28 ธันวาคม 2554

รายงานสรุปรายรับรายจ่ายของอิสรชนประจำปี 2554

ในปี 2554 ที่ผ่านมา มียอดบริจาคจำนวนทั้งสิ้น 451,687.50 บาท โดยที่สมาคมฯได้รับเงินสนับสนุนโครงการ และเงินบริจาค จากบุคคลทั่วไป การตั้งกล่องรับบริจาค เพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของสมาคมมีรายรับเป็นเงินบริจาคดังกล่าว 451,687.50 บาท จึงทำให้สมาคมฯมีงบประมาณทั้งสิ้น 451,687.50 บาท ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2554 แต่สมาคมฯมีค่าใช้จ่ายในโครงการและส่วนงานต่าง ๆ เป็นจำนวนเงิน 494,075.18 บาท โดยมียอดเงินคงติดลบสุทธิ 42,075.18 บาท ยอดเงินดังกล่าวเป็นค่าความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมใน ปี 2554 ซึ่งสมาคมฯจำเป็นต้องย้ายสำนักงานจากที่เดิม จังหวัดนนทบุรี มาอยู่ที่เขตคันนายาว ทำให้เสียค่าปรับกรณีอยู่ไม่ครบตามสัญญา 16,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการขนย้ายอุปกรณ์รวมถึงการซื้ออุปกรณ์เพื่อทดแทนอุปกรณ์สำนักงานเดิมที่เสียหายจากน้ำท่วมและการขนย้ายจำนวน 26,387.68 บาท โดยเป็นเงินสำรองยืมจากเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ และในปี 2555 สมาคมฯ ประมาณการค่าใช้จ่ายไว้ที่ขั้นต่ำเดือนละ 25,000 - 35,000 บาท เพื่อดำเนินงานให้ครบถ้วน ภายใต้ "มูลนิธิอิสรชน"


การดำเนินงานก็ยังทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ท่านใดจะร่วมสนุบสนุนการทำงานของอิสรชน ยังสามารถทำได้โดยการโอนเงินผ่านบัญชีของ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ธนาคารกรุงไทย สาขา ปิ่นเกล้า เลขที่ 031-0-03432-9 สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณอัจฉรา 086 687 0902


เดี๋ยวมือ เดี๋ยวเท้า

15 ธันวาคม 2554

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ : วิกฤติปัญหาของชาต

หลังเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ(???) และภายใต้ความผันผวนท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ประเทศไทยเองก็หลีกเลี่ยงที่จะโดนวิกฤตินี้ไม่ได้เช่นกัน โรงงานและสถานประกอบการหลายแห่งมีทีท่าว่าจะต้องปิดตัวลง ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีคนว่างงานภายในปีนี้อีกหลายแสนคน ยังไม่รวมที่ปัจจุบันเป็นผู้ว่างงานอยู่ก่อนแล้ว

หลายคนอาจะมองไม่เห็นหรือคาดไม่ถึงว่าคนว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างนั้น ส่วนมากเขาไปไหน เดินทางกลับภูมิลำเนา หางานใหม่ หรือไปไหน?? ล่าสุดจากการเข้าทำงานในพื้นที่สนามหลวงและคลองหลอดอย่างต่อเนื่องของอิสรชน พบว่า แรงงานที่ว่างงานจำนวนหนึ่งทั้งชายและหญิง ทะลักเข้าสู่พื้นที่สนามหลวงและคลองหลอดจำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน ส่วนใหญ่ที่สังเกตและได้รับฟังจากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่พบว่า จะเป็นแรงงานสตรีเสียเป็นส่วนใหญ่ ?? เกิดอะไรขึ้น ??

ปัญหาก็คือ หากแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ก็จะสามารถขวนขวายและหางานที่เป็นงานจ้างรายวัน จำพวก กรรมการ แรงงานก่อสร้างได้โดยไม่ยากมากนัก แต่หากเป็นแรงานผู้หญิงที่น่าเป็นห่วงก็คือ หากปล่อยเนินนานไว้เกินกว่า 2 สัปดาห์ มีแนวโน้มว่า แรงงานหญิงเหล่านี้ จะเข้าสู่ธุรกิจการบริการทางเพศ สืบเนื่องมาจาก แรงงานกลุ่มนี้ มักจะมีอายุเกินกว่า 30 ปี ทำให้ โรงงานหรือ สถานประกอบการที่เปิดรับสมัครคนงานใหม่มักจะปฏิเสธแรงงานผู้หญิงที่มีอายุเกินกว่า 30 ปี โดยอ้างถึงสภาพการทำงานไม่เหมาะสม หรือเหตุผลอื่นๆ สุดแท้แต่จะหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้าง

ในส่วนของแรงงานชายเองก็ตาม การรับจ้างแรงงานรายวัน หรือแรงงานชั่วคราว ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการยังชีพของเขาเหล่านั้นได้อย่างครบถ้วยสมบูรณ์แบบ หนำซ้ำในบ้างครั้ง อาจจะเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมให้เขา อยู่ในวังวนของการเข้าสู่ชีวิต ฅนสนามหลวงได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น
ไปราชประสงค์ เจอคนสนามหลวงพอดี
หากภาครัฐยังมัวแต่แก้ไขปัญหาให้กับชนชั้นกลางที่มีกำลังพอที่จะดูแลตนเองและครอบครัวได้ในระดับหนึ่ง โดยไม่เหลียวแลคนยากจน คนชั้นรากหญ้า ไม่นาน สนามหลวง และที่สาธารณะอื่น ๆก็จะอยู่ในสภาพที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะ ผู้คน จะทะลักกันออกมาจากบ้านเช่าที่เขาไม่สามารถหาเงินจ่ายค่าเช่าเดือนละ 1,000 -1,500 บาทได้ เพื่อมาอยู่ในที่สาธารณะ
รัฐในฐานะผู้รับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองทุกชนชั้น จำต้องมีมาตรการที่ถูกต้องชัดเจนและตรงกับสภาพชีวิตของคนที่อยู่ในกลุ่มรากหญ้าอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาเดือนเศษ รัฐบาลนี้ ยังไม่มีแผน หรือมาตรการใดใดที่จะลงมาช่วยเหลือคนยากจน คนจนเมือง คนจนชนบทอย่างแท้จริงเลยแม้แต่เรื่องเดียว

สภาพการณ์ดังกล่าวจะยังไม่แสดงผลอย่างทันทีทันใดในขณะนี้ แต่จะเริ่มชัดเจนขึ้น ในช่วงหลังจากฤดูการทำนาเพาะปลูกสิ้นสุดลง และหลังจากที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ให้สัญญาว่าจะเปิดทำการตามปกติในราวเดือนกุมภาพันธ์ ตอนนั้นเองจะเห็นภาพสรุปถึงสถานการณ์ที่แท้จริงเด่นชัดมากยิ่งขึ้น โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งอาจจะต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถทนต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกูและประกอบกับต้นทุนการผลิตที่จมหายไปกับมหันตภัยน้ำที่เพิ่งผ่านพ้นไป 
การทำงานในพื้นที่ของอิสรชน ปีใหม่ที่จะถึงนี้ ผ่านปีกระต่าย ย่างเข้าสู่ปีมังกร ศิริมงคลแห่งชีวิตและประเทศ "หงส์เหนือมังกร" เชิญชวนคนใจดีมองเห็นคุณค่าของคนเท่ากัน ร่วมสนับสนุนการทำงานของ อิสรชน โดยบริจาคงบประมาณร่วมสนับสนุนการทำงานได้ที่ ธ.กรุงไทย สาขา ปิ่นเกล้า เลขที่ 031-0-03432-9 "สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน"
วิกฤติการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมาจึงไม่ได้เป็นเพียงการสูญเสียในทางใดทางหนึ่ง หากแต่เป็นการสูญเสียที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และถ้าหากการค้นหาความจริงพบว่าเป็นเตจำนงความต้องการของใครคนใดคนหนึ่ง ที่ต้องการให้เกิดหายนะครั้งนี้ ก็ยิ่งต้องเรียกร้องความรับผิดชอบโดยสมบูรณ์จากบุคคลคนนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะ ทำให้ผู้คนหลักล้านเดือดร้อนไปทั่ว ประชาชนพลเมืองเสียชีวิตและสูญหายกว่า 700 คน บาดเจ็บอีกนับพันคน ครอบครัวบ้านแตกสาแหรกขาด ระบบสังคมโครงสร้างหลักโดนทำลายโดยสิ้นเชิง มีผู้คนต้องกลายเป็นคนเร่ร่อนไร้บ้านมากกว่า 100 ครอบครัวเป็นอย่างน้อยจากการสำรวจในเบื้องต้น ื

