28 ธันวาคม 2554

รายงานสรุปรายรับรายจ่ายของอิสรชนประจำปี 2554

ในปี 2554 ที่ผ่านมา มียอดบริจาคจำนวนทั้งสิ้น 451,687.50 บาท โดยที่สมาคมฯได้รับเงินสนับสนุนโครงการ และเงินบริจาค จากบุคคลทั่วไป การตั้งกล่องรับบริจาค เพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของสมาคมมีรายรับเป็นเงินบริจาคดังกล่าว 451,687.50 บาท จึงทำให้สมาคมฯมีงบประมาณทั้งสิ้น 451,687.50 บาท ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2554 แต่สมาคมฯมีค่าใช้จ่ายในโครงการและส่วนงานต่าง ๆ เป็นจำนวนเงิน 494,075.18 บาท โดยมียอดเงินคงติดลบสุทธิ 42,075.18 บาท ยอดเงินดังกล่าวเป็นค่าความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมใน ปี 2554 ซึ่งสมาคมฯจำเป็นต้องย้ายสำนักงานจากที่เดิม จังหวัดนนทบุรี มาอยู่ที่เขตคันนายาว ทำให้เสียค่าปรับกรณีอยู่ไม่ครบตามสัญญา 16,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการขนย้ายอุปกรณ์รวมถึงการซื้ออุปกรณ์เพื่อทดแทนอุปกรณ์สำนักงานเดิมที่เสียหายจากน้ำท่วมและการขนย้ายจำนวน 26,387.68 บาท โดยเป็นเงินสำรองยืมจากเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ และในปี 2555 สมาคมฯ ประมาณการค่าใช้จ่ายไว้ที่ขั้นต่ำเดือนละ 25,000 - 35,000 บาท เพื่อดำเนินงานให้ครบถ้วน ภายใต้ "มูลนิธิอิสรชน"


การดำเนินงานก็ยังทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ท่านใดจะร่วมสนุบสนุนการทำงานของอิสรชน ยังสามารถทำได้โดยการโอนเงินผ่านบัญชีของ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ธนาคารกรุงไทย สาขา ปิ่นเกล้า เลขที่ 031-0-03432-9 สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณอัจฉรา 086 687 0902


เดี๋ยวมือ เดี๋ยวเท้า

15 ธันวาคม 2554

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ : วิกฤติปัญหาของชาต

หลังเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ(???) และภายใต้ความผันผวนท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ประเทศไทยเองก็หลีกเลี่ยงที่จะโดนวิกฤตินี้ไม่ได้เช่นกัน โรงงานและสถานประกอบการหลายแห่งมีทีท่าว่าจะต้องปิดตัวลง ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีคนว่างงานภายในปีนี้อีกหลายแสนคน ยังไม่รวมที่ปัจจุบันเป็นผู้ว่างงานอยู่ก่อนแล้ว

หลายคนอาจะมองไม่เห็นหรือคาดไม่ถึงว่าคนว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างนั้น ส่วนมากเขาไปไหน เดินทางกลับภูมิลำเนา หางานใหม่ หรือไปไหน?? ล่าสุดจากการเข้าทำงานในพื้นที่สนามหลวงและคลองหลอดอย่างต่อเนื่องของอิสรชน พบว่า แรงงานที่ว่างงานจำนวนหนึ่งทั้งชายและหญิง ทะลักเข้าสู่พื้นที่สนามหลวงและคลองหลอดจำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน ส่วนใหญ่ที่สังเกตและได้รับฟังจากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่พบว่า จะเป็นแรงงานสตรีเสียเป็นส่วนใหญ่ ?? เกิดอะไรขึ้น ??

