28 สิงหาคม 2554

ห้าปีกับการต่อสู้กับทัศนคติของสังคม

ในปี 2554 มาย้อนมองตัวเองหนึ่งปีเต็มแล้วที่เข้ามาเปลี่ยนบทบาทการทำงานกับคนไร้บ้านและ Street Sex worker (หญิงขายบริการยืนตามถนนหรือที่สาธารณะ) เพราะก่อนหน้านี้เข้ามาในนามอาสาสมัคร
 ถ้าย้อนกลับไปในวันแรกที่มาเยือนที่สนามหลวง ในปี 2549 ในฐานะนักศึกษาฝึกงาน ยอมรับเบื้องต้นว่ากลัวมาก กลัวที่จะทำตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรกับคนที่เราจะลงมาฝึกงานด้วย กลัวจะไปทำอะไรที่ผิดพลาด แต่สิ่งที่ได้พบ คือ ความเป็นกันเองการคนที่เราจะต้องลงมาทำงานด้วย มาเรียนรู้ ตอนนั้นเป็นกลุ่มใหญ่ของสนามหลวง มีพี่นาง (ตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว) และมีลูกประมาณ ขวบกว่า ๆ (ในเวลานั้น) ในกลุ่มนี้ก็จะมีประมาณ 10 กว่าคน ที่เย็นมาจะต้องมานั่งดื่มเหล้าหลังจากผู้ชายออกไปทำงาน ได้เงินมา พี่วัตร เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดูแลพี่นางและลูกสาวอีกคนหนึ่ง ตอนลงพื้นที่ในครั้งนั้นจะพูดคุยและสนิทกับพี่นางเป็นมากที่สุด เพราะอาจเป็นผู้หญิงเหมือนกัน พี่นางไม่มีวันไหนเลยที่เจอแก่แล้วไม่เมา คืนวันแรกที่ลงพื้นที่นั้น นั่งฟังพี่นางฉายเทปภาพเดิม ๆ 10 กว่ารอบ ว่าตนเองไปทำงานที่ไหน ถูกกล่าวว่าเป็นเมียน้อย โดนนายจ้างโกง เล่าไปร้องไป 10 กว่ารอบกับประโยคเดิม ๆ จนหลับไปในกลางดึกนั้น
 ความผูกพัน ความเป็นกันเอง ความห่วงหาอาทร ความมีน้ำใจของคนสนามหลวง จนเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่จางหาย ถึงแม้ตองมีอีกหลายชีวิตที่ต้องจบลงในพื้นแผ่นดินกลางสนามหลวง หลายศพได้นำกระดูกกลับสู่ถิ่นบ้านเกิดเมืองนอน บ้านศพกลายเป็นศพไม่มีญาติ บ้างศพมีญาติแต่ญาติไม่เอา ถามแต่ว่ามีเงินเก็บไหม เรื่องกระดูกฝากไปลอยที่ ต่าง ๆ นาน เหล่านี้ที่เราชาวอิสรชนพบเจอมาโดยตลอด ทำให้หลาย ๆ ปีที่ผ่านมาการพิสูจน์หลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ จึงเป็นเรื่องแรกที่อิสรชนเจอ Case แล้วต้องถามถึงบัตรประชาชนหรือชื่อ ที่พอจะรู้จัก จำได้ เพราะคนสนามหลวงจำนวนมากตายเหมือนไม่ได้ตาย หรือเมื่อหายสาบสูญไปจากบ้านหลายปีเกิดการสวมทะเบียนได้ เมื่อมีคนมาขอเข้าชื่อคนนี้ที่หายจากบ้านไปนานหลายสิบปีโดยญาติก็ไม่สามารถติดต่อได้ เอาเงินมาให้ญาติเพื่อสวมเข้าทะเบียนราษฎร์คนนี้ กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่จะตามมา
 มีคนเคยถามว่าการทำงานกับคนไร้บ้าน หรือสังคมบางส่วนมองว่าเขาเป็นขยะของสังคม ยากไหม ตอบตามความจริงที่ว่าการทำงานกับ Case ไม่ยาก แต่การทำงานกับภาครัฐหรือสังคมบางส่วนที่ยังมีทัศนคติที่กดทับ แบ่งชนชั้น เป็นการทำงานที่ยากมาก เหมือนมีความรู้สึกว่าเราเป็นตัวอะไรที่สามารถคุยกับคนบ้าได้ สิ่งที่พบคือ เวลาไปประชุมกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะภาครัฐ พอเล่าถึงสถานการณ์เหตุการณ์ในพื้นที่แล้ว กลับมาเสียงหัวเราะออกมา กลายว่าเป็นเรื่องตลก แต่ถามกลับมีใครกล้าหรือลงมาทำงานในพื้นที่ไหม กลับเงียบ
 คนสนามหลวงหลายคนที่ถูกทำให้ได้รับบาดเจ็บ แต่ก็ไม่ได้รับการดูแลหรือเยียวยาจากผู้กระทำ กรณีนี้จากการที่คนสนามหลวงหลายคนที่นอนในสนามหลวง ถูกรถเยียบเท้าบ้าง มือบ้าง แต่ไม่ได้รับการรักษา หรือดูแลจากคนที่กระทำ อย่างล่าสุดรถถอยมาทับเท้า เข้าเฝือกเป็นเดือน แต่ดีที่พี่คนนี้เข้ามีบัตรในการรักษาพยาบาลแต่ถามว่าคนทำรับผิดชอบไหม กลับไม่มี เพราะสังคมบางส่วนยังมองว่าเขาเป็นขยะอะไรเกิดขึ้นกับเขาไม่สำคัญ ตายไปก็เท่านั้น แต่ไม่ได้มองว่าเขาเป็นพลเมืองคนหนึ่งเหมือนกัน
 การที่คนออกมาอยู่ที่สาธารณะนั้นย่อมอมีเหตุการณ์หรือปัจจัยบางอย่างที่ต้องออกมาเร่ร่อน แต่สังคมไม่มอง ไม่ฟัง แต่กลับพิพากษาเขาก่อนที่จะได้เริ่มเรียนรู้ อิสรชนหรืออาสาสมัครที่เข้ามานั่งฟังแล้วชีวิตคนหนึ่งคนเหมือนนิยายน้ำเน่าที่ต้องผ่านมรสุมอะไรบ้าง สิ่งที่อย่างบอกจากประสบการณ์ทำงานคือ อย่างพิพากษาหรือมองคนแต่ภายนอกและโทษเขา ทั้งที่พูดกันตามจริงคนที่ออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะนั้น เป็นปลายเหตุของปัญหาที่เราต้องกลับไปหาต้นตอของปัญหา แล้วมาพาเขากลับสู่บ้าน เพียงแค่คุณให้โอกาสเขาในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง เท่านั้นเอง
 การทำงานในปี 2553 ที่ผ่าน อิสรชนคิดว่าประสบความสำเร็จตามเป้าที่วางไว้ในระดับหนึ่งที่ขยับขยายงานขึ้นมาเรื่อย ๆ ถึงแม้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้สูงสุด แต่หลายคนในสังคม สื่อมวลชน เมื่อพูดถึงงาน  คนไร้บ้าน (ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ)และ Street Sex worker (หญิงขายบริการยืนตามถนนหรือที่สาธารณะ) จะนึกถึงอิสรชน การทำงาน มีสังคมเริ่มเข้าใจในการทำงานของเรามากขึ้น มีคนพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยเหลืองานของอิสรชนตลอดเวลาที่ขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น ยารักษาโรค อาหาร เงินทุน แม้จะจำนวนไม่มาก แต่ก็ช่วยให้งานเราขยับไปได้ โดยเฉพาะพี่น้องชาว Feacbook และตามเว็บไซด์ ต่าง ๆ ที่ได้ดู ได้อ่าน งานของเรา ขอบคุณทุกกำลังใจ ทุกความช่วยเหลือ ที่ทำให้อิสรชนได้ทำงานเพิ่มมากขึ้น การต่อสู้ของเราชาวอิสรชนในวันนี้ เริ่มเห็นผลในแง่ที่ดีขึ้น หน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะ บ้านมิตรไมตรี หันมาทำงานในเชิงบวกกับคนไร้บ้านมากขึ้น  โดยทุกวันอังคารตอนเย็นพี่เขาก็จะพาเจ้าหน้าที่ มาลงพื้นที่ มานั่งฟังมานั่งคุยและเอาเสื้อผ้ามาให้ จนมี Case หนึ่งที่เดินมาเพื่อขอเข้าไปอยู่ฟืนฟูที่บ้านมิตรไมตรีและฝึกอาชีพ สิ่งที่อิสรชนพยายามบอกกับสังคม คือ “เพียงแค่คุณมองเห็นเขา แต่ต้องเห็นด้วยใจ แล้วการช่วยเหลือ การฟืนฟูจะมาเอง ภายใต้การให้โอกาสกัน และเชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง เพียงแค่ให้โอกาส”
 การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เพื่อรองรับสภาพปัญหาที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุด คือ การสื่อสารสาธารณะเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคม ที่มองว่า คนเหล่านี้ ขี้เกียจ หลักลอย ไม่เอาไหน ให้มองเสียใหม่ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ เมื่อคนเหล่านี้มีความพร้อมที่จะคืนกลับสู่สังคม เพราะเมื่อสังคมได้รับการเตรียมความพร้อมแล้ว ก็จะสามารถยอมรับซึ่งกันและกันได้ ที่สำคัญ ต่างฝ่ายจะเกื้อหนุนกัน จนเกิดเป็นพลังในการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนและมีความสุข
  ในปี 2554 นี้การขยายงานของอิสรชนเพื่อคนในพื้นที่สาธารณะจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการต่อยอดการทำงานในวันข้างหน้า อิสรชนจึงขอ ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการก้าวเดินของงานเพื่อผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ  จงสานต่อความฝันอันยิ่งใหญ่ แม้วันนี้ไม่มีสิทธิ์พิชิตชัย ก็ยังมีวันใหม่ให้ท้าทาย 
 สนใจร่วมเป็นอาสาสมัครกับเราได้ ติดต่อเราได้ ที่ 086 – 628 -2817 หรือสนับสนุนการทำงานของเราได้ ที่ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
เลขที่บัญชี 031-0-03432-9 ชื่อบัญชี สำนักบริหาร สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
คนแกที่ออกมาสู่ถนน กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีอาการบาดแผลที่เท้า
กุ๊ก ผู้ป่วยทางจิต ที่อยู่ในที่คลองหลอด ผ่านการทักทาย พูดคุย มากันเกือบ 1 ปี ณ วันนี้เขาอมอาบน้ำ ให้คนดูแลตัวเขา กล้าที่จะมาทัก มาคุย มาถาม ถึงแม้เขาจะรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง
เด็กตัวเล็กที่ออกจากการเรียน มาช่วยแม่ขายของ ทุกครั้งที่เราลงพื้นที่ น้องเขาก็จะแวะเวียน มาคุย มาอ่านหนังสือ ร่วมทั้งเด็ก ๆ ลูกหลานแม่ค้าในบริเวณนั้นด้วยที่มาค้าขายและหลับนอนในพื้นที่ เด็กคนนี้มีบาดแผลจากการถูกสังกะสีบาด มาทำแผล แต่ที่เราอยากเล่าให้ฟังคือ น้ำใจหลังจากการทำแผล นั้น บางครั้งไปซื้อน้ำดื่ม ก็ซื้อมาฝากเราด้วย มีห้าบาทก็มาหยอดกล่องให้
ล่าสุดที่ลงพื้นที่ที่สนามหลวง พบว่าตอนนี้มีเด็กอ่อน ถึง 3 คน เป็นเด็กชาย 2 เด็ก หญิง 1 อายุ 1 เดือน 3 เดือน และ 7 เดือน ที่แม่เป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อยู่ที่ริมคลองหลอด เบื้องต้น ต้องการรับบริจาคนมผง ตรา S26 และผ้าอ้อม เบอร์ s เฉลี่ยเด็ก 1 คน ค่าใช้จ่ายในเรื่องนมผงและผ้าอ้อม ตกเดือนละประมาณ 1000 บาท หรือถ้าใครสนใจบริจาคนมผง สามารถติดต่อมาได้ที่ 086-687-0902 ค่ะ จะซื้อมาบริจาคด้วยตัวเองหรือโอนเงินมาสนันสนุน ยินดีค่ะ
ของขวัญวันเกิดราคาแพงจากน้ำใจคนสนามหลวง เค้กหนึ่งชิ้นพร้อมเทียนจาก 7/11 น้ำส้มหนึ่งขวด ยำทะเลหนึ่งจาก นี้คือน้ำใจและความไว้ใจจากเพื่อนมอบให้เพื่อน อย่างอิสรชน
อนาจใจกับรัฐในยุคนี้เหลือเกิน รัฐกำลังทำไรอยู่ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ที่หนัก คือผู้ป่วยข้างถนน ที่นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานสงเคราะห์ก็ไม่เพียงพอต่อการรองรับ รพ.ก็มีข้อจำกัด ล่าสุดที่ไปคุยและเยี่ยม Case ที่รพ. นักสังคมฯทำได้ดีที่สุด คือยื้อเวลาให้มาก บางรายตายที่รพ.ก็มี เพราะไม่สามรถตามญาติได้ มีอาการป่วยทางจิต สื่อสารไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ทำไม รัฐไม่มองมาเห็นบ้าง

