15 ธันวาคม 2554

เทศกาลแห่งความสุข ..กับชีวิตข้างถนนในที่สาธาณะ

เมื่อเทศกาลปีใหม่เข้าเยือนอีกครั้ง หลาย ๆ คนมองหาของขวัญที่จะมอบให้กัน ซื้อบางคนก็เลือกสรรค์ ซื้อของขวัญให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นช่วงของเทศกาลของขวัญจริง ๆ

            แต่เมื่อมองกลับมายังผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่นอนตามถนน ตามที่สาธารณะ เขาไม่ได้เคยได้รับของขวัญที่เขาอยากได้ หรือแม้แต่เขาพยายามเสาะหาของขวัญแต่สุดท้ายของขวัญนั้นก็ไม่ได้มีอยู่จริง
ที่ผู้เขียนกล่าวถึงของขวัญของคนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อยากจะบอกว่าของขวัญที่เราอยากได้ สักวันเราต้องหามาได้ แต่คนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ สุดท้ายแล้วขอขวัญของเขามันไม่มีอยู่จริง
             หลายคนจะถามว่า ทำไม ทำไม คนถึงออกมาอยู่ที่ถนน ออกมาอยู่ในที่สาธารณะ แต่สังคมก็จะมองไปว่า เขาไม่มีบ้าน เขาไม่มีเงิน มองแค่ 2 ปัญหา ซึ่งมันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งและส่วนน้อย จากการทำงานกับคนสนามหลวงมากกว่า 10 ปี อิสรชน พบว่า คนที่ออกมาอยู่ที่ถนนสุดท้ายแล้วเขาไม่ใช่ปัญหา  แต่เขาเป็นปลายปัญหา และสิ่งที่นำพาเขามาข้างถนน ในที่สาธารณะ คือ การที่เขาไม่สามารถจัดการกับความเป็นปัจเจกของตนเองได้