ภารกิจการเยี่ยมยาฟื้นฟูในสภาพปกติอาจจะยังไม่เพียงพอ การทำงานในเชิงรุกและเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานต่าง ๆ มีทักษะสำคัญในการทำงานกับผู้ที่เปลี่ยนสถานภาพจากคนปกติทั่วไปมาเป็น "ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ" จะมีความจำเป็นอย่างมาก สังคมต้องหันมาให้การสนับสนุนการทำงา่นกับคนกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องและช่วยกันพัฒนาชุดความรู้ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ เขตการค้าเสรีเาเซี่ยน ในปี 2015 ที่ไทย จะต้องแบกรับภาระมากมายจากประเทศรอบข้างในเวลาอันใกล้ ถามว่าเราพร้อมแล้วหรือยัง ถ้ายังต้องเร่งรีบพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมเสียแต่วันนี้

เทศกาลแห่งความสุข ..กับชีวิตข้างถนนในที่สาธาณะ

เมื่อเทศกาลปีใหม่เข้าเยือนอีกครั้ง หลาย ๆ คนมองหาของขวัญที่จะมอบให้กัน ซื้อบางคนก็เลือกสรรค์ ซื้อของขวัญให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นช่วงของเทศกาลของขวัญจริง ๆ

            แต่เมื่อมองกลับมายังผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่นอนตามถนน ตามที่สาธารณะ เขาไม่ได้เคยได้รับของขวัญที่เขาอยากได้ หรือแม้แต่เขาพยายามเสาะหาของขวัญแต่สุดท้ายของขวัญนั้นก็ไม่ได้มีอยู่จริง
ที่ผู้เขียนกล่าวถึงของขวัญของคนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อยากจะบอกว่าของขวัญที่เราอยากได้ สักวันเราต้องหามาได้ แต่คนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ สุดท้ายแล้วขอขวัญของเขามันไม่มีอยู่จริง
             หลายคนจะถามว่า ทำไม ทำไม คนถึงออกมาอยู่ที่ถนน ออกมาอยู่ในที่สาธารณะ แต่สังคมก็จะมองไปว่า เขาไม่มีบ้าน เขาไม่มีเงิน มองแค่ 2 ปัญหา ซึ่งมันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งและส่วนน้อย จากการทำงานกับคนสนามหลวงมากกว่า 10 ปี อิสรชน พบว่า คนที่ออกมาอยู่ที่ถนนสุดท้ายแล้วเขาไม่ใช่ปัญหา  แต่เขาเป็นปลายปัญหา และสิ่งที่นำพาเขามาข้างถนน ในที่สาธารณะ คือ การที่เขาไม่สามารถจัดการกับความเป็นปัจเจกของตนเองได้

            กล่าวคือ อย่างกรณีคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่อุดรธานี ก็ไม่ต่างจากที่กรุงเทพฯ ลุงคนหนึ่งที่อุดรธานี ณ วันนี้อาศัยรถสามล้อเก่า ๆ เป็นบ้านนอนอยู่ในวัดโพธิ์(ไม่แน่ใจชื่อวัดแต่จำได้คราว ๆ )ตัวเมืองอุดรธานี เขาไปพูดคุย กล่าวคือ คุณลุงเป็นคนโคราช เก็บเงินเพื่อจะมาสู่ขอ เดินจากโคราชมาอุดรธานี สุดท้ายไม่ได้แต่งานกับผู้หญิงที่ตนเองรัก เอาเงินที่จะมาสู่ขอใช้ชีวิตในอุดรธานี จนทุกวันนี้ แกเร่ร่อนมา 50 ปี
คนเร่ร่อนที่อุดรธานี เดินมาจากโคราชเมื่อ 50 ปีที่แล้ว วันนี้อายุ 85 ปี มาเพื่อขอสาวแต่งงาน แต่ไม่ได้แต่งาน ซื้อสามล้อไว้ทำงาน ปัจจุบันเริ่มป่วยทางสมองแล้ว อยู่ที่วัดโพธิ์ฯอุดรธานี
            ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่กรุงเทพฯ ก็เช่นกัน บางคนออกมาเพื่อตามหาบางอย่าง แต่เมื่อไม่พบ ไม่ได้ ก็ไม่กลับบ้าน เพราะจะรอจนกว่าจะได้สิ่งนั้น สาวโรงงานเป็นสาวสวยเมืองอุดรธานีเช่นกัน แต่อยู่ใน อ.เพ็ญ ดั้งด้นออกมาอยู่เมืองกรุง เพื่ออยากได้ อยากมี เหมือนคนที่เขาเข้ามาแสวงหาโชคในเมืองกรุงแล้วประสบความสำเร็จ มีเงิน มีทองกลับบ้าน สร้างบ้านได้ใหญ่โต แต่เมื่อ เขาเข้ามาค้นหาในเมืองแต่มันไม่ได้เป็นอย่างภาพที่เขาสร้างไว้ สุดท้ายพอตกงาน ไม่มีทางไปก็มาใช้ชีวิตอยู่ที่ข้างถนน หรือที่สวนสาธารณะ บางคนในกรณีนี้ถ้าไม่มีหนทางจริง ๆ ก็เข้าสู่เส้นทางของพนักงานขายบริการ ทำไมไม่กลับบ้านหลายคนถาม แต่ถ้ามองไปที่วัฒนธรรม หรือเรื่องของศักดิ์ศรี คนต่างจังหวัดส่วนมากคาดหวังกับคนที่มาแสวงหาโชคในเมืองกรุง โดยเฉพาะคนที่เป็นหญิง เห็นได้จากช่วงเทศกาลต้องมีของติดไม้ติดมือกลับบ้าน หรือแม้แต่ข้านิยมว่าลูกต้องเรียนหมอ เป็นข้าราชการ ซึ่งสังคมไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนออกมาอยู่ที่สาธารณะ เมื่อเขาไม่เป็นอย่างความตั้งใจ บางคนก็จมไม่ลง อย่างกรณีที่ตนเองเรียนมาสูง จบปริญญาตรี พอตกงาน ไม่มีที่ไป แต่พอให้ไปเป็นยามก็ทำไม่ได้ ในกรณีนี้บางคนก็มีก็เป็น
            ซึ่งสุดท้ายแล้วบางคนมองว่าเป็นปัญหาที่ถ้าเป็นเรา บางทีก็แก้ไขได้ ใช่ถ้าเอาเราวัด แต่ถ้าเรามองอย่างเป็นจุดศูนย์กลาง   สังคมถูกสอนมาเช่นไร การถูกปลูกฝัง ค่านิยม ความเชื่อ ล้วนกลายเป็นเครื่องกำหนดคนแทน  นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้คนออกมาอยู่ในที่สาธารณะ แต่เป็นส่วนใหญ่ อีกกรณีที่เราพบคือ กรณีผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตและทางสมองที่ไม่รู้ว่าตนเองป่วย หรือว่าป่วยมากแต่ไม่มีคนดูแล ก็ออกมาอยู่ที่สนามหลวง  บางคนก็ป่วยจนไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ป่วยที่เราเดินอยู่ที่ตามท้องถนน หัวยุ่ง ๆ ใส่เสื้อขาด ๆ เดินไม่รับรู้โลกภายนอก บางคนญาติก็ตามหา บางคนญาติก็ไม่ตามหา
            อีกกรณีคือผู้ที่รักความเป็นอิสระ ความเป็นส่วนตัวสูง เมื่อเขาเสร็จภารกิจในครอบครัว หรือคนที่ดูแลไม่ต้องห่วงใยก็ออกมาเป็นคนในที่สาธารณะ  อย่างกรณีล่าสุดที่เพิ่งเสียชีวิต สร้างบ้านทรงไทยไว้ให้ลูกเมียอยู่ พี่น้องเป็นกำนัน เป็นผู้ใหญ่ นามสกุลศรียานนท์ ก็ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จนเสียชีวิตริมคลองหลอด ทางอิสรชนได้ไปร่วมงานศพที่ญาติเขาจัดให้เมื่อรู้ว่าตายอิสรชนติดต่อญาติและญาติก็จัดทำศพ คนมาร่วมงานกว่า 200 คน นี้ก็เป็นโชคดีของพี่เขา แต่บางกรณีที่มีคนสนามหลวงเสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละหนึ่งราย บางคนตามญาติได้ก็ดี ถ้าญาติรับทำศพ แต่บางคนญาติไม่รับทำศพแต่ถามว่าคนนี้มีเงินเก็บที่ไหน อิสรชนจึงเป็นฝ่ายที่ทำศพให้แทน แต่บางศพที่ไม่มีญาติ ไม่สามารถตามญาติได้ ก็กลายเป็นศพไม่มีญาติ
s
            เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนมานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่หลายคนถามว่าทำไมคนถึงมาอยู่ที่สาธารณะ ซึ่งในความเป็นจริง คนทุกคนมีบ้าน เกิดมามีครอบครัว ถึงแม้จะครอบครัวแท้ ๆ หรือครอบครัวอุปถัมภ์ก็ตาม แต่คุณไม่ได้โดดเดี่ยว แต่การที่ออกมาโดดเดี่ยว คือ การที่เขาไม่สามารถจัดการกับความเป็นปัจเจกของตนเองได้ บางปัญหาของเขาที่เรามองหรือได้รับฟังสังคมก็มองว่า ปัญหาแค่นี้ไม่สามารถจัดการได้ แต่ในความเป็นจริงคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน การจัดการปัญหาหรือหาทางแก้จึงไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นคำพูดที่ว่า “การตัดสินใจคนจากภายนอก ไม่ได้”เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สุดท้ายคนที่เป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะยังมีคงตามหาของขวัญของตนเองอยู่และบางคนก็ออกมาตามกาเรื่อย ๆ แต่บางคนที่หาเจอก็กลับคืนสู่ครอบครัว อิสรชนเราเป็นเพียง คนแนะนำของขวัญที่หลากหลายเพื่อให้เขาได้เลือกหาได้เร็วขึ้น แต่ไม่สามารถนำของขวัญไปให้เขาได้ สุดท้ายเขาต้องเลือกหาด้วยตัวเขาเอง