11 สิงหาคม 2554

“บ้าน” เป็นตัวอาคารหรือจิตใจ

ลองมองย้อนกลับไปในบ้าน คำว่า “บ้าน” ตอนนี้ของเรา คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และยังหมายถึงครอบครัว การแสดงออกซึ่งความรัก ความอบอุ่น ความอ่อนหวาน ความผูกพัน และยังหมายถึงมาตุภูมิของทุกคน
อาสาสมัคร หรือแม้แต่สังคม ทุกวันนี้ยังเกิดคำถามว่า ทำไม?? คนถึงออกมาจากบ้าน และตีความไปว่า บ้าน เขาไม่มีบ้าง คนเร่ร่อน กลายเป็นไม่มีบ้าน ในความเข้าใจของสังคม แต่สิ่งที่เราพบ คือคำถามที่ว่า บ้าน อยู่ที่ตัวอาคาร หรือ บ้าน ที่อยู่ในตัวของจิตใจ
สำหรับคนเร่ร่อนไร้บ้านแล้ว ส่วนใหญ่ บ้านคือ จิตใจ ตราบใดที่อยู่บ้านแล้วมันร้อน เป็นเพียงอาคาร ๆ หนึ่งคนก็ออกมาเร่ร่อนมากขึ้น สังคมหรือผู้บริหารประเทศมองว่าคนเร่ร่อนไร้บ้านเป็นปัญหาสังคม แต่อิสรชนเราเห็นว่า เขาเป็นเพียงปลายของสังคม ที่ประสบความล้มเหลวของคำว่าบ้าน
เมื่อย้อนไปในครั้งแรกที่ลงมาพื้นที่สนามหลวง Case ที่พบแรก ๆ กับประโยคแรกที่ทำให้อึงไปเกือบไม่ถูกและย้อนกลับไปดูคนที่บ้านเรา คือ ญ ที่ร้องไห้แล้วถามเราว่า “คำว่าแม่ หาซื้อได้ไหมที่สนามหลวง” คนฟังตอนแรกก็เกิดอาการหรือคำถามที่ว่า ทำไมลูกหลานถึงไม่ดูแลแก ปล่อยไว้ข้างถนน กับเรื่องราวที่แกเป็นผู้เล่าเหียงฝ่ายเดียว แต่เมื่อมาลองฟังคำจากลูกหลานแก เมื่อพาแกกลับสู้ครอบครัวนั้น พบว่า แกถูกเลี้ยงดูจากแม่ด้วยการทุบตี พอมีลูกก็เลี้ยงลูกไม่เป็น แต่ถ่ายทอดสิ่งที่ตนได้รับเมื่อยังเด็กออกมาสู่ลูก กลายเป็นความล้มเหลวในการเลี้ยงลูก ตัวลูกเองก็พยายามที่จะปฏิเสธแม่ แต่ลึก ต่างเรียกหาความรักและความอบอุ่นจากแม่ ทั้ง ๆ ที่แม่ไม่เคยมีให้ แม่ก็เลี้ยงลูกด้วยเงินที่ตัวเองคิดว่านี่แหละ คือความรักที่แม่มีให้ สุดท้ายครอบครัวนี้ก็รับแม่กลับเข้าสู่การดูแล
สังคมไทยปัจจุบันมีความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวมากน้อยแค่ไหน อาหารมื้อเย็นมีให้กันบ้างไหม แต่หลายปีที่ ผ่านมา อาหารมื้อเย็นของครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวหายไปกับการทำงาน แสดงออกความรักด้วยเงิน หรือพูดง่าย ๆ คือการเลี้ยงลูกด้วยเงิน ไม่แปลกที่ปัจจุบันมีคนเร่รอนที่ออกมาเพิ่ม ประเทศไทยเรามีคนเร่ร่อนทุกวัย ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยชรา มีทั้งออกมาเร่ร่อนคนเดียว ออกมาเร่ร่อนทั้งครอบครัว และมีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ที่พบมากคือวัยชรา อันเนื่องมาจาก อาการทางสมอง และอีกส่วน คือความน้อยใจในตัวลูกหลาน ที่ไม่เลี้ยงดู หรือมีเวลาให้ มีแต่เงินวางไว้ให้ พอพูดคุยและย้อนไปพบว่า ตอนแก่เลี้ยงลูก ก็เลี้ยงด้วยเงิน พอเวลาย้อนกลับลูกทำงานก็ไม่มีเวลา แสดงออกความรักไม่เป็น แสดงออกความรักด้วยการมอบเงิน หรือวางเงินให้ ก่อนไปทำงาน เหมือนที่พ่อหรือแม่เคยทำเมื่อเราเป็นเด็ก ปัจจุบัน คนไทยอายที่จะกอดกันในครอบครัว อายที่จะบอกรักกันในครอบครัว
เนื่องใกล้วันผู้สูงอายุ อิสรชน ในนามที่เราทำงานกับคนเร่ร่อนไร้บ้าน หรือ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อยากให้คุณ ๆ ที่อ่านบทความนี้ได้กลับไปมอบความรัก ความอบอุ่น หรือมองกลับไปดูที่ครอบครัวของตนเอง พูดกันให้มากขึ้น อะไรที่มันเป็นคลิก ที่ทำให้ต้องทะเลาะ รีบแก้ รีบฟื้นฟู การให้อภัยกัน การกอดกัน การอยู่เคียงข้าง การบอกรักกันเป็นสิ่งที่คนข้าง ๆ หรือคนในบ้านเราต้องการมากกว่าตัวบ้านกับกองเงินที่วางไว้
ในการทำงาน อิสรชนพบว่า Case หลาย ๆ Case มีปัญหาเพียงคลิกเล็ก ๆ ที่ไม่ได้พูดคุยกัน แต่เก็บฝังไว้ในใจเมื่อมันมากขึ้นก็ระเบิดด้วยการหลายออกจากบ้าน แต่พออิสรชนพบ ค่อยฟืนฟูและไปแก้ที่ครอบครัวให้คนสองคนมาคุยกัน สุดท้าย คนเหล่านี้ก็กลับสู่ครอบครัวได้ อย่างมีความสุขและไม่กลับมาเร่ร่อนอีก เพียงแค่คุณให้โอกาสซึ่งกันและกัน
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรได้เรียนรู้และร่วมกันแก้ปัญหา คุณก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ เพียงแค่มีใจอยากจะมาเรียนรู้ โดยไม่มีกรอบเกณฑ์ใด ๆ มาด้วยใจ มาร่วมเป็นอาสาสมัครกับอิสรชนได้ที่ 086-628-2817 หรือ ใครสนใจบริจาคสนับสนุนกิจกรรมได้ที่ ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เลขบัญชี 031-0-03432-9 ค่ะ
มองโลกในแง่ดีว่า ไม่มีใครอยากทำผิด ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดีการเหยียบซ้ำก็เหมือนการถูกมีดบาดแล้วโรยเกลือซ้ำ บางครั้งอาจทำให้คนทำผิดพาลไม่ยอมเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น หรือแสดงออกด้วยการประชด ตั้งใจทำผิดซ้ำสองอีก

10 สิงหาคม 2554

บันทึกหนึ่งวันของอาสาสมัคร


ถ้าวันนี้เราไม่ได้สังเกตป้าย ‘NOTHING TO LOSE’ บนกระเป๋าเก่าๆใบหนึ่ง
ถ้าชายชราเจ้าของกระเป๋าใบนั้นไม่ได้เดินผ่านคลองหลอดในวันนี้ วันที่เราลงพื้นที่กันเป็นประจำ
ถ้าเพียงแต่วันนี้เราละเลย...ความประทับใจ...ที่มีต่อป้ายใบนั้น ดังเช่นคนทั่วไปอีกมากพึงกระทำ
ถ้าวันนี้เราไม่ใคร่รู้...ความหมายของมันจริงๆที่ซ่อนอยู่ในตัวเจ้าของป้าย
ถ้าชายชราผู้นั้นไม่ได้หยุดพัก ณ สะพานข้ามคลอง ข้างๆรถของเรา
ถ้าเขาไม่ได้หันตามเสียงเรียกของพี่จ๋า หรือคลี่ยิ้มละไมที่สื่อถึงความเต็มใจให้เราและพี่เคธี่ถ่ายภาพได้อย่างใจดี
วันนี้...     เราคงไม่มีโอกาสได้รู้จักกัน
และเราคงไม่มีทางเข้าใจบทความที่ผู้ก่อตั้งอิสรชนกล่าวไว้ว่า...   
“มิตรภาพจากคนแปลกหน้า...   มีจริง”


If today I did not notice a piece of paper with red fonts saying 
“NOTHING TO LOSE” hanging on one dirty ancient bag…

If today the old man who owns such bag
…did not walk through our working area near Klonglord…
If only today I chose to deny my feeling (actually it was more like an impression) toward that
… typical, but somehow significant, phrase on the paper like majority of people usually do…If today my side of curiosity did not win asking eagerly to find out...
…what was really hidden underneath his phrase…
If that moment, the same old man did not stop for a rest near our car…
                …moreover, if we were not there for all along…
And if he did not respond to our greetings
… with his precious smile displaying a great deal of friendship and kindness,
verbally and physically, as well as not being annoyed at all when we were approved by him
to take his photos again and again…
If he refused to talk, and we do not bother to listen
If today the ignorance has taken away chance from both of us,

…we would never know each other…

And therefore I would never to be able to understand or even experience a quote underlined in articles and stories written by Issarachon volunteers that
“Friendship from strangers is possible. It truly exists”.
P.S. 

Thank you p’Ja, p’X, p’Aom, p’Cathy, and others I haven’t mentioned for providing such a great care, explanations, information, experiences, wider perspective as well as friendliness to me for the whole time I stay with all of you.
I do appreciate our moments together.

ขอขอบคุณพี่จ๋า  พี่นที  พี่อ้อม  พี่เคท  พี่ๆไม่ได้เป็นแค่พี่สาว พี่ชายที่น่ารัก เป็นกันเองเท่านั้น  แต่พวกพี่ยังคอยดูแล แนะนำ
ให้ความรู้  สร้างเสียงหัวเราะให้ส้มมาโดยตลอด   
ด้วยการต้อนรับอาสาสมัครน้องใหม่อย่างส้มอย่างอบอุ่น ตั้งแต่ก้าวแรกจนกระทั่งวันนี้  ส้มได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายจากหลายแง่มุม ทัศนคติที่มีต่อกลุ่มคนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  จากความชาชินตามแบบคนในสังคมเมือง  ความไม่สนใจใยดีเท่าไรนัก  ความสงสาร  กลายเป็นความสนใจ  ความเข้าใจ  รู้สึกและตื่นตัวในความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน  เป็นหนึ่งประสบการณ์ที่คุ้มค่าจริงๆ
เรียบเรียง S.wannarak
การพูดคุยกับคุณลุงที่ออกมาเร่ร่อน หลังลูกหลานไม่ดูแล
nothing to lose
ข้ารายการที่ถูกลูกหลานทอดทิ้ง