            กล่าวคือ อย่างกรณีคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่อุดรธานี ก็ไม่ต่างจากที่กรุงเทพฯ ลุงคนหนึ่งที่อุดรธานี ณ วันนี้อาศัยรถสามล้อเก่า ๆ เป็นบ้านนอนอยู่ในวัดโพธิ์(ไม่แน่ใจชื่อวัดแต่จำได้คราว ๆ )ตัวเมืองอุดรธานี เขาไปพูดคุย กล่าวคือ คุณลุงเป็นคนโคราช เก็บเงินเพื่อจะมาสู่ขอ เดินจากโคราชมาอุดรธานี สุดท้ายไม่ได้แต่งานกับผู้หญิงที่ตนเองรัก เอาเงินที่จะมาสู่ขอใช้ชีวิตในอุดรธานี จนทุกวันนี้ แกเร่ร่อนมา 50 ปี
คนเร่ร่อนที่อุดรธานี เดินมาจากโคราชเมื่อ 50 ปีที่แล้ว วันนี้อายุ 85 ปี มาเพื่อขอสาวแต่งงาน แต่ไม่ได้แต่งาน ซื้อสามล้อไว้ทำงาน ปัจจุบันเริ่มป่วยทางสมองแล้ว อยู่ที่วัดโพธิ์ฯอุดรธานี
            ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่กรุงเทพฯ ก็เช่นกัน บางคนออกมาเพื่อตามหาบางอย่าง แต่เมื่อไม่พบ ไม่ได้ ก็ไม่กลับบ้าน เพราะจะรอจนกว่าจะได้สิ่งนั้น สาวโรงงานเป็นสาวสวยเมืองอุดรธานีเช่นกัน แต่อยู่ใน อ.เพ็ญ ดั้งด้นออกมาอยู่เมืองกรุง เพื่ออยากได้ อยากมี เหมือนคนที่เขาเข้ามาแสวงหาโชคในเมืองกรุงแล้วประสบความสำเร็จ มีเงิน มีทองกลับบ้าน สร้างบ้านได้ใหญ่โต แต่เมื่อ เขาเข้ามาค้นหาในเมืองแต่มันไม่ได้เป็นอย่างภาพที่เขาสร้างไว้ สุดท้ายพอตกงาน ไม่มีทางไปก็มาใช้ชีวิตอยู่ที่ข้างถนน หรือที่สวนสาธารณะ บางคนในกรณีนี้ถ้าไม่มีหนทางจริง ๆ ก็เข้าสู่เส้นทางของพนักงานขายบริการ ทำไมไม่กลับบ้านหลายคนถาม แต่ถ้ามองไปที่วัฒนธรรม หรือเรื่องของศักดิ์ศรี คนต่างจังหวัดส่วนมากคาดหวังกับคนที่มาแสวงหาโชคในเมืองกรุง โดยเฉพาะคนที่เป็นหญิง เห็นได้จากช่วงเทศกาลต้องมีของติดไม้ติดมือกลับบ้าน หรือแม้แต่ข้านิยมว่าลูกต้องเรียนหมอ เป็นข้าราชการ ซึ่งสังคมไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนออกมาอยู่ที่สาธารณะ เมื่อเขาไม่เป็นอย่างความตั้งใจ บางคนก็จมไม่ลง อย่างกรณีที่ตนเองเรียนมาสูง จบปริญญาตรี พอตกงาน ไม่มีที่ไป แต่พอให้ไปเป็นยามก็ทำไม่ได้ ในกรณีนี้บางคนก็มีก็เป็น
            ซึ่งสุดท้ายแล้วบางคนมองว่าเป็นปัญหาที่ถ้าเป็นเรา บางทีก็แก้ไขได้ ใช่ถ้าเอาเราวัด แต่ถ้าเรามองอย่างเป็นจุดศูนย์กลาง   สังคมถูกสอนมาเช่นไร การถูกปลูกฝัง ค่านิยม ความเชื่อ ล้วนกลายเป็นเครื่องกำหนดคนแทน  นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้คนออกมาอยู่ในที่สาธารณะ แต่เป็นส่วนใหญ่ อีกกรณีที่เราพบคือ กรณีผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตและทางสมองที่ไม่รู้ว่าตนเองป่วย หรือว่าป่วยมากแต่ไม่มีคนดูแล ก็ออกมาอยู่ที่สนามหลวง  บางคนก็ป่วยจนไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ป่วยที่เราเดินอยู่ที่ตามท้องถนน หัวยุ่ง ๆ ใส่เสื้อขาด ๆ เดินไม่รับรู้โลกภายนอก บางคนญาติก็ตามหา บางคนญาติก็ไม่ตามหา
            อีกกรณีคือผู้ที่รักความเป็นอิสระ ความเป็นส่วนตัวสูง เมื่อเขาเสร็จภารกิจในครอบครัว หรือคนที่ดูแลไม่ต้องห่วงใยก็ออกมาเป็นคนในที่สาธารณะ  อย่างกรณีล่าสุดที่เพิ่งเสียชีวิต สร้างบ้านทรงไทยไว้ให้ลูกเมียอยู่ พี่น้องเป็นกำนัน เป็นผู้ใหญ่ นามสกุลศรียานนท์ ก็ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จนเสียชีวิตริมคลองหลอด ทางอิสรชนได้ไปร่วมงานศพที่ญาติเขาจัดให้เมื่อรู้ว่าตายอิสรชนติดต่อญาติและญาติก็จัดทำศพ คนมาร่วมงานกว่า 200 คน นี้ก็เป็นโชคดีของพี่เขา แต่บางกรณีที่มีคนสนามหลวงเสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละหนึ่งราย บางคนตามญาติได้ก็ดี ถ้าญาติรับทำศพ แต่บางคนญาติไม่รับทำศพแต่ถามว่าคนนี้มีเงินเก็บที่ไหน อิสรชนจึงเป็นฝ่ายที่ทำศพให้แทน แต่บางศพที่ไม่มีญาติ ไม่สามารถตามญาติได้ ก็กลายเป็นศพไม่มีญาติ
s
            เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนมานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่หลายคนถามว่าทำไมคนถึงมาอยู่ที่สาธารณะ ซึ่งในความเป็นจริง คนทุกคนมีบ้าน เกิดมามีครอบครัว ถึงแม้จะครอบครัวแท้ ๆ หรือครอบครัวอุปถัมภ์ก็ตาม แต่คุณไม่ได้โดดเดี่ยว แต่การที่ออกมาโดดเดี่ยว คือ การที่เขาไม่สามารถจัดการกับความเป็นปัจเจกของตนเองได้ บางปัญหาของเขาที่เรามองหรือได้รับฟังสังคมก็มองว่า ปัญหาแค่นี้ไม่สามารถจัดการได้ แต่ในความเป็นจริงคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน การจัดการปัญหาหรือหาทางแก้จึงไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นคำพูดที่ว่า “การตัดสินใจคนจากภายนอก ไม่ได้”เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สุดท้ายคนที่เป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะยังมีคงตามหาของขวัญของตนเองอยู่และบางคนก็ออกมาตามกาเรื่อย ๆ แต่บางคนที่หาเจอก็กลับคืนสู่ครอบครัว อิสรชนเราเป็นเพียง คนแนะนำของขวัญที่หลากหลายเพื่อให้เขาได้เลือกหาได้เร็วขึ้น แต่ไม่สามารถนำของขวัญไปให้เขาได้ สุดท้ายเขาต้องเลือกหาด้วยตัวเขาเอง