ปัญหาก็คือ หากแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ก็จะสามารถขวนขวายและหางานที่เป็นงานจ้างรายวัน จำพวก กรรมการ แรงงานก่อสร้างได้โดยไม่ยากมากนัก แต่หากเป็นแรงานผู้หญิงที่น่าเป็นห่วงก็คือ หากปล่อยเนินนานไว้เกินกว่า 2 สัปดาห์ มีแนวโน้มว่า แรงงานหญิงเหล่านี้ จะเข้าสู่ธุรกิจการบริการทางเพศ สืบเนื่องมาจาก แรงงานกลุ่มนี้ มักจะมีอายุเกินกว่า 30 ปี ทำให้ โรงงานหรือ สถานประกอบการที่เปิดรับสมัครคนงานใหม่มักจะปฏิเสธแรงงานผู้หญิงที่มีอายุเกินกว่า 30 ปี โดยอ้างถึงสภาพการทำงานไม่เหมาะสม หรือเหตุผลอื่นๆ สุดแท้แต่จะหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้าง

ในส่วนของแรงงานชายเองก็ตาม การรับจ้างแรงงานรายวัน หรือแรงงานชั่วคราว ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการยังชีพของเขาเหล่านั้นได้อย่างครบถ้วยสมบูรณ์แบบ หนำซ้ำในบ้างครั้ง อาจจะเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมให้เขา อยู่ในวังวนของการเข้าสู่ชีวิต ฅนสนามหลวงได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น
ไปราชประสงค์ เจอคนสนามหลวงพอดี
หากภาครัฐยังมัวแต่แก้ไขปัญหาให้กับชนชั้นกลางที่มีกำลังพอที่จะดูแลตนเองและครอบครัวได้ในระดับหนึ่ง โดยไม่เหลียวแลคนยากจน คนชั้นรากหญ้า ไม่นาน สนามหลวง และที่สาธารณะอื่น ๆก็จะอยู่ในสภาพที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะ ผู้คน จะทะลักกันออกมาจากบ้านเช่าที่เขาไม่สามารถหาเงินจ่ายค่าเช่าเดือนละ 1,000 -1,500 บาทได้ เพื่อมาอยู่ในที่สาธารณะ
รัฐในฐานะผู้รับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองทุกชนชั้น จำต้องมีมาตรการที่ถูกต้องชัดเจนและตรงกับสภาพชีวิตของคนที่อยู่ในกลุ่มรากหญ้าอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาเดือนเศษ รัฐบาลนี้ ยังไม่มีแผน หรือมาตรการใดใดที่จะลงมาช่วยเหลือคนยากจน คนจนเมือง คนจนชนบทอย่างแท้จริงเลยแม้แต่เรื่องเดียว

สภาพการณ์ดังกล่าวจะยังไม่แสดงผลอย่างทันทีทันใดในขณะนี้ แต่จะเริ่มชัดเจนขึ้น ในช่วงหลังจากฤดูการทำนาเพาะปลูกสิ้นสุดลง และหลังจากที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ให้สัญญาว่าจะเปิดทำการตามปกติในราวเดือนกุมภาพันธ์ ตอนนั้นเองจะเห็นภาพสรุปถึงสถานการณ์ที่แท้จริงเด่นชัดมากยิ่งขึ้น โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งอาจจะต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถทนต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกูและประกอบกับต้นทุนการผลิตที่จมหายไปกับมหันตภัยน้ำที่เพิ่งผ่านพ้นไป 
การทำงานในพื้นที่ของอิสรชน ปีใหม่ที่จะถึงนี้ ผ่านปีกระต่าย ย่างเข้าสู่ปีมังกร ศิริมงคลแห่งชีวิตและประเทศ "หงส์เหนือมังกร" เชิญชวนคนใจดีมองเห็นคุณค่าของคนเท่ากัน ร่วมสนับสนุนการทำงานของ อิสรชน โดยบริจาคงบประมาณร่วมสนับสนุนการทำงานได้ที่ ธ.กรุงไทย สาขา ปิ่นเกล้า เลขที่ 031-0-03432-9 "สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน"
วิกฤติการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมาจึงไม่ได้เป็นเพียงการสูญเสียในทางใดทางหนึ่ง หากแต่เป็นการสูญเสียที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และถ้าหากการค้นหาความจริงพบว่าเป็นเตจำนงความต้องการของใครคนใดคนหนึ่ง ที่ต้องการให้เกิดหายนะครั้งนี้ ก็ยิ่งต้องเรียกร้องความรับผิดชอบโดยสมบูรณ์จากบุคคลคนนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะ ทำให้ผู้คนหลักล้านเดือดร้อนไปทั่ว ประชาชนพลเมืองเสียชีวิตและสูญหายกว่า 700 คน บาดเจ็บอีกนับพันคน ครอบครัวบ้านแตกสาแหรกขาด ระบบสังคมโครงสร้างหลักโดนทำลายโดยสิ้นเชิง มีผู้คนต้องกลายเป็นคนเร่ร่อนไร้บ้านมากกว่า 100 ครอบครัวเป็นอย่างน้อยจากการสำรวจในเบื้องต้น ื

ภารกิจการเยี่ยมยาฟื้นฟูในสภาพปกติอาจจะยังไม่เพียงพอ การทำงานในเชิงรุกและเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานต่าง ๆ มีทักษะสำคัญในการทำงานกับผู้ที่เปลี่ยนสถานภาพจากคนปกติทั่วไปมาเป็น "ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ" จะมีความจำเป็นอย่างมาก สังคมต้องหันมาให้การสนับสนุนการทำงา่นกับคนกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องและช่วยกันพัฒนาชุดความรู้ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ เขตการค้าเสรีเาเซี่ยน ในปี 2015 ที่ไทย จะต้องแบกรับภาระมากมายจากประเทศรอบข้างในเวลาอันใกล้ ถามว่าเราพร้อมแล้วหรือยัง ถ้ายังต้องเร่งรีบพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมเสียแต่วันนี้

เทศกาลแห่งความสุข ..กับชีวิตข้างถนนในที่สาธาณะ

เมื่อเทศกาลปีใหม่เข้าเยือนอีกครั้ง หลาย ๆ คนมองหาของขวัญที่จะมอบให้กัน ซื้อบางคนก็เลือกสรรค์ ซื้อของขวัญให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นช่วงของเทศกาลของขวัญจริง ๆ

            แต่เมื่อมองกลับมายังผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่นอนตามถนน ตามที่สาธารณะ เขาไม่ได้เคยได้รับของขวัญที่เขาอยากได้ หรือแม้แต่เขาพยายามเสาะหาของขวัญแต่สุดท้ายของขวัญนั้นก็ไม่ได้มีอยู่จริง
ที่ผู้เขียนกล่าวถึงของขวัญของคนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อยากจะบอกว่าของขวัญที่เราอยากได้ สักวันเราต้องหามาได้ แต่คนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ สุดท้ายแล้วขอขวัญของเขามันไม่มีอยู่จริง
             หลายคนจะถามว่า ทำไม ทำไม คนถึงออกมาอยู่ที่ถนน ออกมาอยู่ในที่สาธารณะ แต่สังคมก็จะมองไปว่า เขาไม่มีบ้าน เขาไม่มีเงิน มองแค่ 2 ปัญหา ซึ่งมันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งและส่วนน้อย จากการทำงานกับคนสนามหลวงมากกว่า 10 ปี อิสรชน พบว่า คนที่ออกมาอยู่ที่ถนนสุดท้ายแล้วเขาไม่ใช่ปัญหา  แต่เขาเป็นปลายปัญหา และสิ่งที่นำพาเขามาข้างถนน ในที่สาธารณะ คือ การที่เขาไม่สามารถจัดการกับความเป็นปัจเจกของตนเองได้

            กล่าวคือ อย่างกรณีคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่อุดรธานี ก็ไม่ต่างจากที่กรุงเทพฯ ลุงคนหนึ่งที่อุดรธานี ณ วันนี้อาศัยรถสามล้อเก่า ๆ เป็นบ้านนอนอยู่ในวัดโพธิ์(ไม่แน่ใจชื่อวัดแต่จำได้คราว ๆ )ตัวเมืองอุดรธานี เขาไปพูดคุย กล่าวคือ คุณลุงเป็นคนโคราช เก็บเงินเพื่อจะมาสู่ขอ เดินจากโคราชมาอุดรธานี สุดท้ายไม่ได้แต่งานกับผู้หญิงที่ตนเองรัก เอาเงินที่จะมาสู่ขอใช้ชีวิตในอุดรธานี จนทุกวันนี้ แกเร่ร่อนมา 50 ปี
คนเร่ร่อนที่อุดรธานี เดินมาจากโคราชเมื่อ 50 ปีที่แล้ว วันนี้อายุ 85 ปี มาเพื่อขอสาวแต่งงาน แต่ไม่ได้แต่งาน ซื้อสามล้อไว้ทำงาน ปัจจุบันเริ่มป่วยทางสมองแล้ว อยู่ที่วัดโพธิ์ฯอุดรธานี
            ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่กรุงเทพฯ ก็เช่นกัน บางคนออกมาเพื่อตามหาบางอย่าง แต่เมื่อไม่พบ ไม่ได้ ก็ไม่กลับบ้าน เพราะจะรอจนกว่าจะได้สิ่งนั้น สาวโรงงานเป็นสาวสวยเมืองอุดรธานีเช่นกัน แต่อยู่ใน อ.เพ็ญ ดั้งด้นออกมาอยู่เมืองกรุง เพื่ออยากได้ อยากมี เหมือนคนที่เขาเข้ามาแสวงหาโชคในเมืองกรุงแล้วประสบความสำเร็จ มีเงิน มีทองกลับบ้าน สร้างบ้านได้ใหญ่โต แต่เมื่อ เขาเข้ามาค้นหาในเมืองแต่มันไม่ได้เป็นอย่างภาพที่เขาสร้างไว้ สุดท้ายพอตกงาน ไม่มีทางไปก็มาใช้ชีวิตอยู่ที่ข้างถนน หรือที่สวนสาธารณะ บางคนในกรณีนี้ถ้าไม่มีหนทางจริง ๆ ก็เข้าสู่เส้นทางของพนักงานขายบริการ ทำไมไม่กลับบ้านหลายคนถาม แต่ถ้ามองไปที่วัฒนธรรม หรือเรื่องของศักดิ์ศรี คนต่างจังหวัดส่วนมากคาดหวังกับคนที่มาแสวงหาโชคในเมืองกรุง โดยเฉพาะคนที่เป็นหญิง เห็นได้จากช่วงเทศกาลต้องมีของติดไม้ติดมือกลับบ้าน หรือแม้แต่ข้านิยมว่าลูกต้องเรียนหมอ เป็นข้าราชการ ซึ่งสังคมไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนออกมาอยู่ที่สาธารณะ เมื่อเขาไม่เป็นอย่างความตั้งใจ บางคนก็จมไม่ลง อย่างกรณีที่ตนเองเรียนมาสูง จบปริญญาตรี พอตกงาน ไม่มีที่ไป แต่พอให้ไปเป็นยามก็ทำไม่ได้ ในกรณีนี้บางคนก็มีก็เป็น
            ซึ่งสุดท้ายแล้วบางคนมองว่าเป็นปัญหาที่ถ้าเป็นเรา บางทีก็แก้ไขได้ ใช่ถ้าเอาเราวัด แต่ถ้าเรามองอย่างเป็นจุดศูนย์กลาง   สังคมถูกสอนมาเช่นไร การถูกปลูกฝัง ค่านิยม ความเชื่อ ล้วนกลายเป็นเครื่องกำหนดคนแทน  นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้คนออกมาอยู่ในที่สาธารณะ แต่เป็นส่วนใหญ่ อีกกรณีที่เราพบคือ กรณีผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตและทางสมองที่ไม่รู้ว่าตนเองป่วย หรือว่าป่วยมากแต่ไม่มีคนดูแล ก็ออกมาอยู่ที่สนามหลวง  บางคนก็ป่วยจนไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ป่วยที่เราเดินอยู่ที่ตามท้องถนน หัวยุ่ง ๆ ใส่เสื้อขาด ๆ เดินไม่รับรู้โลกภายนอก บางคนญาติก็ตามหา บางคนญาติก็ไม่ตามหา
            อีกกรณีคือผู้ที่รักความเป็นอิสระ ความเป็นส่วนตัวสูง เมื่อเขาเสร็จภารกิจในครอบครัว หรือคนที่ดูแลไม่ต้องห่วงใยก็ออกมาเป็นคนในที่สาธารณะ  อย่างกรณีล่าสุดที่เพิ่งเสียชีวิต สร้างบ้านทรงไทยไว้ให้ลูกเมียอยู่ พี่น้องเป็นกำนัน เป็นผู้ใหญ่ นามสกุลศรียานนท์ ก็ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จนเสียชีวิตริมคลองหลอด ทางอิสรชนได้ไปร่วมงานศพที่ญาติเขาจัดให้เมื่อรู้ว่าตายอิสรชนติดต่อญาติและญาติก็จัดทำศพ คนมาร่วมงานกว่า 200 คน นี้ก็เป็นโชคดีของพี่เขา แต่บางกรณีที่มีคนสนามหลวงเสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละหนึ่งราย บางคนตามญาติได้ก็ดี ถ้าญาติรับทำศพ แต่บางคนญาติไม่รับทำศพแต่ถามว่าคนนี้มีเงินเก็บที่ไหน อิสรชนจึงเป็นฝ่ายที่ทำศพให้แทน แต่บางศพที่ไม่มีญาติ ไม่สามารถตามญาติได้ ก็กลายเป็นศพไม่มีญาติ
s
            เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนมานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่หลายคนถามว่าทำไมคนถึงมาอยู่ที่สาธารณะ ซึ่งในความเป็นจริง คนทุกคนมีบ้าน เกิดมามีครอบครัว ถึงแม้จะครอบครัวแท้ ๆ หรือครอบครัวอุปถัมภ์ก็ตาม แต่คุณไม่ได้โดดเดี่ยว แต่การที่ออกมาโดดเดี่ยว คือ การที่เขาไม่สามารถจัดการกับความเป็นปัจเจกของตนเองได้ บางปัญหาของเขาที่เรามองหรือได้รับฟังสังคมก็มองว่า ปัญหาแค่นี้ไม่สามารถจัดการได้ แต่ในความเป็นจริงคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน การจัดการปัญหาหรือหาทางแก้จึงไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นคำพูดที่ว่า “การตัดสินใจคนจากภายนอก ไม่ได้”เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สุดท้ายคนที่เป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะยังมีคงตามหาของขวัญของตนเองอยู่และบางคนก็ออกมาตามกาเรื่อย ๆ แต่บางคนที่หาเจอก็กลับคืนสู่ครอบครัว อิสรชนเราเป็นเพียง คนแนะนำของขวัญที่หลากหลายเพื่อให้เขาได้เลือกหาได้เร็วขึ้น แต่ไม่สามารถนำของขวัญไปให้เขาได้ สุดท้ายเขาต้องเลือกหาด้วยตัวเขาเอง

นั่นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปีแล้วปีเล่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ กลุ่มอิสรชน เป็นกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่เริ่มตัดสินใจเริ่มงานกับคนยากไืร้ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เมื่อปี 2539 เรื่อยมาจนในปี 2548 ได้ก่อตั้งเป็น สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ก็ยังทำงานอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการทำงานมาที่กลุ่ม คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน (สรรพนามที่เรียกในขณะนั้น) และในปี 2553 เราได้ กำหนดสรรพนามเรียกกลุ่มพลเมืองที่เราทำงานด้วยว่า "ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ" และ เริ่มวางแผนการดำเนินงาน จดทะเบียนเป็น มูลนิธิ ภายใต้ชื่อ "มูลนิธิอิสรชน" จนแล้วเสร็จเมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2554  ตามทะเบียนเลขที่ กท ๒๑๓๑ 

จากการทำงานที่เฝ้าติดตามพฤติกรรม วิถีชีวิต ของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ครบ 10 ปี ของการดำเนินงานภายใต้ โครงการสนามหลวง ที่ใช้พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง เป็น "ห้องวิจัยทางสังคม" พบว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะของประเทศไทยมีความเหมือนและความแตกต่างกับ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ในประเทศต่าง ๆ ในหลากหลายแง่มุม แต่มีจุดร่วมที่เหมือนกันนั่นคือ ความปรารถนาที่จะให้สังคมยอมรับในตัวตนการมีอยู่ของพวกเขาในฐานะพลเมือง ที่ควรได้รับการยอมรับและมีสวัสดิการพื้นฐานจากรัฐเสมอภาคเท่ากับคนอื่น ๆ และนั่นคือภาระกิจที่หนัดหน่วงต่อเนื่องและยากลำบากภายใต้โครงสร้างของสังคมที่ไม่มีความเป็นธรรมอย่าประเทศไทย เพราะเพีนงเฉพาะ คนทั่วไปที่อยู่ในโครงสร้างสังคมปกติ ก็ยังไม่ได้รับสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาอย่างเสมอภาคและเท่ากัน สังคมไทยเป็นสังคมที่ยกย่องอำนาจ วาสนา บารมี ยศศักดิ์ และความร่ำรวย มากกว่าจะมองเห็นกันที่คุณค่าความเป็นคนหรือพลเมืองที่เท่ากัน
ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขของประเทศในแต่ละเทศกาล จะพบว่ายังมีคนจำนวนมาก นอนหนาวเหน็บอยู่ข้างถนน บางช่วงบางปี มีคนเสียชีวิตบนเก้าอี้นั่งข้างถนนสายสำคัญของประเทศโดยที่ไม่มีใครรู้จนกระทั่งผ่านไป 1 หรือ 2 วัน ชีวิตข้างถนนในที่สาธารณะที่คนในสังคมตรีตรา ตราหน้าว่า พวกขี้เกียจ ขี้ยา ขี้เหล้า ขี้ขโมย โดยไม่ได้ศึกษาสาเหตุที่แท้จริงและร่วมกันหาทางแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟู ภาระกิจเหล่านี้ ยังจะคงอยู่อน่างต่อเนื่องและอาจเพิ่มความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น หากเรายังไม่ตระหนักรู้และคืนความเสมอภาคให้แก่สังคม หากเรายังปล่อยให้ มีการยกย่องเชิดชูบูชากันแบบผิด ๆ อยู่อย่างนี้ วันหนึ่งคนที่ออกมาใช้ชีวิตข้าถนน ในที่สาธารณะจะเพิ่มจำนวนขึ้นจนยากที่จะแก้ไข วันนี้ คุณมองเห็นพวกเขาแล้วหรือยัง

13 ธันวาคม 2554

Hero of the Sanam Luang Homeless By Sanhaporn Manoharn


Hero of the Sanam Luang Homeless
By Sanhaporn Manoharn 


She comforts her growling stomach by rummaging the bin for anything edible, and then rests on the dirty pavement wearing torn clothes. Strong smell of garbage came from his body while he begs for spare changes to buy necessities that will at least make his life a little bit better. These are some of the daily lives of more than 600 homeless living in Sanam Luang area. Passersby take no notice of these people, or even if they do, they look at them in disgust and not as equal human beings. But one guy proves that there are people with decent heart out there who are willing to lend a hand. Natee Saravari, 41, has spent half of his life caring for less fortunate children and the homeless around Sanam Luang area.


  Saravari grew up in a family where his mother always taught him to never take advantage of others, especially the minorities, but rather to help the society get better. During university he went camping, at the camping base he saw a group of less fortunate kids staring at him
and his friends from outside the fence. This triggered what his mother has always taught him, soon after he got back from camp he gathered a few friends and formed a small group to start working with less fortunate kids.
“When I see that the people we help are relieved from suffering I feel good,” says Saravari who has been helping less fortunate people and homeless for over 20 years.
One day, Saravari slept over at Phra Meru Ground in Sanam Luang. To his surprise, homeless people who were nearby put on the incense to scare away mosquitoes for him, and that was when he started thinking about lending a helping hand to the homeless around Sanam Luang area.
“I never helped them with anything else other than giving back there human pride and pointing out ways to stand on their own feet.”

Problems of homeless people developed from many factors, from being raised in a broken home to severe financial situation. Some moved to Bangkok from rural areas in search of a better life because they believe that the capital city holds better opportunities for them. But when they got tricked by their employers such as taking away their ID, not paying them and firing them, they ended up living on the streets of Sanam Luang area.

It is difficult being a volunteer, money is no question one of the most important aspects in keeping the voluntary group going. Saravari eventually formed a private voluntary organisation, “Issarachon” (literally means people with freedom), with friends and people who decided to join the voluntary group after seeinghis work through Facebook, his website and other media. He also formed “Issarachon Foundation” to fundraise and use the money to help homeless people who depend on him. Saravari wants his organisation to be the “bridge of hope”, bridging the volunteers who hope to offer help to the society and homeless people who hope to learn how to live a better life.
ThailandFree
 “I’m very proud of what I do and I enjoy every moment of it, but I really don’t consider myself a hero.”
The organisation coordinates with Bangkok Health Centre to issue their new IDs and help them get basic healthcare. They also encourage homeless couples to prenatal care and to deliver baby at hospitals rather than on the street. They help find relatives for sick homeless and unidentified dead bodies. The main goal for Issarachon is to empower these people to sustain themselves as well as get public awareness to respect their human rights. Moreover, they motivate homeless people to return home and improve their quality of life.
When asked whether he gets tired or stressed to the point that he wants to stop or not, Saravari said what makes him tired is the fact that he is faced with people who thinks working together is not the solution, people who do not collaborate and does not appreciate teamwork.
Photo Credit: Natee Saravari Facebook
“I always tell others who asked me this question that work is life, life is work, life brings you happiness and work brings happiness,” he also went on saying, “The most important thing I had heard from them that keeps ringing in my ears are the words ‘Please don’t abandon us’, with these few words it assures me that I won’t abandon this job, instead I will make others see what I see in them.”
He also holds a Buddhist motto, “Love your work, be deliberate with your work, always remind yourself and it will bring you happiness and success.” This motto is his belief and it sums up just how passionate he is towards his work as a volunteer.
Saravari suggests that the society should treat all people with equity and accept the diversity. Everyone should learn to be more open-minded. Also, public sectors should provide social welfare sufficiently and equally to everyone. He also believes that everyone in the society has an important part that can make Issarachon happen and become successful.
Saravari’s effort in trying to improve the quality of life for homeless people and less fortunate children have been recognized by the media and was awarded twice as “Good Person to the Society” by UBC TrueVisions, Thailand’s leading cable satellite television operator. iTV, a television station in Thailand (already closed down) also awarded him as “Voluntary Person”. Furthermore, he has received a certificate for “Innovative Work in AIDS Prevention, Bangkok”.
Without Saravari and his private voluntary organisation, Issarachon, homeless people living in Sanam Luang area would never know that life could get better. He proves to the society that there are people out there who are willing to lend a hand to these people and are ready to listen to their stories. He is indeed a local hero for the many homeless people whose lives are much better after knowing this man.

Interviewee contact:

Mr. Natee Saravari
E-mail:             expo2513@hotmail.com
Facebook:        www.facebook.com/profile.php?id=706778299

Website:          www.issarachon.com
Blog:   www.issarachon-homeless.blogspot.com
YouTube:        www.youtube.com/user/naiissarachon