วันหยุดยาวติดต่อกันเมื่อไร คนกรุงทั้งแท้และไม่แท้ล้วนขวนขวายเดินทางออกต่างจังหวัด บ้างไปเที่ยวพักผ่อน หลายคนกลับภูมิลำเนา ทว่ายังมีคนอีกกลุ่มที่ไม่ได้ไปไหน พวกเขาคือผลพวงการพัฒนาประเทศที่ทำให้ผู้คนในชนบทอ่อนแอ จากชาวบ้านบ่ายหน้าเสี่ยงโชคชะตากลายเป็น “คนไร้บ้าน” ในเมืองกรุง การประกาศปรับภูมิทัศน์ท้องสนามหลวงมีผลต่อพวกเขาที่อาศัยสถานที่แห่งนี้เป็นเสมือนบ้านใหม่อย่างไร สงกรานต์และวันหยุดยาว พวกเขาได้กลับบ้านกันบ้างไหม
นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ซึ่งเป็นองค์กรอาสาสมัครช่วยเหลือคนด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาสที่อยู่ในภาวะวิกฤติ โดยมุ่งให้ความรู้เรื่องทักษะชีวิต ยาเสพติด เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นทีเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้องค์กรลงมาทำงานกับคนไร้บ้านสนามหลวงว่า…
“มีวันหนึ่งทำงานมาเหนื่อยมาก มาถึงสนามหลวงก็หลับไป ของมีค่าทุกชิ้นเอาขึ้นมาวางที่หน้าอกแล้วเอามือปิดไว้ พอเช้าพบว่ามีคนมานั่งเฝ้าของและก็เอาพัดมาพัดให้ เลยเกิดคำถามกับตัวเองว่า เขาเหล่านี้เป็นคนไม่ดีจริงเหรอ จากนั้นก็เริ่มลงมาพูดคุยให้ความรู้ อาศัยความเป็นเพื่อนทำให้เขากล้าเปิดใจ”
ส่วนอัจรา อุดมศิลป์ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมเยาวชนสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน กล่าวถึงคำนิยามของคนเร่ร่อนที่ลงตัวที่สุดคือ “คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” เพราะครอบคลุมทั้งหญิงขายบริการ คนไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน ตลอดจนคนที่มีความพิการทางสมอง เธอเล่าประสบการณ์ว่าช่วงแรกที่ลงมาทำงานในพื้นที่สนามหลวงเคยโดนทำร้ายจากกลุ่มคนเร่ร่อนเพราะความไม่เข้าใจ
“เข้าไปทีแรกเค้าเอาขวดเอาหินปาใส่เรา ตอนนั้นกลัว แต่ก็พยายามค่อยๆ เข้าไป ไปทุกวัน จนเค้าเริ่มชิน ตอนหลังถึงรู้ว่าที่เรากลัวเค้าเพราะเค้ากลัวเราเหมือนกัน เลยต้องหาทางป้องกันตัวเอง ทุกวันนี้คนในสนามหลวงก็เป็นเหมือนเพื่อนกันไปหมดแล้ว”
อัจราบอกว่า การแก้ปัญหาของ กทม. ด้วยการสร้างบ้านให้กลุ่มคนเร่ร่อนนั้น ไม่ใช่ทางออกที่ถูกจุด เพราะหลายคนมีบ้านแต่ยังไม่อยากกลับเพราะต้องการหาเงินก่อน เพราะตอนออกจากชนบทเข้ามาเมืองหลวง คนที่บ้านฝากความหวังไว้ แต่บางคนถูกโกงจากนายจ้าง ถูกบริษัทเลิกจ้าง สุดท้ายเลยมาใช้ชีวิตที่นี่
ขณะที่วิจิตรา พันธ์แสง หัวหน้าโครงการศึกษาปัญหาโรคสมองเสื่อมในประเทศไทย มูลนิธิกระจกเงา ที่เพิ่งลงพื้นที่ทำงานกับกลุ่มคนที่ท้องสนามหลวงได้เพียง 3 เดือน บอกว่าคนเร่ร่อนกว่าร้อยละ 30 ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือทำให้กลายเป็นบุคคลไร้ญาติในที่สุด
“มีคนป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เยอะมาก บางคนเริ่มมีอาการ คือจะจำได้เป็นบางช่วงเท่านั้น ซึ่งเวลาเราไปพูดคุย ต้องจำเรื่องที่เค้าเล่า ว่าเค้าจำอะไรได้บ้าง ล่าสุดเพิ่งไปดูกิจกรรมของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อจะนำมาใช้กับพวกเขา คิดว่าแค่กินยาอย่างเดียวไม่พอ ยาแทบไม่ได้ช่วยอะไร”
{mosimage} ป้าชนา ไปล่ชู มีสนามหลวงเป็นเสมือนบ้าน เพราะใช้ชีวิตที่นี่ตั้งแต่วัยสาว 25 จนกระทั่งอายุ 80 ทุกวันนี้ แกเล่าว่าบ้านเกิดอยู่ที่ จ.กำแพงเพชร มีพี่ชาย 1 คน น้องชาย อีก 2 คน ป้าเข้าเมืองหลวงกับญาติตั้งแต่อายุ 9 ขวบ โดยลงเรือเมล์จากกำแพงเพชรมาที่ปากน้ำโพนครสวรรค์ แล้วขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพฯ พออายุได้ 25 ปี จึงตัดสินใจออกจากบ้านญาติมาพึ่งพิงตนเองโดยเก็บขวดขายและอาศัยท้องสนามหลวงเป็นแหล่งพักพิงเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน รายได้ไม่แน่นอน เพราะสายตาเริ่มฝ้าฟาง แต่ยังโชคดีที่มีข้าราชการบริเวณนั้นหยิบยื่นข้าวและเงินเล็กๆน้อยๆให้
เมื่อถามว่าสงกรานต์ปีนี้จะกลับต่างจังหวัดไหม ป้าชนาย้อนความทรงจำว่าสงกรานต์ที่บ้านเกิดนั้นสนุกสนาน มีรำวงร้องเพลง ไม่เหมือนในกรุงเทพฯที่วัยรุ่นเอาแต่สาดน้ำ บางครั้งรุนแรงถึงขั้นมีเรื่อง ไม่เห็นสนุกตรงไหน แต่แกบอกว่าปีนี้ก็คงไม่ได้กลับบ้านเหมือนหลายสิบปีที่ผ่านมา
“ความจริงอยากกลับบ้านแต่พี่ชายเคยพูดว่า ถ้าไม่มีเงินก็ไม่ต้องกลับมา สงกรานต์ปีนี้ก็คงไม่ได้กลับ เพราะยังเก็บเงินได้ไม่เยอะ คิดว่าถ้ามีเงินถึง 3,000 บาท จะกลับเอาไปให้คนที่บ้านคนละ 50 บาท 100 บาทก็ยังดี ที่อยากกลับบ้านเพราะอยากไปเยี่ยมแม่ ไม่รู้ป่านนี้แม่ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า”
ชัยวุฒิ แสงส่ง อายุ 38 ปี บ้านเกิดอยู่ที่นครศรีธรรมราช เขาบอกว่าตัวเองมีความผูกพันธ์กับท้องสนามหลวงมาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะสมัยอยู่ ป.5-6 เคยมาแสดงอับดุลช่วงปิดเทอม เมื่อย้ายตลาดนัดบริเวณสนามหลวงไปที่จตุจักจึงเลิกแสดง และมีโอกาสเข้า กทม.อีกครั้งตอนเรียน ปวช.ที่เทคโนโลยีสยาม เรียนจบกลับไปช่วยแม่ขายก๋วยเตี๋ยว และเหตุการณ์ที่ทำให้เขาผันตัวเองเข้าสู่การเป็นคน “ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ก็คือทะเลาะกับพ่อ จึงออกจากบ้านมาหางาน รับจ้างทั่วไป แต่โชคไม่ดีประสบอุบัติเหตุตอนรับจ้างต่อสายโทรศัทพทำให้ตาข้างซ้ายบอด จึงออกตระเวนหางานไปตามจังหวัดต่างๆเกือบทั่วประเทศ
ชัยวุฒิต่างจากคนที่ท้องสนามหลวงทั่วไปตรงที่ยังคงไปกลับบ้านต่างจังหวัดเป็นประจำ เขาเล่าว่าจากสนามหลวงเดินไปนั่งเรือที่ท่าวังหลัง(ศิริราช)ข้ามฟากไปสถานีรถไฟบางกอกน้อย จากนั้นนั่งรถไฟฟรีไปจนถึงนครศรีธรรมราช แล้วต่อรถโดยสารเข้าบ้าน รวมค่าเดินทางทั้งหมด 47 บาท
ชัยวุฒิ บอกว่า สงกรานต์นี้ไม่กลับบ้าน เพราะเป็นช่วงทำรายได้จากการเก็บขวดขาย แต่เขาก็บอกว่าสงกรานต์กรุงเทพฯ ไม่สนุกเหมือนต่างจังหวัด
“จากที่เคยตระเวนไปทั่วประเทศ ชอบสงกรานต์กาญจนบุรี เค้ามีประเพณีสาดน้ำขึ้นบก คือคนในแพก็จะสาดน้ำขึ้นมาหาคนบนฝั่ง และคนบนฝั่งก็จะสาดน้ำลงไป เมื่อเล่นน้ำจนเย็นแล้ว ก็จะล่องแพต่อ แพเทคที่เปิดเพลงเต้นกันสนุกสนาน ความมันแบบนี้หาที่อื่นไม่ได้จริงๆ”
{mosimage} จอน สมใจเรา บ้านเกิดอยู่ที่ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ถ่ายทอดประสบการณ์ก่อนมาอาศัยสนามหลวงเป็นแหล่งพักกายให้ฟังว่า ตอน ม. 1 หนีครูเข้ากรุงเทพฯ ไปสมัครงานที่เยาวราช จากนั้นย้ายไปทำงานแถวลาดพร้าว แต่นายจ้างจ่ายเงินไม่ครบเลยออกมาตั้งหลักที่สนามหลวง ปัจจุบันมีอาชีพขายของเก่ากับสามี และลูก 2 คนรายได้ ต่อวัน เฉลี่ย 2-3 พันบาท สงกรานต์ปีนี้เลือกที่จะไม่กลับบ้าน เพราะของเยอะ ต้องอยู่เฝ้าและขายให้ของน้อยกว่านี้ก่อน ซึ่งคาดว่าหลังสงกรานต์จะกลับบ้านไปเยี่ยมพ่อและแม่
“เล่นสงกรานต์ที่สนามหลวงนี่ละ ที่กิน นอน ขายของ ที่เดียวกัน ความจริงชอบสงกรานต์ที่บ้านนะเพราะเจอญาติพี่น้องสนุกกว่า แต่มันเลือกไม่ได้ ต้องเอาเงินไว้ก่อน อยู่นี่อย่างน้อยๆ ก็ยังได้วันละ 2-3 พัน ขายของเก่าที่เค้าเก็บมาจากขยะบ้าง 20-30 แต่บางอย่างเราก็ไปซื้อที่คลองถมมาขายได้กำไรพอสมควร”
นายป้อม(นามสมมุติ) อายุ 36 ปี บ้านเกิดที่โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร มีลูกสาว 1 คน เล่าว่า เมื่อก่อนแม่ไม่ให้มา ตัวเองไม่มีเงิน ตัดสินใจเดินจากพิจิตรถึงนครสวรรค์ ใช้เวลาวันครึ่ง ระหว่างทางกินน้ำรอยตีควายและมะม่วงริมทาง พอถึงนครสวรรค์เก็บขวดขายได้เงิน 20 บาท เลยซื้อตั๋วรถไฟมาลงดอนเมือง พอถีงดอนเมืองก็แกล้งหลับจนถึงหัวลำโพงและเดินเท้าต่อจนถึงสนามหลวง โดยยึดอาชีพเก็บขวดพลาสติกขายมากว่า 10 ปี ด้วยคติที่ว่า “เก็บขวดขายดีกว่า ขอเงินเค้ากิน เพราะมันมีศักดิ์ศรีมากกว่า” แต่ถึงแม้จะมีรายได้ แต่ป้อมก็ไม่มีเงินเก็บ สาเหตุมาจากสุรา
“วันนึงมีรายได้เฉลี่ย 3-4 ร้อยบาทนะ แต่ต้องซื้อเบียร์ช้างกินอย่างน้อยวันละ 2 ขวด ทุกวันนี้ก็คิดถึงลูกสาวที่ไม่ได้เจอหน้ากันนานหลายปี ตั้งใจว่าหลังจากสงกรานต์นี้จะกลับบ้าน ไปหาลูกเพราะคิดถึงลูก”
เอ (นามสมมติ) อายุ 48 ปี บ้านเกิดอยู่ที่จังหวัด สุรินทร์ ปัจจุบันมีอาชีพขายบริการ เธอเล่าที่มาว่าตอนเข้ามากรุงเทพใหม่ๆ มีผู้ชายชวนไปกินข้าวและถามว่าอยากได้เงินมั๊ย จะให้ 3,000 แต่ต้องไปต่อกับเค้า เธอยอมรับว่าตอนนั้นอยากได้เงินเลยตามไป สุดท้ายก็เข้ามาทำอาชีพนี้ด้วยความจำใจ เนื่องจากต้องการให้ลูกเรียนจนจบปริญญาตรี จะได้ไม่ต้องลำบากเหมือนตนเอง
“ทำงานแบบนี้บางทีเจอผู้ชายโรคจิต บางครั้งตบตีเรา ก็ต้องสู้หาทางหนีออกมา ต้องทน อยากให้ลูกเรียนสูงๆจะได้ไม่ลำบาก ที่ทำอยู่ได้เงินเดือนนึงเฉลี่ย 12,000 บาท เช่าบ้าน 1,500 บาท ค่ารถเมล์อีกเล็กน้อย ที่เหลือส่งกลับบ้านให้ลูกหมด แต่ที่มาทำนี่ไม่ให้เค้ารู้นะ พอลูกเรียนจบก็จะเลิกและกลับไปอยู่บ้านแล้ว”
เอบอกสนามหลวงเป็นที่ทำงานของพวกเธอ ถ้าปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว อยากให้คนที่อยู่ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด จะได้น่าอยู่ต่อไป ซึ่งสงกรานต์ปีนี้เธอยังคงมุ่งมั่นกับอาชีพที่ทำอยู่ เพื่อมีเงินส่งลูกเรียน
ประสบการณ์ “คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ที่ท้องสนามหลวง มีที่มาแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนในชนบทที่เข้ามาแสวงโชคในเมืองหลวงด้วยเหตุผลต่างๆกันไป หลายคนไม่ได้กลับบ้านเกิดมานานจนกลายเป็นภาพความทรงจำ รวมทั้งสงกรานต์ปีนี้ที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังคงมีสนามหลวงเป็นทั้งบ้านและที่ทำมาหากิน.
“มีวันหนึ่งทำงานมาเหนื่อยมาก มาถึงสนามหลวงก็หลับไป ของมีค่าทุกชิ้นเอาขึ้นมาวางที่หน้าอกแล้วเอามือปิดไว้ พอเช้าพบว่ามีคนมานั่งเฝ้าของและก็เอาพัดมาพัดให้ เลยเกิดคำถามกับตัวเองว่า เขาเหล่านี้เป็นคนไม่ดีจริงเหรอ จากนั้นก็เริ่มลงมาพูดคุยให้ความรู้ อาศัยความเป็นเพื่อนทำให้เขากล้าเปิดใจ”
ส่วนอัจรา อุดมศิลป์ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมเยาวชนสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน กล่าวถึงคำนิยามของคนเร่ร่อนที่ลงตัวที่สุดคือ “คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” เพราะครอบคลุมทั้งหญิงขายบริการ คนไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน ตลอดจนคนที่มีความพิการทางสมอง เธอเล่าประสบการณ์ว่าช่วงแรกที่ลงมาทำงานในพื้นที่สนามหลวงเคยโดนทำร้ายจากกลุ่มคนเร่ร่อนเพราะความไม่เข้าใจ
“เข้าไปทีแรกเค้าเอาขวดเอาหินปาใส่เรา ตอนนั้นกลัว แต่ก็พยายามค่อยๆ เข้าไป ไปทุกวัน จนเค้าเริ่มชิน ตอนหลังถึงรู้ว่าที่เรากลัวเค้าเพราะเค้ากลัวเราเหมือนกัน เลยต้องหาทางป้องกันตัวเอง ทุกวันนี้คนในสนามหลวงก็เป็นเหมือนเพื่อนกันไปหมดแล้ว”
อัจราบอกว่า การแก้ปัญหาของ กทม. ด้วยการสร้างบ้านให้กลุ่มคนเร่ร่อนนั้น ไม่ใช่ทางออกที่ถูกจุด เพราะหลายคนมีบ้านแต่ยังไม่อยากกลับเพราะต้องการหาเงินก่อน เพราะตอนออกจากชนบทเข้ามาเมืองหลวง คนที่บ้านฝากความหวังไว้ แต่บางคนถูกโกงจากนายจ้าง ถูกบริษัทเลิกจ้าง สุดท้ายเลยมาใช้ชีวิตที่นี่
ขณะที่วิจิตรา พันธ์แสง หัวหน้าโครงการศึกษาปัญหาโรคสมองเสื่อมในประเทศไทย มูลนิธิกระจกเงา ที่เพิ่งลงพื้นที่ทำงานกับกลุ่มคนที่ท้องสนามหลวงได้เพียง 3 เดือน บอกว่าคนเร่ร่อนกว่าร้อยละ 30 ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือทำให้กลายเป็นบุคคลไร้ญาติในที่สุด
“มีคนป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เยอะมาก บางคนเริ่มมีอาการ คือจะจำได้เป็นบางช่วงเท่านั้น ซึ่งเวลาเราไปพูดคุย ต้องจำเรื่องที่เค้าเล่า ว่าเค้าจำอะไรได้บ้าง ล่าสุดเพิ่งไปดูกิจกรรมของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อจะนำมาใช้กับพวกเขา คิดว่าแค่กินยาอย่างเดียวไม่พอ ยาแทบไม่ได้ช่วยอะไร”
{mosimage} ป้าชนา ไปล่ชู มีสนามหลวงเป็นเสมือนบ้าน เพราะใช้ชีวิตที่นี่ตั้งแต่วัยสาว 25 จนกระทั่งอายุ 80 ทุกวันนี้ แกเล่าว่าบ้านเกิดอยู่ที่ จ.กำแพงเพชร มีพี่ชาย 1 คน น้องชาย อีก 2 คน ป้าเข้าเมืองหลวงกับญาติตั้งแต่อายุ 9 ขวบ โดยลงเรือเมล์จากกำแพงเพชรมาที่ปากน้ำโพนครสวรรค์ แล้วขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพฯ พออายุได้ 25 ปี จึงตัดสินใจออกจากบ้านญาติมาพึ่งพิงตนเองโดยเก็บขวดขายและอาศัยท้องสนามหลวงเป็นแหล่งพักพิงเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน รายได้ไม่แน่นอน เพราะสายตาเริ่มฝ้าฟาง แต่ยังโชคดีที่มีข้าราชการบริเวณนั้นหยิบยื่นข้าวและเงินเล็กๆน้อยๆให้
เมื่อถามว่าสงกรานต์ปีนี้จะกลับต่างจังหวัดไหม ป้าชนาย้อนความทรงจำว่าสงกรานต์ที่บ้านเกิดนั้นสนุกสนาน มีรำวงร้องเพลง ไม่เหมือนในกรุงเทพฯที่วัยรุ่นเอาแต่สาดน้ำ บางครั้งรุนแรงถึงขั้นมีเรื่อง ไม่เห็นสนุกตรงไหน แต่แกบอกว่าปีนี้ก็คงไม่ได้กลับบ้านเหมือนหลายสิบปีที่ผ่านมา
“ความจริงอยากกลับบ้านแต่พี่ชายเคยพูดว่า ถ้าไม่มีเงินก็ไม่ต้องกลับมา สงกรานต์ปีนี้ก็คงไม่ได้กลับ เพราะยังเก็บเงินได้ไม่เยอะ คิดว่าถ้ามีเงินถึง 3,000 บาท จะกลับเอาไปให้คนที่บ้านคนละ 50 บาท 100 บาทก็ยังดี ที่อยากกลับบ้านเพราะอยากไปเยี่ยมแม่ ไม่รู้ป่านนี้แม่ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า”
ชัยวุฒิ แสงส่ง อายุ 38 ปี บ้านเกิดอยู่ที่นครศรีธรรมราช เขาบอกว่าตัวเองมีความผูกพันธ์กับท้องสนามหลวงมาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะสมัยอยู่ ป.5-6 เคยมาแสดงอับดุลช่วงปิดเทอม เมื่อย้ายตลาดนัดบริเวณสนามหลวงไปที่จตุจักจึงเลิกแสดง และมีโอกาสเข้า กทม.อีกครั้งตอนเรียน ปวช.ที่เทคโนโลยีสยาม เรียนจบกลับไปช่วยแม่ขายก๋วยเตี๋ยว และเหตุการณ์ที่ทำให้เขาผันตัวเองเข้าสู่การเป็นคน “ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ก็คือทะเลาะกับพ่อ จึงออกจากบ้านมาหางาน รับจ้างทั่วไป แต่โชคไม่ดีประสบอุบัติเหตุตอนรับจ้างต่อสายโทรศัทพทำให้ตาข้างซ้ายบอด จึงออกตระเวนหางานไปตามจังหวัดต่างๆเกือบทั่วประเทศ
ชัยวุฒิต่างจากคนที่ท้องสนามหลวงทั่วไปตรงที่ยังคงไปกลับบ้านต่างจังหวัดเป็นประจำ เขาเล่าว่าจากสนามหลวงเดินไปนั่งเรือที่ท่าวังหลัง(ศิริราช)ข้ามฟากไปสถานีรถไฟบางกอกน้อย จากนั้นนั่งรถไฟฟรีไปจนถึงนครศรีธรรมราช แล้วต่อรถโดยสารเข้าบ้าน รวมค่าเดินทางทั้งหมด 47 บาท
ชัยวุฒิ บอกว่า สงกรานต์นี้ไม่กลับบ้าน เพราะเป็นช่วงทำรายได้จากการเก็บขวดขาย แต่เขาก็บอกว่าสงกรานต์กรุงเทพฯ ไม่สนุกเหมือนต่างจังหวัด
“จากที่เคยตระเวนไปทั่วประเทศ ชอบสงกรานต์กาญจนบุรี เค้ามีประเพณีสาดน้ำขึ้นบก คือคนในแพก็จะสาดน้ำขึ้นมาหาคนบนฝั่ง และคนบนฝั่งก็จะสาดน้ำลงไป เมื่อเล่นน้ำจนเย็นแล้ว ก็จะล่องแพต่อ แพเทคที่เปิดเพลงเต้นกันสนุกสนาน ความมันแบบนี้หาที่อื่นไม่ได้จริงๆ”
{mosimage} จอน สมใจเรา บ้านเกิดอยู่ที่ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ถ่ายทอดประสบการณ์ก่อนมาอาศัยสนามหลวงเป็นแหล่งพักกายให้ฟังว่า ตอน ม. 1 หนีครูเข้ากรุงเทพฯ ไปสมัครงานที่เยาวราช จากนั้นย้ายไปทำงานแถวลาดพร้าว แต่นายจ้างจ่ายเงินไม่ครบเลยออกมาตั้งหลักที่สนามหลวง ปัจจุบันมีอาชีพขายของเก่ากับสามี และลูก 2 คนรายได้ ต่อวัน เฉลี่ย 2-3 พันบาท สงกรานต์ปีนี้เลือกที่จะไม่กลับบ้าน เพราะของเยอะ ต้องอยู่เฝ้าและขายให้ของน้อยกว่านี้ก่อน ซึ่งคาดว่าหลังสงกรานต์จะกลับบ้านไปเยี่ยมพ่อและแม่
“เล่นสงกรานต์ที่สนามหลวงนี่ละ ที่กิน นอน ขายของ ที่เดียวกัน ความจริงชอบสงกรานต์ที่บ้านนะเพราะเจอญาติพี่น้องสนุกกว่า แต่มันเลือกไม่ได้ ต้องเอาเงินไว้ก่อน อยู่นี่อย่างน้อยๆ ก็ยังได้วันละ 2-3 พัน ขายของเก่าที่เค้าเก็บมาจากขยะบ้าง 20-30 แต่บางอย่างเราก็ไปซื้อที่คลองถมมาขายได้กำไรพอสมควร”
