23 พฤศจิกายน 2556

เรื่องราว 2 วัน ของผม

เขียนโดย น้องดรีม นักศึกษาฝึกงาน 

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
            วันนี้ในที่สุดก็ล่วงเลยเข้าสู่อาทิตย์ที่สองของการฝึกงาน นับได้เป็นวันที่สี่แล้วสำหรับการทำงานลงพื้นที่ภาคสนาม ก่อนที่จะเข้าเรื่องว่าวันนี้ทำอะไรมาบ้างนั้น เราจะมาใมห้รายระเอียดเกี่ยบกับผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีกกลุ่มหนึ่ง นั้นก็คือ “คนเร่ร่อน” อธิบายได้ดังนี้
            คนเร่ร่อน คือ บุคคลที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะหรือบนท้องถนนเป็นที่อยู่อาศัย มักจะอยู่ตามจุดต่าง ๆ เช่น สนามหลวง สะพานพุทธ หัวลำโพง หมอชิต สวนลุมพินี ใต้ทางด่วนหรือใต้สะพานต่างๆ สถานที่อยู่ของคนเร่ร่อนจะอิงอยู่กับแหล่งหากิน เช่น สถานีรถโดยสาร ตลาด และแหล่งท่องเที่ยวสาเหตุที่คนออกมาเร่ร่อน สาเหตุพบว่ามาจากการตกงาน ปัญหาครอบครัว ความพิการไม่สามารถดูแลตนเองได้ เร่ร่อนตามพ่อแม่และชอบใช้ชีวิตอิสระ (อ้างอิงจากหนังสือ การทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ,11)
วันนี้ทั้งวันเราเดินไปทั่วทั้งสนามหลวง และท่าพระจันทร์ จากนั้นก็นั่งเรือข้ามฟากไปที่วังหลัง ระหว่างทางที่เดินผ่านก็คอยสังเกตุหาดูเผื่อจะพบเพื่อนของเรา แต่ถ้าหากไม่เจอก็นับว่าโชคดี แสดงว่าอาจจะไม่มีผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพิ่มขึ้น หรือแค่เขาเหล่านั้นไม่ได้มาอยู่แถวนี้
            เราเดินกับพี่เลี้ยงเป็นเวลาค่อนวันจึงเดินย้อนกลับทางเดิน และขึ้นเรือข้ามฟากกลับมาที่วังหลังเพื่อจะมาดูที่ท่าพระจันทร์ และสนามหลวงอีกครั้ง ในที่สุดเราก็เจอเพื่อนของเรานั่งอยู่ประปรายที่บริเวณท่านพระจันทร์แถว ๆ ริมทางเท้า เราได้เข้าปคุยทักทายกับเขา แม้บางเพื่อนบางคนอาจจะยังกลัวที่อยู่ ๆ ก็มีคนมาคุยกับเขา แต่เราก็พยามที่จะทำความรู้จักคุ้นเคย เพื่อที่จะคุยกับเข้าได้อย่างราบรื่น แต่มันก็ต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป
            คนเดินขายหนังสือพิมพ์ ผู้ที่อาศัยอยู่โดนเดี่ยวที่สะพานควาย พี่คนนี้แกเป็นคุยที่คุยกับเราอย่างเป็นมิตรที่สุดสำหรับวันนี้ พี่แกเล่าว่า แกเที่ยวเร่ขายหนังสือพิมพ์บริเวณนี้มาเป็นเวลานานแล้วเห็นจะยี่สิบสามสิบปีได้ ตั้งแต่หนุ่ม ๆ เลยล่ะ แกได้กำไรวันละสามร้อยอาจจะมีมากกว่านั้นบ้างแต่ก็ไม่เกินสี่ร้อยบาท แกใช้ชีวิตคนเดียวในบ้านเช่า ชีวิตแกเลยไม่ต้องการอะไรมากกว่านี้ นอกจากสิ่งที่ได้ทำ การเป็นนายตัวเอง ทำเท่าไหนได้เท่านั้น นับเป็นความสุขเล็ก ๆ ของแกเอง
            งานวันนี้ดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเดินเสียมากกว่า เดินไปในหนทางของผู้ที่ต้องการจะศึกษาถึงวิถีชีวิตของผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ และนำมาเผยแพร่ให้กับสังคมได้รับฟังต่อไป

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
            วันนี้เป็นวันที่ห้าของการฝึกงานภาคสนาม และวันนี้ยังเป็นการอยู่ประจำพื้นที่รถโมบาย เริ่มการทำงานของวันเหมือนวันก่อน ๆ คือการทักทายถึงเพื่อนของเรา ทั้งผู้ที่ติดสุรา หรือ ผู้ป่วยข้างถนน และนี่คือ อีกหนึ่งกลุ่มของผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะ “ผู้ป่วยข้างถนน”
ผู้ป่วยข้างถนน คือ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่พลัดหลงออกจากบ้านมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะจนกลายสภาพเป็น “คนเร่ร่อน” ทั้งนี้ยังรวมถึง “คนเร่ร่อนไร้บ้าน” ที่มีอาการผิดปกติทางสมองหรือทางจิตด้วย (อ้างอิงจากหนังสือ การทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ,12)
       โดยรวมแล้ว เพื่อนที่เราพบเจอในแต่ละวันของการฝึกงานที่ผ่านมา ส่วนมากล้วนแต่จัดอยู่ในกลุ่มคนเหล่านี้  นับเป็นประสบการณ์อีกแบบหนึ่งที่ปกติแล้วคงจะไม่ได้พบเจอง่าย ๆ  เป็นแน่ เพราะอยู่ดี ๆ คงไม่มีคนเข้าไปคุยกับคนเมาหรือผู้ป่วยทางสมองเหล่านี้แน่ ๆ และการจะคุยให้รู้เรื่องก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เราต้องถามเขาบ่อย ๆ ในสิ่งที่เขาพูดออกมา ถามย้ำซ้ำเดิม และนำเรื่องที่เขาเล่าในแต่ละครั้งมาเทียบดูเพื่อหาเรื่องที่จริงที่สุด เราต้องไม่เบื่อและหน่ายไปก่อน กับเนื้อความที่เขาเล่าออกมาที่ส่วนมากจะเป็นน้ำมากกว่าเนื้อ มีเพียงบางส่วนที่เป็นความจริง เขาอาจจะโกหกเรา หรือแค่จำความไม่ได้ก็เท่านั้นเอง เราจึงต้องพยายามเข้าไปพูดคุยกับเขามาก ๆ หมั่นทักทายถามสารทุกข์สุกดิบ คุยเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ตลอดไปในการฝึกงานครั้งนี้ เพื่อหาความจริงที่ซ้อนอยู่ในคำลวง
          วันนี้เป็นวันที่ยังมีผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเข้ามาใช้บริการของรถโมบายอยู่ไม่ขาดสาย และวันนี้เราก็ได้เจอกับพี่กอล์ฟอีกครั้งหลังจากที่แกหายหน้าหายตาไปนาน เราถามแกว่าแกหายไปไหนมา คำตอบที่ได้รับพร้มรอยยิ้มร่าเริงของแกคือ แกก็เก็บขวดขายไปเรื่อย ไปตามพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ในสนามหลวงพร้อมเมามายไปในแต่ละวัน และวันนี้แกก็เมามาอีกเช่นเคย
        วันนี้เรายังได้เจอกับพี่เวช พี่เวชยังคงเป็นเช่นเหมือนวันก่อน ๆ ยังคงเมาเหล้า พูดจาเรื่อยเปื่อยเสียงดังพร้อมกับร้อยยิ้มเสมอ ๆ เราอาจจะต้องดุแกบ้าง ว่าทำไหมแกถึงกินเหล้าอีกแล้ว (ดุได้เฉพาะบางคนที่ดุได้ เพราะหากดูไม่ดี เราอาจจะเป็นฝ่ายที่หน้าเขียวแทน) บางครั้งก็แซวแกในเรื่องของความรักที่แกออกหัก แกมีวลีเด็ดในเรื่องนี้ที่ชอบพูดประจำคือ “ฉันรักเขา แต่เขาไม่รักฉัน แต่ฉันไม่สนใจเพราะฉันรักเขา” มันดูเป็นความรักที่ไม่ซับซ้อนอะไรเหมือนคนเมืองผู้ปกติ
         เรายังได้เจอประสบการณ์แปลกใหม่อีกอย่างคือ ผู้ป่วยข้างถนนคนหนึ่ง ตอนแรกเราก็นึกว่าแกเป็นคนปกติธรรมดา ที่เข้ามาพูดคุยอะไรด้วย แต่พอคุยไปสักพักเริ่มแปลก ๆ เพราะแกบอกว่าแกเคยเป็นมือปืนบ้างล่ะ ร้องเพลงเพราะร้องเพลงให้เราฟัง แต่ก็ร้องไม่จบเพลง และเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย พร้อมกับบอกลาว่าจะกลับ แล้วทำการเขย่ามือเราอยู่ถึงสี่ห้ารอบวนเวียนไปมาอยู่อย่างนี้ บางทีก็บอกว่า “เอ็งน่ะมันเด็กน้อยนัก กูน่ะต่อยมานับต่อนับ” ทำเอาเราหวาด ๆ อยู่เหมือนกันว่าจะโดนต่อยเอาแบบงง ๆ หรือเปล่า แต่ก็ทำใจดีสู่เสือยิ้มสู้ พูดครับ ๆ บอกแกว่าแกบอกว่าจะกลับเป็นรอบที่เท่าไหร่แล้ว พร้อมกับระวังระแวงมองมือของแกไปด้วยว่ามีทีท่าแปลก ๆ หรือเปล่าจะได้หลบทัน และภายหลังจากที่ผู้ป่วยข้างถนนคนนี้ได้เดินจากไปแล้ว พี่จ๋าแกก็บอกว่าเวลา เจอเรื่องแบบนี้ ให้ดุไปได้เลย แม้เราอาจจะกลัว แต่เราทำหน้าที่แบบนี้ก็ต้องจัดการให้อยู่หมัด เพราะเขาก็จะเกรงเราอยู่ในทีเหมือนกัน
         วันนี้ยังมีประสบกาณ์ใหม่ ๆ อีกอย่างที่เราประทับใจ คือเราได้สอนหนังสือให้กับน้องไปรท์เด็กที่ติดสอยห้อยตาแม่ผู้มาขายของที่บริเวณของหลอด และเราจึงได้รู้ว่าการสอนหนังสือนี่ก็อยากไม่ใช่เล่น เราเลยให้น้องวาดรูปอะไรก็ได้ และในขณะที่น้องสร้างสรรค์งานศิลปะ เราก็ได้เห็นแววตาที่เป็นประกาย ไม่เหมือนกับที่พบกันครั้งแรก ที่แววตาน้องดูหม่นหมอง แต่ไม่นานนักน้องก็ต้องกลับบ้าน เพราะแม่ของน้องขายของเสร็จแล้ว หลังจากนั้นเราก็ได้เจอ กุ๊ก หรือกุ๊กกู๋ ผู้ป่วยข้างถนนอีกคน
กุ๊กกู๋ เป็นผู้ป่วยที่อายุมากพอสมควร แต่สมองกลับยังเด็กนัก และก่อนหน้าที่เราจะได้มาฝึกงานที่นี่ พี่จ๋าก็บอกว่าทางมูลนธิก็ได้ช่วยกันสอนโน้นสอนนี้แกกุ๊กจนกุ๊กพอที่จะสามารถทำอะไรได้เองอยู่ในระดับหนึ่ง
