในสังคมเรียกพวกเค้าว่าคนเร่ร่อนคุณเคยเห็นและรับรู้ไหมว่ายังมีพวกเค้าอยู่ในสังคมคำว่า ' คุณเห็นเค้ามั้ย ? "  หมายความว่า คุณเห็นเค้ารึเปล่าที่นอนอยู่ตามข้างถนน หรือนอนอยู่ใต้สะพาน คุณเคยคิดที่จะช่วยหรือแบ่งปันพวกเขาบ้างรึเปล่า พวกเขาไม่ได้ขอให้ใครมาสงสารหรือเห็นใจพวกเขาแต่อยากให้เห็นว่า ' เขาก็เท่ากับคุณ ' ที่นี้อิสรชนใช้คำเรียกพวกเขาว่า ' เพื่อน ' เพราะเราเป็นเพื่อนกันมีอะไรก็แบ่งปันกัน อยากให้สังคมลองปรับทัศนคติต่อพวกเขาเหล่านี้ใหม่ ลองเปิดใจและลองแบ่งปันโอกาสให้กับเพื่อนในสังคมแค่นี้สังคมเราก็จะน่าอยู่มากขึ้น


16 ตุลาคม 2556

SW201 มูลนิธิอิสรชน



น้อง ๆ นักศึกษา สังคมสงเคราะห์ ธรรมศาสตร์ มาทำรายงาน

12 ตุลาคม 2556

โรงเรียนข้างถนนกับเรียนรู้ชีวิตคนเร่ร่อน

สัปดาห์ที่ 2แล้วของฉันที่ได้ลงพื้นที่พูดคุยเรียนรู้ชีวิตของคนเร่ร่อน ฉันได้เข้าไปพูดคุยกับพี่เคราที่ใช้ชีวิตที่คลองหลอดสนามหลวงมานานเกือบ 10 กว่าปี ' พี่เคราเล่าว่าการดำรงชีวิตอยู่หรือการใช้ชีวิตของคนที่นี้ ก่อยู่แบบง่ายๆ ไม่ได้เลือกกิน หิวก่ไปขอข้าววัด หรือไม่ก่หาของเก่าหรือเก็บขวดขายเพื่อที่จะได้เอาเงินมาซื้อข้าวกิน แต่ถ้าหากวันไหนไม่มีก่หาตามถังขยะกินเพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอดในวันต่อไป ส่วนการนอนพี่เคราเล่าว่า ' บางทีก่ไปอาศัยนอนอยู่ป้อมตำรวจเพราะว่ามันทำให้รู้สึกปลอดภัยอีกทั้งก่เฝ้าป้อมตำรวจเอาไว้ด้วย หรือดัดแปลงจากแพงเหล็กที่กั้นนำเชือกมาผูกทำเป็นที่นอนส่วนตัวและนำผ้าใบมากางไว้ข้างบนเพื่อเป็นการป้องกันฝนเวลาฝนตกก่จะได้ไม่เปียก เคยมีคำถามจากพี่จะจ๋าว่า ถ้าหากกรุงเทพเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ เกิดสึนามิ เราจะเอาตัวรอดได้ไหม คำตอบฉันของฉันคือ คิดว่าต้องตายแน่ๆ แต่พี่จะจ๋าก่บอกว่ารู้มั้ยคนที่จะอยู่รอดก่คือคนเขาเหล่านี้ละเพราะพวกเขาไม่ได้เลือกกินไม่ได้เลือกอยู่ โรงเรียนข้างถนนแห่งนี้ได้สอนให้ฉันรู้กับการใช้ชีวิตของคนเร่ร่อนที่ถึงแม้ว่าพวกเค้าจะไม่ได้มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายกว่าพวกเราแต่พวกเขาก่อยู่ได้และยังสอนมิตรภาพในความเป็นเพื่อนให้กับฉันอีกด้วย :) 

10 ตุลาคม 2556

ข้อเสนอและขั้นตอนการทำงานให้การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

มูลนิธิอิสรชน และ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เคยเสนอรูปแบบและขั้นตอนการทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไปแล้วได้แก่
  1. การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
  2. การสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น
  3. การคุยกลุ่มย่อยในพื้นที่
  4. การคุยกลุ่มย่อยนอกพื้นที่
  5. การทำประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็นในพื้นที่
  6. การให้บริการพื้นฐานเฉพาะหน้า
  7. การออกหน่วยให้คำปรึกษาแบบเคลื่อนที่เร็ว
  8. การตั้งหน่วยบริการให้คำปรึกษาแบบประจำจุด


โดยที่ทั้ง 8 ขั้นตอนในการทำงานหัวใจสำคัญอยู่ที่การเป็นคนช่างสังเกต มองเห็น ด้วยความสงสัยใคร่รู้ เพื่อนำไปสู่การแสวงหาคำตอบที่จะเป็นหนทางในการให้การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้อย่างถูกต้องตรงความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายและสภาพปัญหาที่แต่ละคนเผชิญ

อนึ่งภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในระดับแรกต้องใช้ภาษากายก่อน ด้วยการส่งสายตาและรอยยิ้มรวมถึงท่าทีที่เป็นมิตร จากนั้นจึงใช้คำทักทายที่เป็นกันเองภาษาง่าย ๆ ถ้าสามารถสื่อสารภาษษท้องถิ่นเดียวกันกับเขาได้จะยิ่งเป็นการกระชับเวลาในการสร้างความคุ้นเคยได้เร็วขึ้น

ทุกครั้งที่เข้าพื้นที่เพื่อทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม คือ กระเป๋า ย่าม หรือเป้สะพาย ที่ภายในนั้นจะมีอุปกรณ์การทำงานในเบื้องต้นได้แก่ ยาสามัญประจำบ้าน และชุดปฐมพยาบาล รวมไปถึง ขนม ถุงยางอนามัย ยาทากันยุง หนังสือการ์ตูนหรือหนังสืออ่านเล่น บางครั้งอาจจะมีเกมแบบพกพา เพื่อนำไปใช้ในระหว่างการสนทนาพูดคุยเก็บข้อมูลเบื้องต้น

ความรวดเร็วและความไวต่อปฏิกิริยารอบข้างรอบตัวในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ปฏิบัติงานต้องตั้งใจฟังการพูดคุยของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพื่อเก็บประเด็นสนทนาที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในแต่ละราย โดยเฉพาะข้อมูลจำเพาะส่วนตัว หรือข้อมูลที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือในกรณีส่งกลับครอบครัว ชุมชน ที่เขาจากมา

ประการสำคัญที่สุดของการทำงานภาคสนามกับ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คือ การรักษาความลับของเจ้าของข้อมูล การเปิดเผยจะสามารถทำได้ในกรณีเดียวคือการประชุมคณะทำงานเพื่อแสวงหาทางเลือกในการให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณี หรือการส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนต่อไป 






ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ : พัฒนาการการทำงาน


             
 เมื่อพูดถึงผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเชื่อว่าหลายคนยังไม่คุ้นชินกับคำ ๆ นี้ เพราะส่วนมากยังหลงวนอยู่ในวาทกรรม คนเร่ร่อน”  “คนไร้บ้านหรือแม้กระทั่งยังติดบ่วงคำว่า คนจรจัดอยู่ด้วยซ้ำไป ทั้งที่ในความเป็นจริงยังมีหลากหลายชีวิตที่อยู่ในที่สาธารณะ ทั้งที่โลดแล่นอยู่ด้วยนิยามความหมายที่ว่า โดยสมัครใจหรือ รักอิสระทั้งหมดนั่นเป็นเพียง การให้นิยามที่ตัดความรำคาญเมื่อถูกรุกไล่เพื่อซักถามจาก คนนอกมากจนเกินความพอดีที่จะอดทนสนทนาอยู่ได้.....
               จากการคลุกคลีในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในที่สาธารณะ ทำให้ค้นพบความหลากหลายของสรรพชีวิตในที่สาธารณะจนจำแนกแยกแยะออกมาได้ 10 กลุ่ม เมื่อราวปลายปี 2553ซึ่งได้แก่ คนเร่ร่อน ,ผู้ติดสุรา ,คนที่ใช้ที่สาธารณะในการหลับนอน ,ผู้ป่วยข้างถนน ,คนจนเมือง ,คนไร้บ้าน ,เด็กเร่ร่อนและครอบครัวเร่ร่อน ,คนเร่ร่อนไร้บ้าน ,พนักงานบริการอิสระ และผู้พ้นโทษ และจากากรทำงานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ เราพบว่ายังคนอีกอย่างน้อย 3 กลุ่มอยู่ในพื้นที่สาธารณะทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ,เพื่อนบ้านแถบอาเซียน และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
ประเด็นที่น่าสนใจกับสถานการณ์ดังกล่าวคือ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา หน่วยงานภาครัฐเริ่มปรับตัวในการให้บริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีการระบุในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก ที่ระบุให้รัฐต้องมีนโยบายในการดูแลกลุ่มคนที่ยากไร้ไร้ที่พึ่งไม่มีอาชีพและที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงออกแบบการให้บริการพลเมืองในกลุ่มที่ตกหล่นจากการรับสวัสดิการของรัฐในรูปแบบของ ศูนย์คนไร้บ้านที่ต่อมา ได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการ เน้นการทำงานทั้ง รุกและรับ อีกทั้งยังมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่หลากหลายมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค ภายใต้ชื่อ บ้านมิตรไมตรี

บ้านมิตรไมตรี ในระยะเริ่มแรกเปิดเพียง 4 บ้านในระยะแรก และเพิ่มเติมเป็น 5 บ้านในระยะ 2 ปีแรก หลังจากปี 2554 เป็นต้นมา บ้านมิตรไมตรี ขยายงานออกในส่วนภูมิภาคทั้งสิ้น 10 บ้านได้แก่ กรุงเทพมหานคร ,ชลบุรี ,นครราชสีมา ,ขอนแก่น ,อุบลราชธานี ,พิษณุโลก ,เชียงใหม่ ,นครศรีธรรมราช ,สงขลา และภูเก็ต โดยในแต่ละบ้าน ได้สร้างอัตตลักษณ์ในการทำงานได้อย่างชัดเจนและตรงความต้องการ และสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มการพัฒนารูปแบบการทำงานอย่างไม่หยุดนิ่ง


ในขณะที่ฟากขององค์กรพัฒนาเอกชนเองที่กลับหยุดนิ่งในการพัฒนารูปแบบการทำงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่ยังหลงวนอยู่กับงานประจำของตัวเอง สาละวนกับการเรียกร้องในเรื่องเดิม ๆ ที่ยังมองไม่เห็นการต่อยอดในการพัฒนา หรือการบูรณาการในการทำงานที่เป็นรูปธรรม ไม่มีข้อเสนอใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพของปัญหาและความต้องการที่ในแต่ละกลุ่มของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ มีแตกจต่างกันออกไป

มูลนิธิอิสรชน และ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณได้เดินสายถอดบทเรียนการทำงานของบ้านมิตรไมตรีและสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง ที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ โดยการสุ่มสำรวจและสอบถามพูดคุย ถอดบทเรียนการทำงานของภาครัฐ จนสามารถจัดทำ คู่มือการทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและกระตุ้นให้บ้านมิตรไมตรี 10 แห่ง คิดค้นรูปแบบการทำงานที่แต่ละบ้านเผชิญอยู่ในแต่ละพื้นที่ และมีแน้วโน้มที่จะนำไปสู่การทำงานในรูปแบบใหม่ ที่ภาครัฐปรับตัวมีการทำงานนอกเวลาราชการในระดับพื้นที่เพิ่มมากขึ้น มีการสร้างความคุ้นเคยกับ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในแต่ละจังหวัดเพิ่มมากขึ้น มีกระบวนการนำไปสู่การสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้เกิดการจัดสรรงบประมาณในการทำงานให้สอดคล้องกับขนาดของปัญหาในแต่ละพื้นที่ โดยเกือบทั้งหมด เกิดจากการสอบถามจากความต้องการของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นผู้รับบริการเองโดยตรง และยังมีการผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. .. ที่เป็นกฎหมายสำหรับสนับสนุนการทำงานกับผู้รับบริการกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ

จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ณ วันนี้ ภาครัฐ โดยเฉพาะ บ้านมิตรไมตรี  สำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานภาครัฐที่เริ่มทำงานเชิงรุกและรับ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ อย่างครบวงจร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองกันต่อไปว่า หากมีการจัดการอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของปัญหานี้ แล้ว ปัญหา ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จะสามารถคลี่คลายตัวเองลงได้บ้างหรือไม่อย่างไร

28 กันยายน 2556

People live in Public area(PLIPA): สวัสดิการ : ชุมชน สังคม

People live in Public area(PLIPA): สวัสดิการ : ชุมชน สังคม: สวัสดิการ  : ชุมชน สังคม นึกคันไม่คันมืออยากจะเขียนบทความเล็ก ๆ เรื่องสวัวดิการขึ้นมาเฉย ๆระหว่างนั่งนึกเล่น ๆ ที่ริมสระว่ายน้ำบนโรงแร...

สวัสดิการ : ชุมชน สังคม

สวัสดิการ : ชุมชน สังคม

นึกคันไม่คันมืออยากจะเขียนบทความเล็ก ๆ เรื่องสวัวดิการขึ้นมาเฉย ๆระหว่างนั่งนึกเล่น ๆ ที่ริมสระว่ายน้ำบนโรงแรมหรูใจกลางกรุงเทพมหานครเมื่อสองวันก่อน แต่ไม่ได้ลงมือเขียนเป็นเรื่องเป็นราว พอกลับมาถึงบ้านใช้เวลาพกสมองหนึ่งวันเต็ม ๆ จึงได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการก่อนอื่นต้องขออนุญาตกำหนดนิยามความหมายของคำว่า “สวัสดิการ”ที่นักวิชาการทั้งหลายให้ไว้มาเป็นกรอบในการเริ่มต้นเขียนกันก่อนอาจารย์ วิทยา ตันติเสวี  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้เคยเขียนบทความเล็ก ๆ ในเรื่องของสวัสดิการไว้ดังนี้

 ความหมายและขอบเขตของคำว่า“สวัสดิการ”  
 ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า“สวัสดิการ” ต่างๆกันไป ได้แก่
  • Welfare  (สวัสดิภาพ สวัสดิการ)  คือการมุ่งให้เกิดการกินดีอยู่ดีของบุคคลหรือกลุ่มสวัสดิการทั่วไปของชุมชนหรือสังคม ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
  • สวัสดิการ หมายถึง “การกินดีอยู่ดี” หรือ Well-being ซึ่งถ้าจะขยายความออกไปก็อาจกล่าวได้ว่า คือภาวะของการมีสุขภาพดี มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสุข ถ้าเกี่ยวกับด้านแรงงานก็หมายถึง สิ่งหรือสถานการณ์ที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกสบาย หรือความกินดีดอยู่ดีของลูกจ้างนั่นเอง ซึ่งการดำเนินการเพื่อให้เกิดภาวะที่มีความสะดวกสบาย หรือความกินดีอยู่ดีของลูกจ้างนี้มิได้หมายความว่า เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างแต่ฝ่ายเดียว รัฐบาลและสหภาพแรงงานก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย
  • สวัสดิการ หมายถึง บริการหรือกิจกรรมใดๆ ที่หน่วยงานราชการ หรือองค์กรธุรกิจเอกชนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรนั้นๆ ได้รับความสะดวกสบายในการทำงาน มีความมั่นคงในอาชีพ มีหลักประกันที่แน่นอนในการดำเนินชีวิต หรือได้รับประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี เพื่อจะได้ใช้กำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาความสามารถของตนในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ไม่ต้องวิตกกังวล ปัญหายุ่งยากทั้งในทางส่วนตัวและครอบครัวทำให้มีความพอใจในงาน มีความรักงานและตั้งใจที่จะทำงานนั้นให้นานที่สุด สำหรับสวัสดิการที่สมบูรณ์แบบนั้นย่อม หมายถึงสวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง ทั้ง
                -         ในขณะที่ทำงาน (On – the – Job)
                -         นอกเวลาทำงานแต่ยังอยู่ในที่ทำงาน (Off – the – job withinthe workplace)
                -         นอกสถานที่ทำงาน (Outside the workplace)  นอกจากนั้นจะต้องไม่ให้เฉพาะลูกจ้างเท่านั้น แต่จะ ต้องรวมถึงครอบครัวและชุมชนด้วย
  
แต่ในที่นี้จะขออนุญาตกล่าวถึงสวัสดิการชุมชน และสวัสดิการสังคมเป็นหลัก โดยมุ่งพิจารณาไปถึงการจัดการให้มีหรือการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่และการคิดค้นรูปแบของการให้สวัสดิการที่หลากหลายเป็นประเด็นสำคัญซึ่งทั้งหมดควรจะมีการใช้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนในการร่วมคิดร่วมทำในขั้นตอนต่างๆ เพื่อนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่าสวัสดิการชุมชน หรือสวัสดิการสังคม

เมื่อขึ้นชื่อว่า สวัสดิการ ต้องย้อนกลับขึ้นไปดูความหมายดีดีอละต้องระวังไม่ให้เกิดความไขว้เขวเป็นอันขาดเพราะหากมีมุมมองหรือทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสวัสดิการที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงในชุมชนและสังคมและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าส่วนบุคคลและต้องส่งผลกระทบในวงกว้างมากกว่าส่งผลเพียงแค่ในวงแคบ ๆ  ที่สำคัญ สวัสดิการ นั้นต้องเกิดขึ้นภายใต้ความต้องการของสมาชิกในชุมชนและสังคมนั้น ๆ เป็นสำคัญ


สวัสดิการชุมชนควรเป็นสวัสดิการที่มุ่งเน้นไปที่การสร้าง การกินดีอยู่ดีมีความสุขให้แก่คนในชุมชนเป็นสำคัญจะระดมทรัพยากรภายในชุมชนมาจำนวนมากน้อยหรือไม่อย่างไรไม่สำคัญแต่ให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ที่ได้ต้องก่อให้เกิดสวัสดิการภายในชุมชนนั้นอย่างทั่วถึงและหลากหลาย

สวัสดิการสังคมควรเป็นระบบการให้บริการจากรัฐที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยมุ่งเน้นสังคมอุดมสุขและมีพลังแห่งความเป็นพลเมืองเป็นสำคัญ และควรสร้างสวัสดิการสังคมที่หลากหลายให้สอดคล้องกับความหลากหลายของพลเมืองที่รวมกันอยู่ในสังคมนั้นๆ

เมื่อมาถึงบรรทัดนี้ต้องขออนุญาตอ้างอิงข้อเขียนอันทรงพลังของศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ที่เขียนเรื่อง จากครรภ์มาดา ถึงเชองตะกอนไว้เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วเป็นปฐมบทของการจัดสวัสดิการในประเทศต่าง ๆที่สอดคล้องและเหมาะสมลงตัวในบริบทของสังคมที่เป็นพลวัตรอยู่ตลอดเวลาและต้องขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนของสังคมหันมาร่วมกันสร้างสวัสดิการชุมชนและกระตุ้นให้ภาครัฐจัดรูปแบบสวัสดิการสังคมที่หลากหลาย เพื่อยกระดับให้พลเมืองได้ กินดีอยู่ดีมีความสุขโดยเร็ววัน


 เขียนและเรียบเรียงโดย :นที สรวารี
นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน

สวัสดิการ : ชุมชน สังคม

24 กันยายน 2556

ใจเขาใจเรา

โดย Hemmapat Boonyoiyad

24 กันยายน 2013 เวลา 16:19 น.

“บางคนไม่มีปัญหาก็ยังออกมาอยู่ที่นี่” คุณนที สรวารีกล่าวกับคู่สนทนา

ในความคิดส่วนตัว ถ้าไม่ใช่คนที่มีใจกับงานนี้มาเป็นสิบๆปี คงไม่เข้าใจเรื่องราวของผู้คนในที่สาธารณะอย่างนี้เป็นใครก็ต้องมองว่าคนที่มากินมานอนข้างถนนเป็นคนมีปัญหาไปจนถึงมองว่าเขาเหล่านี้นั่นเองที่เป็นปัญหาของสังคม

แต่ผู้เขียนเองแอบเถียงคุณนทีในใจว่าปัญหาที่หมายถึงนั้นคือประเด็นอะไรบ้าง ถ้าเป็นเรื่องปากท้อง ไม่มีที่ดินการทำมาหากินตกงาน หรือครอบครัวแตกแยกก็ยังนับว่าเป็นปัญหา แต่ประเภทร่ำรวย ประสบความสำเร็จการงานมั่นคง มีครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตานี่อาจไม่เรียกว่าปัญหาแต่ปมชีวิตอะไรบางอย่างที่สะกิดใจคนๆ หนึ่งให้แสวงหาคำตอบของชีวิตและออกมาอยู่ในที่สาธารณะ

ในฤดูที่ฟ้าฝนเอาแต่ใจบางวันแดดเปรี้ยง บางวันฝนก็โปรยปรายมาแบบไม่ลืมหูลืมตาคนทั่วไปอาจจะเปียกบ้างระหว่างทางไปทำงานหรือกลับบ้าน

แต่คนที่ใช้ชีวิตอยู่สนามหลวงนี่สินอนอยู่ดีๆฝนเกิดตกก็ต้องไปหาที่หลบฝน ตามป้ายรถเมล์บ้าง ตามหลังคากันสาดหน้าร้านรวงต่างๆ บ้างและอย่าคาดหวังว่าคืนที่ฟ้ารั่วจะได้นอนหลับพักผ่อนเลยทีเดียวเพราะแค่เพียงแบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้เพียงพอต่อประชากรสนามหลวงก็แสนยากเย็นเสียแล้วแม้จะทุลักทุเล อดหลับอดนอน คนที่นี่ก็ไม่เคยหวั่น

หัวใจของพวกเขาแข็งแกร่งกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ทำไมจึงกล่าวเช่นนี้น่ะหรือ

ทุกครั้งที่ผู้เขียนได้พบเจอพูดคุยกับคนสนามหลวงเมื่อไปเป็นอาสาสมัครของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนนอกจากคำบอกเล่าสภาพฟ้าฝนที่แต่ละคนต้องเผชิญแล้วยังได้รับรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และมุขตลกแถมมาให้เสมอๆ

ลองจินตนาการดูว่าตัวเองต้องนอนข้างถนนตากแดดตากฝน ไม่มีเงินติดตัวสักบาทแค่เพียงหนึ่งคืนเท่านั้น ท่านจะรู้สึกอย่างไร จะเอาตัวรอดด้วยวิธีไหน

หลายคนอาจสบถออกมาให้กับชีวิตลำเค็ญเมื่อนึกภาพตาม

หลายคนอาจไม่นึกถึงอะไรและกล่าวว่า “คนสนามหลวงน่ะขี้เกียจ กิน นอนไปวันๆไม่เห็นยากตรงไหน”

แน่ใจหรือว่าการนอนตากน้ำค้างกลางแจ้งมันง่ายจริงๆนอกจากความลำบากทางร่างกายที่ต้องทนหนาว ทนร้อน ทนเปียกทนยุงและสัตว์อีกสารพัดที่ร่วมใช้ชีวิตตามถนนหนทาง ความลำบากใจที่ต้องเผชิญต่อสายตาสาธารณชนบางคนไม่เพียงแค่มองอย่างเดียว ยังมีท่าทางหวาดระแวง รังเกียจจนกระทั่งบ่น ด่าระบายความในใจออกมาให้สะเทือนหัวใจ


ปมชีวิตที่ทำให้คนๆหนึ่งตัดสินใจออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน

นักวิชาการพยายามอธิบายปรากการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่าเป็นเพราะการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ดึงให้คนในครอบครัวห่างออกจากกันจนเกิดช่องโหว่ทำให้คนรู้สึกโดดเดี่ยว

ฉันเองไม่แน่ใจว่าคำอธิบายนี้ครอบคลุมเหตุผลของทุกคนหรือไม่

บางกรณีอาจเป็นเรื่องแคลงใจในครอบครัวที่ไม่พูดกันครอบครัวคนไทยไม่ค่อยแสดงความรู้สึกไม่แสดงความรักและไม่จับเข่าคุยกันเมื่อเกิดเรื่องผิดใจกัน

ในมุมนี้ฉันมองว่าคนสนามหลวงจึงมีทั้งด้านที่อ่อนแอและแข็งแกร่งอยู่ในคนเดียวกันเพราะการพาตัวออกจากปมปัญหานั่นเป็นความอ่อนแอแต่ก็แฝงไปด้วยความกล้าหาญเสี่ยงออกมาเผชิญชีวิตในโลกใบใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน

การมีคนออกมานอนข้างถนนอย่างนี้ทำให้สะท้อนความคิดของคนในสังคมออกเป็นสองด้าน

ด้านหนึ่งพยายามทำความเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

อีกด้านหนึ่งมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องกำจัดออกไปสิ่งหนึ่งที่ครอบงำทัศนคติของสังคมด้านลบนี้คือระบบการแบ่งความเป็นตัวฉันตัวเธอเมื่อเธอไม่เหมือนฉัน เธอจึงถูกตีตราว่าทำผิด ไม่เข้าพวก

ประการสำคัญคือการทำความเข้าใจสิทธิมนุษยชนให้ลึกซึ้งว่าเป็นเพียงหลักง่ายๆ ไม่ซับซ้อน

เพียงปรับทัศนคติว่าคนเราเท่ากัน คนอื่นเท่ากับเราและอะไรบ้างคือความจำเป็นในชีวิตที่มนุษย์คนหนึ่งต้องการ เพียงเท่านี้เองทุกคนจะปฏิบัติต่อการอย่างเสมอภาค

แม้ว่าหลายๆครั้งเราจะเห็นภาพสะท้อนทัศนคติทางสังคมในการวิกฤตต่างๆ เช่น น้ำท่วมซึ่งมีการให้ความช่วยเหลือที่ปนด้วยความเข้าใจผิดว่าต้องให้เท่าๆกันนั่นคือสิทธิมนุษยชน

แท้จริงแล้วสิทธิมนุษยชนคือการปฏิบัติให้ทุกคนได้รับมาตรฐานที่เท่ากันไม่ใช่การเรียกร้องให้ได้ในจำนวนที่เท่ากัน

หรือง่ายๆ ว่า....แค่คิดถึงใจเขาใจเรา เท่านั้นเอง