นายป้อม(นามสมมุติ) อายุ 36 ปี บ้านเกิดที่โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร มีลูกสาว 1 คน เล่าว่า เมื่อก่อนแม่ไม่ให้มา ตัวเองไม่มีเงิน ตัดสินใจเดินจากพิจิตรถึงนครสวรรค์ ใช้เวลาวันครึ่ง ระหว่างทางกินน้ำรอยตีควายและมะม่วงริมทาง พอถึงนครสวรรค์เก็บขวดขายได้เงิน 20 บาท เลยซื้อตั๋วรถไฟมาลงดอนเมือง พอถีงดอนเมืองก็แกล้งหลับจนถึงหัวลำโพงและเดินเท้าต่อจนถึงสนามหลวง โดยยึดอาชีพเก็บขวดพลาสติกขายมากว่า 10 ปี ด้วยคติที่ว่า “เก็บขวดขายดีกว่า ขอเงินเค้ากิน เพราะมันมีศักดิ์ศรีมากกว่า” แต่ถึงแม้จะมีรายได้ แต่ป้อมก็ไม่มีเงินเก็บ สาเหตุมาจากสุรา
“วันนึงมีรายได้เฉลี่ย 3-4 ร้อยบาทนะ แต่ต้องซื้อเบียร์ช้างกินอย่างน้อยวันละ 2 ขวด ทุกวันนี้ก็คิดถึงลูกสาวที่ไม่ได้เจอหน้ากันนานหลายปี ตั้งใจว่าหลังจากสงกรานต์นี้จะกลับบ้าน ไปหาลูกเพราะคิดถึงลูก”
เอ (นามสมมติ) อายุ 48 ปี บ้านเกิดอยู่ที่จังหวัด สุรินทร์ ปัจจุบันมีอาชีพขายบริการ เธอเล่าที่มาว่าตอนเข้ามากรุงเทพใหม่ๆ มีผู้ชายชวนไปกินข้าวและถามว่าอยากได้เงินมั๊ย จะให้ 3,000 แต่ต้องไปต่อกับเค้า เธอยอมรับว่าตอนนั้นอยากได้เงินเลยตามไป สุดท้ายก็เข้ามาทำอาชีพนี้ด้วยความจำใจ เนื่องจากต้องการให้ลูกเรียนจนจบปริญญาตรี จะได้ไม่ต้องลำบากเหมือนตนเอง
“ทำงานแบบนี้บางทีเจอผู้ชายโรคจิต บางครั้งตบตีเรา ก็ต้องสู้หาทางหนีออกมา ต้องทน อยากให้ลูกเรียนสูงๆจะได้ไม่ลำบาก ที่ทำอยู่ได้เงินเดือนนึงเฉลี่ย 12,000 บาท เช่าบ้าน 1,500 บาท ค่ารถเมล์อีกเล็กน้อย ที่เหลือส่งกลับบ้านให้ลูกหมด แต่ที่มาทำนี่ไม่ให้เค้ารู้นะ พอลูกเรียนจบก็จะเลิกและกลับไปอยู่บ้านแล้ว”
เอบอกสนามหลวงเป็นที่ทำงานของพวกเธอ ถ้าปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว อยากให้คนที่อยู่ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด จะได้น่าอยู่ต่อไป ซึ่งสงกรานต์ปีนี้เธอยังคงมุ่งมั่นกับอาชีพที่ทำอยู่ เพื่อมีเงินส่งลูกเรียน
ประสบการณ์ “คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ที่ท้องสนามหลวง มีที่มาแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนในชนบทที่เข้ามาแสวงโชคในเมืองหลวงด้วยเหตุผลต่างๆกันไป หลายคนไม่ได้กลับบ้านเกิดมานานจนกลายเป็นภาพความทรงจำ รวมทั้งสงกรานต์ปีนี้ที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังคงมีสนามหลวงเป็นทั้งบ้านและที่ทำมาหากิน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น