กุ๊ก มาพร้อมกับเสื้อผ้าที่แปลกแหวกแนวคือใส่เสื้อผู้หญิง กับกางเกงยีนต์หลุดก้น และเป้าขาดเป็นรอยกว้าง แถมยังมีนกหวีดลายธงชาติ กับเส้นผ้าลายธงชาติอีกเช่นกัน (กุ๊กบอกว่าเห็นคนเยอะดี เลยเดินเขาไป เขาให้มา แถมยังได้ข้าวฟรี พร้อมกับเงินอีกสองหรือสามร้อยบาท อันนี้เราก็ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จเพียงใดโปรดใช้วิจารณญาณ จักรยาน อากาศยาน หรืออะไรก็ตามที่มียาน ๆ ประกอบการตัดสินใจในการอ่าน) แต่ก็ไม่ลืมที่จะหาผ้ามาผูกปิดกันกับการทำให้สายตาผู้อื่นตกใจพร้อมรอยยิ้มพรายที่ประปรายเต็มหน้าทั้งปากทั้งตา และทุกประโยคที่พูดล้วนมีคำว่าครับตามหลัง ดูไร้เดียงสา หัวเราง่าย ๆ กินอาหารจุ เหมือนกระเพราะไม่มีวันเต็ม เพราะไม่ว่าถามว่า กุ๊ก กินนี่ไหม กินนั้นไหม กุ๊กก็บอก ครับ กินครับเสมอ
         หลังจากนั้นพอถึงช่วงเย็นเราก็ได้เดินลงพื้นที่ในช่วงเย็น กับพี่นธี พี่จ๋า พี่เลี้ยง และนักศึกษาที่มาหาข้อมูลถ่ายภาพไปรายงาน (บ่อยครั้งที่มีนักศึกษามา) เมื่อเสร็จจากการเดินลงพื้นที่ กับการแจกถุงยางบ้าง ให้ยากันยุงบ้าง ก็มาจบลงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับการสรุปสิ่งที่ได้พบเจอมาในระหว่างที่ฝึกงานมาทั้งหมดห้าวันนี้
        สิ่งที่เราได้จากการพูดคุยกับพี่นธีในครั้งนี้ช่วยเปิดมุมมองของเราให้กระจ่างชัดขึ้นอีก โดยสิ่งที่เราเข้าใจมาตลอดว่า การทำงานในครั้งนี้คือมาช่วย ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะนั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งที่เราต้องทำจริง ๆ คือนำเรื่องราวของเขาเหล่านั้น ออกไปเผยแพร่แก่สาธารณะ เพื่อให้คนทั่วไปได้รับทราบว่า เขาเหล่านั้น ไม่ใช่ชนชั้นที่ไม่มีคุณค่าอะไร หากแต่มีความเท่าเทียมเสมอภาคเท่า ๆ กับเรา ๆ ท่าน ๆ ทุกประการ โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความ วีดีโอขนาดสั้น ภาพถ่าย การจัดงานสัมนา นิทรรศการภาพ ฯลฯ และในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะได้ทำกระบวนการเหล่านั้นอย่างครบถ้วนแน่นอน
        เมื่อเราคุยสรุปกันเสร็จก็มีโทรศัพท์เข้ามาหาว่ามีคนใจดีผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม บริจาคเงินเพื่อซื้อข้าวกล่อง และให้นำไปแจกจ่ายที่พาหุรัดกับอาสาอีกคนที่เป็นแม่ค้าขายข้าวราดแกงที่บริเวณคลองหลอด หรือ ป้าหน่อย ถ้าหากแวะเวียนมาแถวนี้ลองมาชิมกันได้ อาหารของแกอร่อยทุกอย่าง เราฝากท้องทุกเที่ยงเลย ฮา และเมื่อแจกจ่ายข้าวกล่องเสร็จก็เป็นอันเสร็จภาระกิจในวันนี้ของเรา
สุดท้ายสายตาเราก็กระจ่างในหน้าที่งานที่ควรจะทำ ว่าเราควรที่จะทำอะไร เพื่ออะไร และควรทำมันให้ดีที่สุดในโอกาสต่อ ๆ ไป 

ไม่มีความคิดเห็น: