ลองมองย้อนกลับไปในบ้าน คำว่า “บ้าน” ตอนนี้ของเรา คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และยังหมายถึงครอบครัว การแสดงออกซึ่งความรัก ความอบอุ่น ความอ่อนหวาน ความผูกพัน และยังหมายถึงมาตุภูมิของทุกคน
อาสาสมัคร หรือแม้แต่สังคม ทุกวันนี้ยังเกิดคำถามว่า ทำไม?? คนถึงออกมาจากบ้าน และตีความไปว่า บ้าน เขาไม่มีบ้าง คนเร่ร่อน กลายเป็นไม่มีบ้าน ในความเข้าใจของสังคม แต่สิ่งที่เราพบ คือคำถามที่ว่า บ้าน อยู่ที่ตัวอาคาร หรือ บ้าน ที่อยู่ในตัวของจิตใจ
สำหรับคนเร่ร่อนไร้บ้านแล้ว ส่วนใหญ่ บ้านคือ จิตใจ ตราบใดที่อยู่บ้านแล้วมันร้อน เป็นเพียงอาคาร ๆ หนึ่งคนก็ออกมาเร่ร่อนมากขึ้น สังคมหรือผู้บริหารประเทศมองว่าคนเร่ร่อนไร้บ้านเป็นปัญหาสังคม แต่อิสรชนเราเห็นว่า เขาเป็นเพียงปลายของสังคม ที่ประสบความล้มเหลวของคำว่าบ้าน
เมื่อย้อนไปในครั้งแรกที่ลงมาพื้นที่สนามหลวง Case ที่พบแรก ๆ กับประโยคแรกที่ทำให้อึงไปเกือบไม่ถูกและย้อนกลับไปดูคนที่บ้านเรา คือ ญ ที่ร้องไห้แล้วถามเราว่า “คำว่าแม่ หาซื้อได้ไหมที่สนามหลวง” คนฟังตอนแรกก็เกิดอาการหรือคำถามที่ว่า ทำไมลูกหลานถึงไม่ดูแลแก ปล่อยไว้ข้างถนน กับเรื่องราวที่แกเป็นผู้เล่าเหียงฝ่ายเดียว แต่เมื่อมาลองฟังคำจากลูกหลานแก เมื่อพาแกกลับสู้ครอบครัวนั้น พบว่า แกถูกเลี้ยงดูจากแม่ด้วยการทุบตี พอมีลูกก็เลี้ยงลูกไม่เป็น แต่ถ่ายทอดสิ่งที่ตนได้รับเมื่อยังเด็กออกมาสู่ลูก กลายเป็นความล้มเหลวในการเลี้ยงลูก ตัวลูกเองก็พยายามที่จะปฏิเสธแม่ แต่ลึก ต่างเรียกหาความรักและความอบอุ่นจากแม่ ทั้ง ๆ ที่แม่ไม่เคยมีให้ แม่ก็เลี้ยงลูกด้วยเงินที่ตัวเองคิดว่านี่แหละ คือความรักที่แม่มีให้ สุดท้ายครอบครัวนี้ก็รับแม่กลับเข้าสู่การดูแล
สังคมไทยปัจจุบันมีความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวมากน้อยแค่ไหน อาหารมื้อเย็นมีให้กันบ้างไหม แต่หลายปีที่ ผ่านมา อาหารมื้อเย็นของครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวหายไปกับการทำงาน แสดงออกความรักด้วยเงิน หรือพูดง่าย ๆ คือการเลี้ยงลูกด้วยเงิน ไม่แปลกที่ปัจจุบันมีคนเร่รอนที่ออกมาเพิ่ม ประเทศไทยเรามีคนเร่ร่อนทุกวัย ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยชรา มีทั้งออกมาเร่ร่อนคนเดียว ออกมาเร่ร่อนทั้งครอบครัว และมีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ที่พบมากคือวัยชรา อันเนื่องมาจาก อาการทางสมอง และอีกส่วน คือความน้อยใจในตัวลูกหลาน ที่ไม่เลี้ยงดู หรือมีเวลาให้ มีแต่เงินวางไว้ให้ พอพูดคุยและย้อนไปพบว่า ตอนแก่เลี้ยงลูก ก็เลี้ยงด้วยเงิน พอเวลาย้อนกลับลูกทำงานก็ไม่มีเวลา แสดงออกความรักไม่เป็น แสดงออกความรักด้วยการมอบเงิน หรือวางเงินให้ ก่อนไปทำงาน เหมือนที่พ่อหรือแม่เคยทำเมื่อเราเป็นเด็ก ปัจจุบัน คนไทยอายที่จะกอดกันในครอบครัว อายที่จะบอกรักกันในครอบครัว
เนื่องใกล้วันผู้สูงอายุ อิสรชน ในนามที่เราทำงานกับคนเร่ร่อนไร้บ้าน หรือ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อยากให้คุณ ๆ ที่อ่านบทความนี้ได้กลับไปมอบความรัก ความอบอุ่น หรือมองกลับไปดูที่ครอบครัวของตนเอง พูดกันให้มากขึ้น อะไรที่มันเป็นคลิก ที่ทำให้ต้องทะเลาะ รีบแก้ รีบฟื้นฟู การให้อภัยกัน การกอดกัน การอยู่เคียงข้าง การบอกรักกันเป็นสิ่งที่คนข้าง ๆ หรือคนในบ้านเราต้องการมากกว่าตัวบ้านกับกองเงินที่วางไว้
ในการทำงาน อิสรชนพบว่า Case หลาย ๆ Case มีปัญหาเพียงคลิกเล็ก ๆ ที่ไม่ได้พูดคุยกัน แต่เก็บฝังไว้ในใจเมื่อมันมากขึ้นก็ระเบิดด้วยการหลายออกจากบ้าน แต่พออิสรชนพบ ค่อยฟืนฟูและไปแก้ที่ครอบครัวให้คนสองคนมาคุยกัน สุดท้าย คนเหล่านี้ก็กลับสู่ครอบครัวได้ อย่างมีความสุขและไม่กลับมาเร่ร่อนอีก เพียงแค่คุณให้โอกาสซึ่งกันและกัน
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรได้เรียนรู้และร่วมกันแก้ปัญหา คุณก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ เพียงแค่มีใจอยากจะมาเรียนรู้ โดยไม่มีกรอบเกณฑ์ใด ๆ มาด้วยใจ มาร่วมเป็นอาสาสมัครกับอิสรชนได้ที่ 086-628-2817 หรือ ใครสนใจบริจาคสนับสนุนกิจกรรมได้ที่ ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เลขบัญชี 031-0-03432-9 ค่ะ
มองโลกในแง่ดีว่า ไม่มีใครอยากทำผิด ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดีการเหยียบซ้ำก็เหมือนการถูกมีดบาดแล้วโรยเกลือซ้ำ บางครั้งอาจทำให้คนทำผิดพาลไม่ยอมเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น หรือแสดงออกด้วยการประชด ตั้งใจทำผิดซ้ำสองอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น