นั่นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปีแล้วปีเล่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ กลุ่มอิสรชน เป็นกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่เริ่มตัดสินใจเริ่มงานกับคนยากไืร้ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เมื่อปี 2539 เรื่อยมาจนในปี 2548 ได้ก่อตั้งเป็น สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ก็ยังทำงานอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการทำงานมาที่กลุ่ม คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน (สรรพนามที่เรียกในขณะนั้น) และในปี 2553 เราได้ กำหนดสรรพนามเรียกกลุ่มพลเมืองที่เราทำงานด้วยว่า "ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ" และ เริ่มวางแผนการดำเนินงาน จดทะเบียนเป็น มูลนิธิ ภายใต้ชื่อ "มูลนิธิอิสรชน" จนแล้วเสร็จเมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2554  ตามทะเบียนเลขที่ กท ๒๑๓๑ 

จากการทำงานที่เฝ้าติดตามพฤติกรรม วิถีชีวิต ของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ครบ 10 ปี ของการดำเนินงานภายใต้ โครงการสนามหลวง ที่ใช้พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง เป็น "ห้องวิจัยทางสังคม" พบว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะของประเทศไทยมีความเหมือนและความแตกต่างกับ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ในประเทศต่าง ๆ ในหลากหลายแง่มุม แต่มีจุดร่วมที่เหมือนกันนั่นคือ ความปรารถนาที่จะให้สังคมยอมรับในตัวตนการมีอยู่ของพวกเขาในฐานะพลเมือง ที่ควรได้รับการยอมรับและมีสวัสดิการพื้นฐานจากรัฐเสมอภาคเท่ากับคนอื่น ๆ และนั่นคือภาระกิจที่หนัดหน่วงต่อเนื่องและยากลำบากภายใต้โครงสร้างของสังคมที่ไม่มีความเป็นธรรมอย่าประเทศไทย เพราะเพีนงเฉพาะ คนทั่วไปที่อยู่ในโครงสร้างสังคมปกติ ก็ยังไม่ได้รับสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาอย่างเสมอภาคและเท่ากัน สังคมไทยเป็นสังคมที่ยกย่องอำนาจ วาสนา บารมี ยศศักดิ์ และความร่ำรวย มากกว่าจะมองเห็นกันที่คุณค่าความเป็นคนหรือพลเมืองที่เท่ากัน
ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขของประเทศในแต่ละเทศกาล จะพบว่ายังมีคนจำนวนมาก นอนหนาวเหน็บอยู่ข้างถนน บางช่วงบางปี มีคนเสียชีวิตบนเก้าอี้นั่งข้างถนนสายสำคัญของประเทศโดยที่ไม่มีใครรู้จนกระทั่งผ่านไป 1 หรือ 2 วัน ชีวิตข้างถนนในที่สาธารณะที่คนในสังคมตรีตรา ตราหน้าว่า พวกขี้เกียจ ขี้ยา ขี้เหล้า ขี้ขโมย โดยไม่ได้ศึกษาสาเหตุที่แท้จริงและร่วมกันหาทางแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟู ภาระกิจเหล่านี้ ยังจะคงอยู่อน่างต่อเนื่องและอาจเพิ่มความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น หากเรายังไม่ตระหนักรู้และคืนความเสมอภาคให้แก่สังคม หากเรายังปล่อยให้ มีการยกย่องเชิดชูบูชากันแบบผิด ๆ อยู่อย่างนี้ วันหนึ่งคนที่ออกมาใช้ชีวิตข้าถนน ในที่สาธารณะจะเพิ่มจำนวนขึ้นจนยากที่จะแก้ไข วันนี้ คุณมองเห็นพวกเขาแล้วหรือยัง

ไม่มีความคิดเห็น: