25 มกราคม 2555
23 มกราคม 2555
คุณมองเห็นและรับรู้ไหม
คำถามแรกที่ อยากถามสังคมกลับ คือ คุณรู้ไหมว่ามีคนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ......????
คำตอบที่เจอคือรู้ รู้แล้วอย่างไร ก็แค่รับรู้ ไม่ได้เกี่ยวข้อง แต่คุณรู้ไหมว่าสิ่งที่คุณมองว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องนั้น ถ้าวันหนึ่งของในครอบครัวคุณ ออกมาอยู่ในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม เช่น ความจำเสื่อม มีอาการทางจิต หรือต้องหายออกจากสังคม
ที่เขาเคยอยู่ เคยเป็น เคยมี คุณจะตามหาไหม หรือเพียงแค่รับรู้เฉลย
หลายคนบอกว่า คนเหล่านี้ รักอิสระ ???? ในความเป็นจริงมันจริง ๆ หรอ คำว่า "รักอิสระ"เป็นคำที่สังคมยัดเหยียดให้เขาเองหรือเปล่า พอตัดสินเขาเองว่าเขารักอิสระ ไม่ชอบมีกฏเกณฑ์ พอมีนักข่าวลงมาสัมภาษณ์ คนที่อยู่ในที่สาธารณะก็จะบอกทันทีว่า รักอิสระ เพราะไม่อยากตอบคำถามให้มาก เท่านั้นแหละจบ นักข่าวก็จะไม่ถามต่อ ก้กลายเป็นว่า รักอิสระ คนเหล่านี้รักอิสระ แต่สุดท้ายที่เราอิสรชนลงพื้นที่ใช้เวลากว่า 10 ปี ในการทำงานในพื้นที่ ที่เรียกว่า เขาเป้นเหมือนญาติ เหมือนเพื่อน ที่เขาพร้อมพูดคุยกับเราได้ทุกเรื่อง เอาเข้าจริงไม่มีใครเลยรักอิสระ
อย่างลุงชัยพร ที่จบป.โท จากเมืองนอก มาเร่ร่อนที่สนามหลวง ที่เพิ่งลงข่าวไทยรัฐ ดูเหมือนว่าสุดท้ายบทสรุปคือรักอิสระ อยู่คนเดียว เข้ากับใครไม่ได้ แต่จริง ๆ พอลึกลงไป คือปมปัญหาครอบครัว ที่ทำให้เขาสุดท้ายก็ไม่กลับสู่ครอบครัว ที่กลับไม่ได้ มันไม่เหมือนเดิม ถึงแม้จะเจอลูก เจอญาติ แต่ก็ไม่เหมือนเดิม คนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ทุกคน ย้ำว่าทุกคนมีปม ที่ทำให้ตนต้องออกมาจากบ้าน ภาวะการกดดันจากครอบครัว ความคาดหวัง การกดทับ ในสังคมครอบครัว จนกลายเป็นสังคมชุมชน ทำให้คนคนหนึ่งต้องทำตัวหายสาบสูญ ไม่มีตัวตนในสังคมดีกว่า
มาต่อด้วยการดื่มเหล้า ทุกคนมีปัญหาดื่มไหม โดยส่วนใหญ่ดื่ม ก็ไม่ต่างกัน คุณดื่มไวน์ราคาเป็นแสน กับเหล้าขาวราคา 40 บาท ก็เมาเหมือนหมาเช่นกัน แต่อาจจะเมาคนละทีคนละทาง หรือบางที คนรวยก็มาเมากับคนข้างถนน เพราะออกจากร้านมาเจอกัน คุยกันถูกคอ ในเมื่อประเทสยังขายเหล้าก็คงตัดสิ้นคนจากการดื่มไม่ได้หรอ เขาไม่มีเพื่อน เหล้าก็คือเพื่อน กินเพื่อลืม กินเพื่อนอนให้ได้ในข้างถนน ต่าง ๆ นานา
คำถามต่อมา คุณเคยเห็นเขาบ้างไหม .....???
สิ่งที่ อิสรชนอยากให้คุณเห็นคือ เห็นว่าเขาคนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เป็นคนเท่ากันกับเรานี้แหละ มี 32 เท่ากัน มีสิทธิความเป็นคนเท่ากัน แต่สิ่งที่เขาไม่มีคือ เขาไม่มีเสียงที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือเรียกร้อง บอกกล่าว หรือรับรู้ ในสิ่งที่เขาควรได้ตามสิทะิของเขา เช่น ยามเจ็บป่วย ตัวมอมแมม ไม่อาบน้ำ สถานพยาบาลส่วนใหญ่ด่านแรกก็ไม่รับและ ไล่กลับ ด่า มองว่าเป็นคนบ้า เพียงเพราะอะไร เพราะทัศนคติ ที่ตัดสินคนจากภายนอก หลายคนคงเคย ถ้าคุณแต่งตัวบ้าน ๆ ไปในที่หรูหรา หรือแค่สถานพยาบาล สถานราชการ ก็ถูกมองแต่หัวจรดเท้า แต่ถ้าแต่งอย่างหรูหรามีระดับ คุณจะเป็นเทวดาทันที การเลือกปฏิบ้ติมีทุกที
เมื่อเร็ว ๆ พยาบาลท่านหนึ่งจากจุฬาฯ ลงมาในพื้นที่ มาพูดคุย อึ้งว่าทำไหม สนามหลวง เหมือนมีบริการ ที่ครอบวงจร แต่ไม่มีหน่วยสถานพยาบาลใด ๆ ลงมาเลยสักครั้ง แต่ละเดือน มีคนตายข้างถนน ที่สังคมไม่เคยรับรู้เลย เฉลี่ยเดือนหนึ่งอย่างน้อย 1-2 คน ตายไม่ได้ตาย เพราะตัวตาย แต่กลายเป็นนาย นาง ไม่ทราบชื่อ ถูกเป็นศพไร้ญาติ แต่ตามทะเบียนบ้านก็ยังมีชื่ออยู่ วันดีคืนดี ชื่ออาจถูกสวมสิทธิ เป็นปัญหาระดับชาติ ทางความมั่นคง แต่ทุกรัฐบาลก็มองข้าม เพียงเพราะนักการเมืองเหล่านี้เข้าใจว่า คนเหล่านี้ ไม่มีสิทะิมีเสียง แต่ทุกครั้งคนเหล่านี้มีโอกาส เขาได้ทำบัตร เขาก็จะใช้สิทธิเสมอ แต่คุณก็มองเขาเสมอ อืม....
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่ง ที่เรามาเล่าสู่กันฟัง แต่ยังมีเรื่องราวอีกมากมายในพื้นที่ พร้อมบอกต่อให้สังคมรับรู้ แค่ปลายจมูกที่มองว่าสวยงาม แต่ถูกกลบไว้ ทั้งที่ข้างในเป็นซิลิโคนที่เน่าแฟะ
สิ่งที่อิสรชนอยากจะบอกก็คือ มนุษย์ ทุกคนอยู่หได้เพราะมีเพื่อนเท่านั้น ความเป็นเพื่อนจะทำให้คนคนหนึ่งกล้าที่จัยืน กล้าที่จะเดิน เพราะเขารับรู้ไม่ได้อยู่คนเดียว แต่คุณมีเพื่อนที่อยู่กับเขา จำไว้ ว่าเพื่อน สำคัญที่สุดในการทำงานและการดำรงชีวิต สุดื้ายนี้ อิสรชนก็ต้องการเพื่อนจากสังคมในการแบ่งปัน เพื่อในเพื่อนอย่างอิสรชน ได้ทำงานเป็นเพื่อนกับคนข้างถนน ให้เขามีเพื่อน มีสิทธิที่เขาควรได้รับ ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่เท่ากันในสังคม
ซินเจียยู่อี่ ซินนี่ฮวดไช้ เฮงๆ ร่ำรวยๆ ทุกท่านใครอยากแบ่งปัน ความสุข แบ่งปันรอยยิ้ม ให้อั่งเปา คนสนามหลวง
1. สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เลขที่บัญชี 031-0-03432-9 ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า หรือ
2. มูลนิธิอิสรชน 182-2-16241-6 ธ.ทหารไทย สาขาทองหล่อ เราเชื่อว่าการแบ่งปันไม่มีที่สิ้นสุด
โทร 086-687-0902
ทานเพื่อคนยากไร้เป็นมหาทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมหาทานหนึ่ง
12 มกราคม 2555
เด็กเร่ร่อน ปัญหาที่ยังคงอยู่
จากสถานการณ์ประเทศไทยที่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมานั้นส่งผลกระทบโดยรวมสู่ประชากรทุกระดับชั้น ทำให้เกิดสภาพของปัญหาสังคมที่มีอยู่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ยากจนและด้อยโอกาส ที่มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด อพยพเข้ามาแสวงหางานทำในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร จึงเกิดความหลากหลายของปัญหาและอาชีพ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ย่านชุมชนแออัด ริมคลอง ริมทางรถไฟ ใต้สะพาน สะพานลอย ที่สาธารณะ สถานีขนส่ง เป็นต้น และหรือที่รู้จักกันในนาม เด็กเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง คนพเนจร ขอทาน และที่พบมากอีกกลุ่มคือ ครอบครัวเร่ร่อน กลุ่มคนเหล่านี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นปัญหาต่อสังคม กล่าวคือมีพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่เสี่ยงและเกี่ยวพันกับเรื่องการแพร่ระบาดยาเสพติด โรคเอดส์ มั่วสุมอบายมุขต่าง ๆ เป็นกลุ่มมิจฉาชีพ ก่ออาชญากรรม มีพฤติกรรมที่รุนแรง ชอบความเป็นอิสระ หรือบางครั้งต่อต้านสังคม จากพฤติกรรมดังกล่าวก็เพื่อได้มาในปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพถึงแม้จะต้องเสี่ยงกับภัยอันตรายหรือความปลอดภัยต่อชีวิตแต่ก็ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า จึงเกิดปัญหาต่อสังคมดังกล่าว รวมทั้งการขาดความรู้ ด้อยโอกาสทางการศึกษา ไร้ญาติมิตร ตลอดจนมีปัญหาจากครอบครัวแตกแยกขาดความรักความอบอุ่น เร่ร่อนอยู่ในสังคมกับกลุ่มต่าง ๆ แม้ว่าจะมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2545 แต่สภาพปัญหากลับทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น สืบเนื่องมาจากการแข่งขันกันประกอบอาชีพ ทำให้ พ่อแม่ ไม่มีเวลาให้กับเด็กและเยาวชนในครอบครัว เด็กและเยาวชนจึงมีความรู้สึกขาดความอบอุ่น ขาดที่ปรึกษาพูดคุย หันไปรวมกลุ่มกันเพิ่มมากขึ้น แต่ อยู่ในรูปแบบของการเร่ร่อนแอบแฝงมากยิ่งขึ้น
เด็กเร่ร่อนบริบทที่เปลี่ยนไป
เด็กเร่ร่อนในทุกวันนี้ พฤติกรรมการดำรงชีวิตได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก จากที่มีเพียงอาชีพ ขอทาน ขายดอกไม้ ขายทิชชู่ และเนื้อตัวสกปรกมอมแมม พักอาศัยตามซอกหลืบที่สาธารณะต่าง ๆ ปรับมาสู่การดำรงชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติมากยิ่งขึ้น แต่ การได้มาของรายได้ กลับทวีความรุนแรงและน่ากลัวมากยิ่งขึ้น เด็กหลายคนก้าวเข้าสู่ขบวนการค่ายาเสพติด ในฐานะ ของ ผู้เสพ เด็กเดินยา หรือบางคน เป็นถึงเอเยนต์ค้ายา เนื่องมาจาก ขบวนการยาเสพติด ต้องการจะหลบเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีบ้างที่เด็กเร่ร่อนบางคนบางกลุ่ม ที่พัฒนาตัวเองและ ก้าวสู่เส้นทางที่ดีกว่าวิธีการดังกล่าวข้างต้นในการดำรงชีวิต แต่ มีการพัฒนาตัวเองในด้านทักษะต่าง ๆ บางคน เป็นพนักงานขับรถท่องเที่ยว พานักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวระยะไกล จากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดภาคใต้ บางคน บางกลุ่มรวมตัวกันฝึกฝนกิจกรรมทางศิลปะ แล้วนำไปจำหน่ายเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง
ความร่วมมือจากสังคม
ในขณะเดียวกันสังคมที่เด็กต้องอาศัยอยู่ต่อไปเองก็ต้องมีมาตรการในการรองรับการคืนกลับเด็กเข้าสู่สังคม ภายหลังที่เด็กได้รับการฟื้นฟูสภาพจิตใจ และพัฒนาศักภาพ และพร้อมที่จะกลับสู่ ครอบครัว ชุมชน สังคม ที่เขาอาศัยอยู่ สังคมเองต้องไม่ตัดสิน แบบตีตรา หรือพิพากษาเด็ก กล่าวคือต้องให้โอกาสในการพิสูจน์ตัวเองของเด็ก และที่สำคัญต้องยอมรับในศักยภาพที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ต้องยอมรับว่า เด็กมีความพร้อมจริง ๆ ที่จะกลับมาใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมอย่างปกติ และพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการพัฒนาชุมชน สังคม ที่เด็กอยู่ร่วมด้วย
ความต้องการและการแก้ไขจากภาครัฐ
ถ้าถามว่าภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทอย่างไรในปัญหานี้ แน่นอนที่สุด รับต้องเข้ามาสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง การสร้างทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับเด้กที่มีความต่างในความสนใจด้านการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กส่วนหนึ่ง ที่ต้องออกมาเร่ร่อน ตามที่สาธารณะนั้น นอกจากจะมีความไม่สบายใจเมื่ออยู่กับครอบครัวแล้ว ยังมีส่วนหนึ่งมีความเบื่อหน่ายในระบบการเรียนรู้ที่มีอยู่น้อยเช่นในปัจจุบัน จึงทำให้เลือกที่จะออกมาเรียนรูกับโลกกว้างภายนอก นอกจากนี้รัฐจำเป็นต้องสร้างงานที่หลากหลายเหมาะสมกับศักยภาพที่เด็กมีและต้องสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มรายได้ขยายฐานของลูกค้า ตลอดจนส่งเสริมในการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนารูปแบบสินค้าหรือบริการเมื่อเด้กได้คินค้น และ ดำเนินอาชีพตามที่ตนเองถนัดแล้ว เพื่อป้องกัน การเกิดใหม่ของครอบครัวเร่ร่อนถาวร อีกทั้ง ด้านการส่งเสริม รัฐสวัสดิการ ที่ มีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมสามารถเข้าถึง รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม และที่สำคัญ ต้องมีการส่งเสริมในการค้นหาและแก้ไขปัญหานี้ที่ต้นตอโดยตรง
กลไกทางสังคมที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา
กลไกหนึ่งที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อน ที่นอกเหนือจากกลไกทางภาครัฐและสังคมที่ต้องได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมแล้ว กลไกอีกประการหนึ่งที่สำคัญ เห็นจะหนีไม่พ้น กลไกทางสังคม ที่ภาคเอกชน ทั้งที่แสวงหากำไร และองค์ที่ไม่แสวงหากำไร ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณที่จะนำไปขับเคลื่อนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่น ให้ได้ขับเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนช่องทางในการประกอบอาชีพ และ การสนับสนุนทุนในการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กโดยตรง ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่ควรจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในการร่วมแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน
ทางออกสุดท้ายอยู่ที่ครอบครัว
แล้วอะไรล่ะคือต้นตอปัญหานี้ คำตอบที่เป็นอมตะตลอดกาลก็คือ ครอบครัวนั่นเอง ทำไมถึงต้องโยนไปให้ครอบครัว ก่อนอื่นต้องยอมรับก่อนว่าครอบครัวคือสถาบันแรก ที่เด็กซึมซับและเรียนรู้จากครอบครัว แทบจะเรียกได้ว่าครอบครัวเป็นอย่างไรเด็กก็จะเป็นแบบนั้นเลยทีเดียว แล้ว ครอบครัวจะช่วยลดปัญหาสังคมได้อย่างไร นี่ล่ะคือเรื่องใหญ่ที่ครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างสบาย ๆ เพียงแต่ให้ความใส่ใจในการมีส่วนร่วมกับปัญหานี้อย่างจริง ๆ จัง ๆ เท่านั้นครอบครัวจะทำอะไรได้บ้าง ครอบครัว หรือคนในครอบครัวต้องเข้าใจก่อน นะว่าเด็กคือสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของครอบครัวไม่เพียงวัตถุในครัวเรือนที่ใครจะ ทำอะไรก็ได้โดยไม่ใส่ใจความรู้สึกของเด็ก พ่อหรือแม่ต้องรู้ว่าเด็กในวัยต่าง ๆ ต้องการอะไรแล้วลองนึกย้อนเปรียบเทียบกับตัวเองว่าสมัยที่ตนเองยังเด็กนั้นต้องการให้ผู้ใหญ่ทำอะไรให้ตัวเองบ้าง ไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่ขัดใจตนเองเรื่องอะไรบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เลี้ยงเด็กในครอบครัวแบบตามใจไปเสียทุกอย่าง หากตัวเราเองในสมัยเด็กเชื่อว่าเราเองเป็นคนมีเหตุผล เด็กสมัยนี้ก็เป็นเช่นนั้น ก็ต้องลองใช้เหตุผลคุยกันเพื่อหาข้อสรุปให้ทุกฝ่ายมีความสุขกับข้อสรุปนั้น ๆสำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบแล้วล่ะ จะทำอย่างไร การเยียวยาสำคัญที่สุด ครอบครัวต้องไม่ซ้ำเติมเด็กแต่ต้องให้กำลังใจเพื่อที่เขาจะได้มีแรงสู้ต่อไป อะไรที่ผ่านเลยมาแล้วก็ให้มันผ่าน ๆ ไปอย่าเก็บเอามาใส่ใจ หรือ พูดทับถมเด็กอีกเป็นอันขาดเพราะเด็กได้รับบทเรียนที่สาสมพอตัวอยู่แล้วก้าวย่างต่อไป ต้องให้ครอบครัวคอยเป็นกำลังใจอย่างใกล้ชิด แต่ก็อย่าชิดมากจนเกินอบอุ่น และกลายเป็นความร้อน หรือรำคาญมากจนเกินไป ต้องรักษาจังหวะและความห่างให้ดี เพื่อที่เด็กเองจะได้รู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย และไม่โดนควบคุมมากจนเกินไป ครอบครัวนอกจากจะเป็นสถานที่แห่งแรกในการบ่มเพาะนิสัยให้เด็กแล้วท้ายที่สุดครอบครัวเองก็ยังจะเป็นสถานที่สุดท้ายที่จะเยียวยาให้แก่เด็กที่ผ่านพ้นสภาพปัญหาและแรงกดดันจากภายนอกมา ดังนั้นผู้ใหญ่เองนั่นล่ะต้องคอยทบทวนตัวเองและอย่าได้ลืมความเป็นเด็กของตัวเองไปเป็นอันขาด เพราะเมื่อใดก็ตามผู้ใหญ่ลืมความเป็นเด็กของตัวเองไปเสียแล้ววันนั้นผู้ใหญ่ ก็จะไม่ต่างอะไร กับศาลที่คอยพิพากษาเด็กด้วยความไม่ยุติธรรมแล้วเด็กจะไปพึงใคร เมื่อพึ่งคนในครอบครัวตัวเองไม่ได้แล้ว
สถานการณ์เด็กไทยปี 2555 : เด็กข้างถนน คนที่ถูกละเลย
วันเสาร์สัปดาห์ที่สองของเดือนมกราคมทุกปี เป็นวันเด็กของประเทศไทย จะเป็นวันที่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคธุรกิจออกมาตบเท้าจัดกิจกรรมสำหรับเด็กกันอย่างทั่วหน้า ดูภายนอกก็น่าจะอมยิ้มได้เล็ก ๆ ที่สังคมไทยยังไม่ลืมเด็ก แต่ในขณะที่เด็กหลายคนมีโอกาสสนุกสนานไปกับแผนการตลาดของภาคธุรกิจและภาคราชการที่จัดกิจกรรมวันเด็ก ก็จะเห็นว่าไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น ยังมีเด็กอีกจำนวนหนึ่งไม่มีโอกาสแม้จะย่างกรายเข้าไปในพื้นที่การจัดกิจกรรมวันเด็กในหลาย ๆ ที่ ยังมีการแสดงอาการรังเกียจเด็กที่แต่งตัวมอมแมมที่เข้ามาร่วมกิจกรรมกับลูกหลานของตัวเอง ?
เด็กเร่ร่อน เด็กไร้บ้าน เด็กข้างถนน หรือแม้แต่เด็กที่อยู่อาศัยในชุมนแออัดในเขตเมืองใหญ่ ๆ เมื่อเขาไปร่วมกิจกรรมวันเด็กที่ผู้ใหญ่ใจดี(เขาอ้างตัวเช่นนั้น)จัดให้ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในห้างสรรพสินค้า หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค ยังมีการเลือกปฏิบัติกับเด็กกลุ่มนี้อยู่ ยังไม่รวมพ่อแม่ผู้ปกครองที่พาลูกหลานของตนเองเข้าไปร่วมกิจกรรม จะแสดงอาการรังเกียจและกีดกันและสอนสั่งไม่ให้ลูกหลานของตนเองเล่นคลุกคลีกับเด็กกลุ่มดังกล่าว ซึ่งนั่นคือการปลูกฝังการแบ่งชนชั้นในสังคมเชิงประจักษ์ให้กับตัวเด็กอย่างชัดเจน
จากประสบการณ์การทำงานกับเด็กกลุ่มดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าในกลุ่มเด็กกันเองเขาไม่ได้มีความรู้สึกรังเกียจกันเองเด็กสามารถเล่นกับเด็กเองได้อย่างสนุกสนานไร้กรอบไร้พรมแดนทางฐานะและกายภาพ จะมีก็แต่พ่อแม่ผู้ปกครองเองนี่ละที่จะแสดงอาการรังเกียจเด็กที่เนื้อตัวไม่ค่อยสะอาดแต่งตัวมอมแมมกว่าลูกหลานของตัวเอง ?
ในความเป็นจริงเด็กก็คือเด็กรอยยิ้มที่สดใสไร้เดียงสา ไม่ได้มีความคิดเรื่องชนชั้นฐานะร่ำรวยหรือยากจน เขาสามารถร่วมสนุกกันได้อย่างกลมกลืนและดูเป็นกันเอง สามารถสร้างรอยยิ้มและสามารถดึงภาพในอดีตของผู้ใหญ่หลาย ๆ คนกลับมาได้อย่างน่าประหลาด
สังคมไทยไม่ควรจะใส่เด็กเฉพาะสัปดาห์ที่สองของเดือนมกราคมเท่านั้น แต่ควรทำให้ทุกวันเป็นวันเด็ก ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งบูรณาการเพื่อเด็กสร้างการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่เด็กมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างแท้จริง สังคมไทยต้องไม่มอมเมาเด็กด้วยรายการที่อ้างอิงเรื่องเหลือเชื่อเน้นไสยศาสตร์มากกว่าพุทธศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญสังคมต้องมองเห็นเด็กทุกคน ทุกกลุ่มในสังคมอย่างเสมอภาคและเท่ากัน
10 มกราคม 2555
การทำงานในพื้นที่
คุณคิดว่าเขารักอิสระ หรือเป็นเพียงคำที่คุณนิยามให้เขา ทั้งที่ไม่รู้ว่าปมชีวิตทำไม???? เขาต้องออกมาอยู่นอกบ้าน คำถามที่ยังรอคำตอบ หนึ่งรอยยิ้มที่ยังรอการแบ่งปันจากคุณ เราเชื่อว่าการแบ่งปันของคุณไม่มีวันสิ้นสุด
ร่วมแบ่งปันการทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้ที่ 031-0-03432-9 ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชื่อสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
ร่วมแบ่งปันการทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้ที่ 031-0-03432-9 ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชื่อสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
2 มกราคม 2555
จากเหนือสุดสู่ใต้สุดแดนสยาม กลับมองข้ามผ่านคนยากใกล้ตัว
มองภาพข่าวการที่อาสาสมัครคนกรุงหลายคนหลายองค์กรออกเดินทางไปเป็นอาสาสมัครในถิ่นที่เรียกว่า ทุรกันดาร ไปทั้งเมืองเหนือสูงสุดปลายดอย บุกเข้าไปในป่า ลอยทะเลไปกลางเกาะ เพื่อไปทำงานที่เขาเชื่อและเรียกมันว่า อาสาสมัคร ?? โดยที่ในอีกมุมหนึ่งคนกรุงเหล่านี้ กลับมองข้ามผ่านบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ใกล้ ๆ กับถิ่นที่เขาอยู่กันเอง ?? กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร มหานครที่มีเชื่อเสียงระดับโลก ที่เป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางของการบริหารหลายสิ่งหลายอย่าง ที่มีสถานที่สำคัญของสามสถาบันชาติตั้งอยู่ มีพระบรมมหาราชวัง มีรัฐสภา มีศาลฏีกาสูงสุด มีกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ รวมกันอยู่ที่นี่ และในขณะเดียวกันกับที่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ กรุงเทพมหานคร ก็มีคนรากหญ้ารากฝอย อยู่ในที่แห่งเดียวกันนี้ด้วย ??
แทบทุกพื้นที่ของที่สาธารณะในเขตเมืองหลวงแห่งนี้จะคราคร่ำไปด้วยผู้คน ที่ได้รับการขนานนามจากนักวิชาการ จากภาคราการ จากสื่อมวลชน จากคนทั่วไป ไปต่าง ๆ นานา คนเร่ร่อนบ้าง คนไร้บ้านบ้าง คนเร่ร่อนไร้บ้าน ไปจนถึงบางคนเรียกว่าคนจรจัด ?? เราเองก็ใช่ย่อยพยายามสร้างวาทกรรมใหม่ที่เวลาแปลออกมาเป็นภาษาอังกษดันไปถูกตาต้องใจเข้าว่า ผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ...
ไม่ว่าจะเรียกขานเขาอย่างไรก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่า คนกลุ่มนี้ ไม่เคยได้รับการเหลียวแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง หรือ ปฏิบัติกับเขาเหมือนคน ๆ หนึ่งที่มีสิทธิ์มีเสียงเท่ากับคนอื่น ๆ แต่กลับได้รับการยัดเยียดความช่วยเหลือผ่านมาตรการที่รัฐเป็นคนคิดค้นการให้ความช่วยเหลือขึ้นมาเอง ไล่ตั้งแต่ การไล่กวด กาวดจับ ไล่ต้อนมาลงทะเบียน จับขึ้นรถ พาไปอยู่ที่ ๆ เรียกกันว่า สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึงบ้าง บ้านกึ่งวิถีบ้าง และที่สำคัญที่กล่าวถึงเรื่องนี้ทีไรอดที่จะกล่าวถึงไม่ได้ คือการจับแยกคน แยกครอบครัวออกจากกัน พ่อไปทาง แม่ไปทาง ลูกไปทาง อ้างว่าเพื่อง่ายต่อการดูแล แต่ ไม่นึกถึงความเป็นครอบครัว
บางครั้งก็น้อยใจแทนเขาเหมือนกันเมื่อดูภาพข่าว คนในสังคมทุกระดับ ทุกชนชั้น ไปช่วยเหลือคนไทยในที่อื่น ๆ แต่กลับลืมคนที่อยู่แค่ปลายจมูก คนที่ เวลามีขบวนเสด็จขับผ่าน สนามหลวงหรือคลองหลอด จะชะเง้อมองพนมมืออย่างเคารพบูชาสุดเศียรสุดเกล้า หรือขบวนบุคคลสำคัญในรัฐบาลคนอื่น ๆ ผ่าน ก็จะ ยืนตัวตรงแสดงความเคารพ โดยที่ ไม่เคยมีใครรับรู้หรือเหลียวมองคนกลุ่มนี้เลยแม้แต่น้อย แต่ในขณะเดียวกัน หากมีงานอะไรสำคัญ ๆ ที่ต้องใช้พื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร คนกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่จะต้องมีการจัดการให้ ออกไปจากพื้นที่ที่เขากินอยู่หลับนอนเติบโตที่นี่ ?? เพียงเพื่อจัดฉากต้อนรับแขก ?? หรือ เมื่อใดพ่อเมืองกรุงเทพมหานคร อยากจะแสดงผลงาน แสดงพละกำลังแสดงอำนาจ การประกาศจัดระเบียบพื้นที่สาธารณะดูจะเป็นสีสันแรก ๆ ที่ พ่อเมืองแต่ละคน จะลงมือทำอย่างไม่ค่อยจะรีรออะไร ??
และเมื่อย้อนกลับมาพูดถึงงานอาสาสมัครที่จะหาคนลงมาทำงานแบบจริงจังไม่ฉาบฉวย ยิ่งหายากกันเข้าไปใหญ่ เพราะ เมืองหลวงแห่งนี้ ไม่มีภูเขาสูง ๆ ให้นั่งถ่ายรูปมาอวดเพื่อน ไม่มีอากาศดีดี ไม่มีเสียน้ำตก ไม่มีป่าไม้ ที่จะมีแรงดึงดุดพอจะให้คนที่อ้างจิตอาสามาทำงานกับพวกเขา มีเพียง ซากอารยะธรรมที่ ความเจริญกระแทกจิตวิญญาณของคน ๆ หนึ่งที่หอบหิ้วความหวังมาจากแดที่ห่างไกลออกไป มาพบความพ่ายแพ้ที่นี่ หรือบางคนก็ หนีความซ้ำซากจำเจจากความเจริญทางวัตถุที่บ้านที่จากมา มาหาความจริงใจ รอยยิ้มจากเพื่อนพ้องที่กินและนอนด้วยกันที่ข้างถนน มีแต่กลิ่นขี้กลิ่นเยี่ยวตลบอบอวลไปทั่ว แต่ที่มีอย่างหนึ่งที่ คนในเมืองที่ไม่เคยมาที่สนามหลวงจะไม่มีโอกาสได้สัมผัส คือ ความเงียบสงบ ลมเย็น ๆ เมื่อนั่งกลางสนามหลวง ใครจะเชื่อว่า เมื่ออยู่กลางสนามหลวง
บรรดาเสียงรถยนต์ ที่วิ่งกันขวักไขว่ จะมีเพียงเสียงแว่ว ๆ แถมยังมีลมเย็น ๆ ที่พัดมาเป็นระยะ ๆ ให้ได้หลับได้นอนอย่างมีความสุข ???
จะมีซักกี่คน ที่ใช้เส้นทางผ่านสนามหลวงคลองหลอดบ่อย ๆ จะหยุดรถ แล้วลงเดินมาทักทาย พลเมืองไทย ประชาชนอีกกลุ่มที่ อยู่ในประเทศเดียวกันกับเรา เพื่อให้ได้รับรู้กันและกันว่า ต่างฝ่ายต่างยังมองเห็นกัน ไม่ได้ลืมเลือนกันไป ???
ใครที่พอมีเวลา หนึ่ง หรือสองวัน ในแต่ละสัปดาห์ โดยเฉพาะวันอังคารและวันศุกร์ เวลาตั้งแต่ 13:00 น. เป็นต้นไปจนห้าโมงเย็นอาจจะแวะมาที่คลองหลอด มาพบกับอาสาสมัครกลุ่มเล็ก ๆ ที่ยังลงมาเรียนรู้ด้วยความสุขและสนุกในสิ่งที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายปี แล้วคุณเองอาจจะค้นพบความหมายอะไรบางอย่างของเมือง ของประเทศนี้ ที่คุณเคยเชื่อว่า คนด้อยโอกาสจะอยู่ในที่ ที่ห่างไกลความเจริญอย่างเมืองหลวงแห่งนี้เพียงเท่านั้น
สนใจร่วมสมัครเป็นสมาชิก
สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กร สาธารณประโยชน์) ยินดีรับสมัครสมาชิก หรือ อาสาสมัคร เพื่อร่วมกิจกรรมและแนว คิด รวมถึงการทำงานเพื่อสังคม
ใครสนใจสมัคร ยินดีนะครับ เราแบ่ง ประเภทของการสมัครไว้ ดังนี้ ครับ
1. สนับสนุรายเดือน ๆ ละ 100 บาท
2. สนับสนุนรายปี ๆ ละ 1,200 บาท ต่อการช่วยเหลือ 1 คน
3. สนับสนุนบริจาคข้าวของต่าง ๆ
โดย สนใจร่วมสร้างสิ่งดีดีเพื่อสังคมอุดมความดี และความพอ เพียง ติดต่อมา ที่ ....
สำนักเลขาธิการ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กร สาธารณ ประโยชน์)
19(17/58) ซอยกาญจนาภิเษก 10
แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2943 0690
www.issarachon.com
สามารถโอน เงินสดเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาปิ่น เกล้า
ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์ กิจกรรมอิสรชน
เลขที่บัญชี 031 – 0 – 03432 – 9
และแฟ๊กซ์ใบโอนเงินมาที่ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
1 มกราคม 2555
“ท้องสนามหลวง” บ้านของคนชนบทในเมืองกรุง
วันหยุดยาวติดต่อกันเมื่อไร คนกรุงทั้งแท้และไม่แท้ล้วนขวนขวายเดินทางออกต่างจังหวัด บ้างไปเที่ยวพักผ่อน หลายคนกลับภูมิลำเนา ทว่ายังมีคนอีกกลุ่มที่ไม่ได้ไปไหน พวกเขาคือผลพวงการพัฒนาประเทศที่ทำให้ผู้คนในชนบทอ่อนแอ จากชาวบ้านบ่ายหน้าเสี่ยงโชคชะตากลายเป็น “คนไร้บ้าน” ในเมืองกรุง การประกาศปรับภูมิทัศน์ท้องสนามหลวงมีผลต่อพวกเขาที่อาศัยสถานที่แห่งนี้เป็นเสมือนบ้านใหม่อย่างไร สงกรานต์และวันหยุดยาว พวกเขาได้กลับบ้านกันบ้างไหม
นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ซึ่งเป็นองค์กรอาสาสมัครช่วยเหลือคนด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาสที่อยู่ในภาวะวิกฤติ โดยมุ่งให้ความรู้เรื่องทักษะชีวิต ยาเสพติด เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นทีเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้องค์กรลงมาทำงานกับคนไร้บ้านสนามหลวงว่า…
“มีวันหนึ่งทำงานมาเหนื่อยมาก มาถึงสนามหลวงก็หลับไป ของมีค่าทุกชิ้นเอาขึ้นมาวางที่หน้าอกแล้วเอามือปิดไว้ พอเช้าพบว่ามีคนมานั่งเฝ้าของและก็เอาพัดมาพัดให้ เลยเกิดคำถามกับตัวเองว่า เขาเหล่านี้เป็นคนไม่ดีจริงเหรอ จากนั้นก็เริ่มลงมาพูดคุยให้ความรู้ อาศัยความเป็นเพื่อนทำให้เขากล้าเปิดใจ”
ส่วนอัจรา อุดมศิลป์ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมเยาวชนสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน กล่าวถึงคำนิยามของคนเร่ร่อนที่ลงตัวที่สุดคือ “คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” เพราะครอบคลุมทั้งหญิงขายบริการ คนไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน ตลอดจนคนที่มีความพิการทางสมอง เธอเล่าประสบการณ์ว่าช่วงแรกที่ลงมาทำงานในพื้นที่สนามหลวงเคยโดนทำร้ายจากกลุ่มคนเร่ร่อนเพราะความไม่เข้าใจ
“เข้าไปทีแรกเค้าเอาขวดเอาหินปาใส่เรา ตอนนั้นกลัว แต่ก็พยายามค่อยๆ เข้าไป ไปทุกวัน จนเค้าเริ่มชิน ตอนหลังถึงรู้ว่าที่เรากลัวเค้าเพราะเค้ากลัวเราเหมือนกัน เลยต้องหาทางป้องกันตัวเอง ทุกวันนี้คนในสนามหลวงก็เป็นเหมือนเพื่อนกันไปหมดแล้ว”
อัจราบอกว่า การแก้ปัญหาของ กทม. ด้วยการสร้างบ้านให้กลุ่มคนเร่ร่อนนั้น ไม่ใช่ทางออกที่ถูกจุด เพราะหลายคนมีบ้านแต่ยังไม่อยากกลับเพราะต้องการหาเงินก่อน เพราะตอนออกจากชนบทเข้ามาเมืองหลวง คนที่บ้านฝากความหวังไว้ แต่บางคนถูกโกงจากนายจ้าง ถูกบริษัทเลิกจ้าง สุดท้ายเลยมาใช้ชีวิตที่นี่
ขณะที่วิจิตรา พันธ์แสง หัวหน้าโครงการศึกษาปัญหาโรคสมองเสื่อมในประเทศไทย มูลนิธิกระจกเงา ที่เพิ่งลงพื้นที่ทำงานกับกลุ่มคนที่ท้องสนามหลวงได้เพียง 3 เดือน บอกว่าคนเร่ร่อนกว่าร้อยละ 30 ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือทำให้กลายเป็นบุคคลไร้ญาติในที่สุด
“มีคนป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เยอะมาก บางคนเริ่มมีอาการ คือจะจำได้เป็นบางช่วงเท่านั้น ซึ่งเวลาเราไปพูดคุย ต้องจำเรื่องที่เค้าเล่า ว่าเค้าจำอะไรได้บ้าง ล่าสุดเพิ่งไปดูกิจกรรมของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อจะนำมาใช้กับพวกเขา คิดว่าแค่กินยาอย่างเดียวไม่พอ ยาแทบไม่ได้ช่วยอะไร”
{mosimage} ป้าชนา ไปล่ชู มีสนามหลวงเป็นเสมือนบ้าน เพราะใช้ชีวิตที่นี่ตั้งแต่วัยสาว 25 จนกระทั่งอายุ 80 ทุกวันนี้ แกเล่าว่าบ้านเกิดอยู่ที่ จ.กำแพงเพชร มีพี่ชาย 1 คน น้องชาย อีก 2 คน ป้าเข้าเมืองหลวงกับญาติตั้งแต่อายุ 9 ขวบ โดยลงเรือเมล์จากกำแพงเพชรมาที่ปากน้ำโพนครสวรรค์ แล้วขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพฯ พออายุได้ 25 ปี จึงตัดสินใจออกจากบ้านญาติมาพึ่งพิงตนเองโดยเก็บขวดขายและอาศัยท้องสนามหลวงเป็นแหล่งพักพิงเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน รายได้ไม่แน่นอน เพราะสายตาเริ่มฝ้าฟาง แต่ยังโชคดีที่มีข้าราชการบริเวณนั้นหยิบยื่นข้าวและเงินเล็กๆน้อยๆให้
เมื่อถามว่าสงกรานต์ปีนี้จะกลับต่างจังหวัดไหม ป้าชนาย้อนความทรงจำว่าสงกรานต์ที่บ้านเกิดนั้นสนุกสนาน มีรำวงร้องเพลง ไม่เหมือนในกรุงเทพฯที่วัยรุ่นเอาแต่สาดน้ำ บางครั้งรุนแรงถึงขั้นมีเรื่อง ไม่เห็นสนุกตรงไหน แต่แกบอกว่าปีนี้ก็คงไม่ได้กลับบ้านเหมือนหลายสิบปีที่ผ่านมา
“ความจริงอยากกลับบ้านแต่พี่ชายเคยพูดว่า ถ้าไม่มีเงินก็ไม่ต้องกลับมา สงกรานต์ปีนี้ก็คงไม่ได้กลับ เพราะยังเก็บเงินได้ไม่เยอะ คิดว่าถ้ามีเงินถึง 3,000 บาท จะกลับเอาไปให้คนที่บ้านคนละ 50 บาท 100 บาทก็ยังดี ที่อยากกลับบ้านเพราะอยากไปเยี่ยมแม่ ไม่รู้ป่านนี้แม่ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า”
ชัยวุฒิ แสงส่ง อายุ 38 ปี บ้านเกิดอยู่ที่นครศรีธรรมราช เขาบอกว่าตัวเองมีความผูกพันธ์กับท้องสนามหลวงมาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะสมัยอยู่ ป.5-6 เคยมาแสดงอับดุลช่วงปิดเทอม เมื่อย้ายตลาดนัดบริเวณสนามหลวงไปที่จตุจักจึงเลิกแสดง และมีโอกาสเข้า กทม.อีกครั้งตอนเรียน ปวช.ที่เทคโนโลยีสยาม เรียนจบกลับไปช่วยแม่ขายก๋วยเตี๋ยว และเหตุการณ์ที่ทำให้เขาผันตัวเองเข้าสู่การเป็นคน “ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ก็คือทะเลาะกับพ่อ จึงออกจากบ้านมาหางาน รับจ้างทั่วไป แต่โชคไม่ดีประสบอุบัติเหตุตอนรับจ้างต่อสายโทรศัทพทำให้ตาข้างซ้ายบอด จึงออกตระเวนหางานไปตามจังหวัดต่างๆเกือบทั่วประเทศ
ชัยวุฒิต่างจากคนที่ท้องสนามหลวงทั่วไปตรงที่ยังคงไปกลับบ้านต่างจังหวัดเป็นประจำ เขาเล่าว่าจากสนามหลวงเดินไปนั่งเรือที่ท่าวังหลัง(ศิริราช)ข้ามฟากไปสถานีรถไฟบางกอกน้อย จากนั้นนั่งรถไฟฟรีไปจนถึงนครศรีธรรมราช แล้วต่อรถโดยสารเข้าบ้าน รวมค่าเดินทางทั้งหมด 47 บาท
ชัยวุฒิ บอกว่า สงกรานต์นี้ไม่กลับบ้าน เพราะเป็นช่วงทำรายได้จากการเก็บขวดขาย แต่เขาก็บอกว่าสงกรานต์กรุงเทพฯ ไม่สนุกเหมือนต่างจังหวัด
“จากที่เคยตระเวนไปทั่วประเทศ ชอบสงกรานต์กาญจนบุรี เค้ามีประเพณีสาดน้ำขึ้นบก คือคนในแพก็จะสาดน้ำขึ้นมาหาคนบนฝั่ง และคนบนฝั่งก็จะสาดน้ำลงไป เมื่อเล่นน้ำจนเย็นแล้ว ก็จะล่องแพต่อ แพเทคที่เปิดเพลงเต้นกันสนุกสนาน ความมันแบบนี้หาที่อื่นไม่ได้จริงๆ”
{mosimage} จอน สมใจเรา บ้านเกิดอยู่ที่ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ถ่ายทอดประสบการณ์ก่อนมาอาศัยสนามหลวงเป็นแหล่งพักกายให้ฟังว่า ตอน ม. 1 หนีครูเข้ากรุงเทพฯ ไปสมัครงานที่เยาวราช จากนั้นย้ายไปทำงานแถวลาดพร้าว แต่นายจ้างจ่ายเงินไม่ครบเลยออกมาตั้งหลักที่สนามหลวง ปัจจุบันมีอาชีพขายของเก่ากับสามี และลูก 2 คนรายได้ ต่อวัน เฉลี่ย 2-3 พันบาท สงกรานต์ปีนี้เลือกที่จะไม่กลับบ้าน เพราะของเยอะ ต้องอยู่เฝ้าและขายให้ของน้อยกว่านี้ก่อน ซึ่งคาดว่าหลังสงกรานต์จะกลับบ้านไปเยี่ยมพ่อและแม่
“เล่นสงกรานต์ที่สนามหลวงนี่ละ ที่กิน นอน ขายของ ที่เดียวกัน ความจริงชอบสงกรานต์ที่บ้านนะเพราะเจอญาติพี่น้องสนุกกว่า แต่มันเลือกไม่ได้ ต้องเอาเงินไว้ก่อน อยู่นี่อย่างน้อยๆ ก็ยังได้วันละ 2-3 พัน ขายของเก่าที่เค้าเก็บมาจากขยะบ้าง 20-30 แต่บางอย่างเราก็ไปซื้อที่คลองถมมาขายได้กำไรพอสมควร”
นายป้อม(นามสมมุติ) อายุ 36 ปี บ้านเกิดที่โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร มีลูกสาว 1 คน เล่าว่า เมื่อก่อนแม่ไม่ให้มา ตัวเองไม่มีเงิน ตัดสินใจเดินจากพิจิตรถึงนครสวรรค์ ใช้เวลาวันครึ่ง ระหว่างทางกินน้ำรอยตีควายและมะม่วงริมทาง พอถึงนครสวรรค์เก็บขวดขายได้เงิน 20 บาท เลยซื้อตั๋วรถไฟมาลงดอนเมือง พอถีงดอนเมืองก็แกล้งหลับจนถึงหัวลำโพงและเดินเท้าต่อจนถึงสนามหลวง โดยยึดอาชีพเก็บขวดพลาสติกขายมากว่า 10 ปี ด้วยคติที่ว่า “เก็บขวดขายดีกว่า ขอเงินเค้ากิน เพราะมันมีศักดิ์ศรีมากกว่า” แต่ถึงแม้จะมีรายได้ แต่ป้อมก็ไม่มีเงินเก็บ สาเหตุมาจากสุรา
“วันนึงมีรายได้เฉลี่ย 3-4 ร้อยบาทนะ แต่ต้องซื้อเบียร์ช้างกินอย่างน้อยวันละ 2 ขวด ทุกวันนี้ก็คิดถึงลูกสาวที่ไม่ได้เจอหน้ากันนานหลายปี ตั้งใจว่าหลังจากสงกรานต์นี้จะกลับบ้าน ไปหาลูกเพราะคิดถึงลูก”
เอ (นามสมมติ) อายุ 48 ปี บ้านเกิดอยู่ที่จังหวัด สุรินทร์ ปัจจุบันมีอาชีพขายบริการ เธอเล่าที่มาว่าตอนเข้ามากรุงเทพใหม่ๆ มีผู้ชายชวนไปกินข้าวและถามว่าอยากได้เงินมั๊ย จะให้ 3,000 แต่ต้องไปต่อกับเค้า เธอยอมรับว่าตอนนั้นอยากได้เงินเลยตามไป สุดท้ายก็เข้ามาทำอาชีพนี้ด้วยความจำใจ เนื่องจากต้องการให้ลูกเรียนจนจบปริญญาตรี จะได้ไม่ต้องลำบากเหมือนตนเอง
“ทำงานแบบนี้บางทีเจอผู้ชายโรคจิต บางครั้งตบตีเรา ก็ต้องสู้หาทางหนีออกมา ต้องทน อยากให้ลูกเรียนสูงๆจะได้ไม่ลำบาก ที่ทำอยู่ได้เงินเดือนนึงเฉลี่ย 12,000 บาท เช่าบ้าน 1,500 บาท ค่ารถเมล์อีกเล็กน้อย ที่เหลือส่งกลับบ้านให้ลูกหมด แต่ที่มาทำนี่ไม่ให้เค้ารู้นะ พอลูกเรียนจบก็จะเลิกและกลับไปอยู่บ้านแล้ว”
เอบอกสนามหลวงเป็นที่ทำงานของพวกเธอ ถ้าปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว อยากให้คนที่อยู่ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด จะได้น่าอยู่ต่อไป ซึ่งสงกรานต์ปีนี้เธอยังคงมุ่งมั่นกับอาชีพที่ทำอยู่ เพื่อมีเงินส่งลูกเรียน
ประสบการณ์ “คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ที่ท้องสนามหลวง มีที่มาแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนในชนบทที่เข้ามาแสวงโชคในเมืองหลวงด้วยเหตุผลต่างๆกันไป หลายคนไม่ได้กลับบ้านเกิดมานานจนกลายเป็นภาพความทรงจำ รวมทั้งสงกรานต์ปีนี้ที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังคงมีสนามหลวงเป็นทั้งบ้านและที่ทำมาหากิน.
“มีวันหนึ่งทำงานมาเหนื่อยมาก มาถึงสนามหลวงก็หลับไป ของมีค่าทุกชิ้นเอาขึ้นมาวางที่หน้าอกแล้วเอามือปิดไว้ พอเช้าพบว่ามีคนมานั่งเฝ้าของและก็เอาพัดมาพัดให้ เลยเกิดคำถามกับตัวเองว่า เขาเหล่านี้เป็นคนไม่ดีจริงเหรอ จากนั้นก็เริ่มลงมาพูดคุยให้ความรู้ อาศัยความเป็นเพื่อนทำให้เขากล้าเปิดใจ”
ส่วนอัจรา อุดมศิลป์ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมเยาวชนสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน กล่าวถึงคำนิยามของคนเร่ร่อนที่ลงตัวที่สุดคือ “คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” เพราะครอบคลุมทั้งหญิงขายบริการ คนไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน ตลอดจนคนที่มีความพิการทางสมอง เธอเล่าประสบการณ์ว่าช่วงแรกที่ลงมาทำงานในพื้นที่สนามหลวงเคยโดนทำร้ายจากกลุ่มคนเร่ร่อนเพราะความไม่เข้าใจ
“เข้าไปทีแรกเค้าเอาขวดเอาหินปาใส่เรา ตอนนั้นกลัว แต่ก็พยายามค่อยๆ เข้าไป ไปทุกวัน จนเค้าเริ่มชิน ตอนหลังถึงรู้ว่าที่เรากลัวเค้าเพราะเค้ากลัวเราเหมือนกัน เลยต้องหาทางป้องกันตัวเอง ทุกวันนี้คนในสนามหลวงก็เป็นเหมือนเพื่อนกันไปหมดแล้ว”
อัจราบอกว่า การแก้ปัญหาของ กทม. ด้วยการสร้างบ้านให้กลุ่มคนเร่ร่อนนั้น ไม่ใช่ทางออกที่ถูกจุด เพราะหลายคนมีบ้านแต่ยังไม่อยากกลับเพราะต้องการหาเงินก่อน เพราะตอนออกจากชนบทเข้ามาเมืองหลวง คนที่บ้านฝากความหวังไว้ แต่บางคนถูกโกงจากนายจ้าง ถูกบริษัทเลิกจ้าง สุดท้ายเลยมาใช้ชีวิตที่นี่
ขณะที่วิจิตรา พันธ์แสง หัวหน้าโครงการศึกษาปัญหาโรคสมองเสื่อมในประเทศไทย มูลนิธิกระจกเงา ที่เพิ่งลงพื้นที่ทำงานกับกลุ่มคนที่ท้องสนามหลวงได้เพียง 3 เดือน บอกว่าคนเร่ร่อนกว่าร้อยละ 30 ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือทำให้กลายเป็นบุคคลไร้ญาติในที่สุด
“มีคนป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เยอะมาก บางคนเริ่มมีอาการ คือจะจำได้เป็นบางช่วงเท่านั้น ซึ่งเวลาเราไปพูดคุย ต้องจำเรื่องที่เค้าเล่า ว่าเค้าจำอะไรได้บ้าง ล่าสุดเพิ่งไปดูกิจกรรมของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อจะนำมาใช้กับพวกเขา คิดว่าแค่กินยาอย่างเดียวไม่พอ ยาแทบไม่ได้ช่วยอะไร”
{mosimage} ป้าชนา ไปล่ชู มีสนามหลวงเป็นเสมือนบ้าน เพราะใช้ชีวิตที่นี่ตั้งแต่วัยสาว 25 จนกระทั่งอายุ 80 ทุกวันนี้ แกเล่าว่าบ้านเกิดอยู่ที่ จ.กำแพงเพชร มีพี่ชาย 1 คน น้องชาย อีก 2 คน ป้าเข้าเมืองหลวงกับญาติตั้งแต่อายุ 9 ขวบ โดยลงเรือเมล์จากกำแพงเพชรมาที่ปากน้ำโพนครสวรรค์ แล้วขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพฯ พออายุได้ 25 ปี จึงตัดสินใจออกจากบ้านญาติมาพึ่งพิงตนเองโดยเก็บขวดขายและอาศัยท้องสนามหลวงเป็นแหล่งพักพิงเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน รายได้ไม่แน่นอน เพราะสายตาเริ่มฝ้าฟาง แต่ยังโชคดีที่มีข้าราชการบริเวณนั้นหยิบยื่นข้าวและเงินเล็กๆน้อยๆให้
เมื่อถามว่าสงกรานต์ปีนี้จะกลับต่างจังหวัดไหม ป้าชนาย้อนความทรงจำว่าสงกรานต์ที่บ้านเกิดนั้นสนุกสนาน มีรำวงร้องเพลง ไม่เหมือนในกรุงเทพฯที่วัยรุ่นเอาแต่สาดน้ำ บางครั้งรุนแรงถึงขั้นมีเรื่อง ไม่เห็นสนุกตรงไหน แต่แกบอกว่าปีนี้ก็คงไม่ได้กลับบ้านเหมือนหลายสิบปีที่ผ่านมา
“ความจริงอยากกลับบ้านแต่พี่ชายเคยพูดว่า ถ้าไม่มีเงินก็ไม่ต้องกลับมา สงกรานต์ปีนี้ก็คงไม่ได้กลับ เพราะยังเก็บเงินได้ไม่เยอะ คิดว่าถ้ามีเงินถึง 3,000 บาท จะกลับเอาไปให้คนที่บ้านคนละ 50 บาท 100 บาทก็ยังดี ที่อยากกลับบ้านเพราะอยากไปเยี่ยมแม่ ไม่รู้ป่านนี้แม่ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า”
ชัยวุฒิ แสงส่ง อายุ 38 ปี บ้านเกิดอยู่ที่นครศรีธรรมราช เขาบอกว่าตัวเองมีความผูกพันธ์กับท้องสนามหลวงมาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะสมัยอยู่ ป.5-6 เคยมาแสดงอับดุลช่วงปิดเทอม เมื่อย้ายตลาดนัดบริเวณสนามหลวงไปที่จตุจักจึงเลิกแสดง และมีโอกาสเข้า กทม.อีกครั้งตอนเรียน ปวช.ที่เทคโนโลยีสยาม เรียนจบกลับไปช่วยแม่ขายก๋วยเตี๋ยว และเหตุการณ์ที่ทำให้เขาผันตัวเองเข้าสู่การเป็นคน “ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ก็คือทะเลาะกับพ่อ จึงออกจากบ้านมาหางาน รับจ้างทั่วไป แต่โชคไม่ดีประสบอุบัติเหตุตอนรับจ้างต่อสายโทรศัทพทำให้ตาข้างซ้ายบอด จึงออกตระเวนหางานไปตามจังหวัดต่างๆเกือบทั่วประเทศ
ชัยวุฒิต่างจากคนที่ท้องสนามหลวงทั่วไปตรงที่ยังคงไปกลับบ้านต่างจังหวัดเป็นประจำ เขาเล่าว่าจากสนามหลวงเดินไปนั่งเรือที่ท่าวังหลัง(ศิริราช)ข้ามฟากไปสถานีรถไฟบางกอกน้อย จากนั้นนั่งรถไฟฟรีไปจนถึงนครศรีธรรมราช แล้วต่อรถโดยสารเข้าบ้าน รวมค่าเดินทางทั้งหมด 47 บาท
ชัยวุฒิ บอกว่า สงกรานต์นี้ไม่กลับบ้าน เพราะเป็นช่วงทำรายได้จากการเก็บขวดขาย แต่เขาก็บอกว่าสงกรานต์กรุงเทพฯ ไม่สนุกเหมือนต่างจังหวัด
“จากที่เคยตระเวนไปทั่วประเทศ ชอบสงกรานต์กาญจนบุรี เค้ามีประเพณีสาดน้ำขึ้นบก คือคนในแพก็จะสาดน้ำขึ้นมาหาคนบนฝั่ง และคนบนฝั่งก็จะสาดน้ำลงไป เมื่อเล่นน้ำจนเย็นแล้ว ก็จะล่องแพต่อ แพเทคที่เปิดเพลงเต้นกันสนุกสนาน ความมันแบบนี้หาที่อื่นไม่ได้จริงๆ”
{mosimage} จอน สมใจเรา บ้านเกิดอยู่ที่ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ถ่ายทอดประสบการณ์ก่อนมาอาศัยสนามหลวงเป็นแหล่งพักกายให้ฟังว่า ตอน ม. 1 หนีครูเข้ากรุงเทพฯ ไปสมัครงานที่เยาวราช จากนั้นย้ายไปทำงานแถวลาดพร้าว แต่นายจ้างจ่ายเงินไม่ครบเลยออกมาตั้งหลักที่สนามหลวง ปัจจุบันมีอาชีพขายของเก่ากับสามี และลูก 2 คนรายได้ ต่อวัน เฉลี่ย 2-3 พันบาท สงกรานต์ปีนี้เลือกที่จะไม่กลับบ้าน เพราะของเยอะ ต้องอยู่เฝ้าและขายให้ของน้อยกว่านี้ก่อน ซึ่งคาดว่าหลังสงกรานต์จะกลับบ้านไปเยี่ยมพ่อและแม่
“เล่นสงกรานต์ที่สนามหลวงนี่ละ ที่กิน นอน ขายของ ที่เดียวกัน ความจริงชอบสงกรานต์ที่บ้านนะเพราะเจอญาติพี่น้องสนุกกว่า แต่มันเลือกไม่ได้ ต้องเอาเงินไว้ก่อน อยู่นี่อย่างน้อยๆ ก็ยังได้วันละ 2-3 พัน ขายของเก่าที่เค้าเก็บมาจากขยะบ้าง 20-30 แต่บางอย่างเราก็ไปซื้อที่คลองถมมาขายได้กำไรพอสมควร”
นายป้อม(นามสมมุติ) อายุ 36 ปี บ้านเกิดที่โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร มีลูกสาว 1 คน เล่าว่า เมื่อก่อนแม่ไม่ให้มา ตัวเองไม่มีเงิน ตัดสินใจเดินจากพิจิตรถึงนครสวรรค์ ใช้เวลาวันครึ่ง ระหว่างทางกินน้ำรอยตีควายและมะม่วงริมทาง พอถึงนครสวรรค์เก็บขวดขายได้เงิน 20 บาท เลยซื้อตั๋วรถไฟมาลงดอนเมือง พอถีงดอนเมืองก็แกล้งหลับจนถึงหัวลำโพงและเดินเท้าต่อจนถึงสนามหลวง โดยยึดอาชีพเก็บขวดพลาสติกขายมากว่า 10 ปี ด้วยคติที่ว่า “เก็บขวดขายดีกว่า ขอเงินเค้ากิน เพราะมันมีศักดิ์ศรีมากกว่า” แต่ถึงแม้จะมีรายได้ แต่ป้อมก็ไม่มีเงินเก็บ สาเหตุมาจากสุรา
“วันนึงมีรายได้เฉลี่ย 3-4 ร้อยบาทนะ แต่ต้องซื้อเบียร์ช้างกินอย่างน้อยวันละ 2 ขวด ทุกวันนี้ก็คิดถึงลูกสาวที่ไม่ได้เจอหน้ากันนานหลายปี ตั้งใจว่าหลังจากสงกรานต์นี้จะกลับบ้าน ไปหาลูกเพราะคิดถึงลูก”
เอ (นามสมมติ) อายุ 48 ปี บ้านเกิดอยู่ที่จังหวัด สุรินทร์ ปัจจุบันมีอาชีพขายบริการ เธอเล่าที่มาว่าตอนเข้ามากรุงเทพใหม่ๆ มีผู้ชายชวนไปกินข้าวและถามว่าอยากได้เงินมั๊ย จะให้ 3,000 แต่ต้องไปต่อกับเค้า เธอยอมรับว่าตอนนั้นอยากได้เงินเลยตามไป สุดท้ายก็เข้ามาทำอาชีพนี้ด้วยความจำใจ เนื่องจากต้องการให้ลูกเรียนจนจบปริญญาตรี จะได้ไม่ต้องลำบากเหมือนตนเอง
“ทำงานแบบนี้บางทีเจอผู้ชายโรคจิต บางครั้งตบตีเรา ก็ต้องสู้หาทางหนีออกมา ต้องทน อยากให้ลูกเรียนสูงๆจะได้ไม่ลำบาก ที่ทำอยู่ได้เงินเดือนนึงเฉลี่ย 12,000 บาท เช่าบ้าน 1,500 บาท ค่ารถเมล์อีกเล็กน้อย ที่เหลือส่งกลับบ้านให้ลูกหมด แต่ที่มาทำนี่ไม่ให้เค้ารู้นะ พอลูกเรียนจบก็จะเลิกและกลับไปอยู่บ้านแล้ว”
เอบอกสนามหลวงเป็นที่ทำงานของพวกเธอ ถ้าปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว อยากให้คนที่อยู่ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด จะได้น่าอยู่ต่อไป ซึ่งสงกรานต์ปีนี้เธอยังคงมุ่งมั่นกับอาชีพที่ทำอยู่ เพื่อมีเงินส่งลูกเรียน
ประสบการณ์ “คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ที่ท้องสนามหลวง มีที่มาแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนในชนบทที่เข้ามาแสวงโชคในเมืองหลวงด้วยเหตุผลต่างๆกันไป หลายคนไม่ได้กลับบ้านเกิดมานานจนกลายเป็นภาพความทรงจำ รวมทั้งสงกรานต์ปีนี้ที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังคงมีสนามหลวงเป็นทั้งบ้านและที่ทำมาหากิน.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)