นั่นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปีแล้วปีเล่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ กลุ่มอิสรชน เป็นกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่เริ่มตัดสินใจเริ่มงานกับคนยากไืร้ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เมื่อปี 2539 เรื่อยมาจนในปี 2548 ได้ก่อตั้งเป็น สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ก็ยังทำงานอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการทำงานมาที่กลุ่ม คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน (สรรพนามที่เรียกในขณะนั้น) และในปี 2553 เราได้ กำหนดสรรพนามเรียกกลุ่มพลเมืองที่เราทำงานด้วยว่า "ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ" และ เริ่มวางแผนการดำเนินงาน จดทะเบียนเป็น มูลนิธิ ภายใต้ชื่อ "มูลนิธิอิสรชน" จนแล้วเสร็จเมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2554  ตามทะเบียนเลขที่ กท ๒๑๓๑ 

จากการทำงานที่เฝ้าติดตามพฤติกรรม วิถีชีวิต ของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ครบ 10 ปี ของการดำเนินงานภายใต้ โครงการสนามหลวง ที่ใช้พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง เป็น "ห้องวิจัยทางสังคม" พบว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะของประเทศไทยมีความเหมือนและความแตกต่างกับ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ในประเทศต่าง ๆ ในหลากหลายแง่มุม แต่มีจุดร่วมที่เหมือนกันนั่นคือ ความปรารถนาที่จะให้สังคมยอมรับในตัวตนการมีอยู่ของพวกเขาในฐานะพลเมือง ที่ควรได้รับการยอมรับและมีสวัสดิการพื้นฐานจากรัฐเสมอภาคเท่ากับคนอื่น ๆ และนั่นคือภาระกิจที่หนัดหน่วงต่อเนื่องและยากลำบากภายใต้โครงสร้างของสังคมที่ไม่มีความเป็นธรรมอย่าประเทศไทย เพราะเพีนงเฉพาะ คนทั่วไปที่อยู่ในโครงสร้างสังคมปกติ ก็ยังไม่ได้รับสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาอย่างเสมอภาคและเท่ากัน สังคมไทยเป็นสังคมที่ยกย่องอำนาจ วาสนา บารมี ยศศักดิ์ และความร่ำรวย มากกว่าจะมองเห็นกันที่คุณค่าความเป็นคนหรือพลเมืองที่เท่ากัน
ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขของประเทศในแต่ละเทศกาล จะพบว่ายังมีคนจำนวนมาก นอนหนาวเหน็บอยู่ข้างถนน บางช่วงบางปี มีคนเสียชีวิตบนเก้าอี้นั่งข้างถนนสายสำคัญของประเทศโดยที่ไม่มีใครรู้จนกระทั่งผ่านไป 1 หรือ 2 วัน ชีวิตข้างถนนในที่สาธารณะที่คนในสังคมตรีตรา ตราหน้าว่า พวกขี้เกียจ ขี้ยา ขี้เหล้า ขี้ขโมย โดยไม่ได้ศึกษาสาเหตุที่แท้จริงและร่วมกันหาทางแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟู ภาระกิจเหล่านี้ ยังจะคงอยู่อน่างต่อเนื่องและอาจเพิ่มความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น หากเรายังไม่ตระหนักรู้และคืนความเสมอภาคให้แก่สังคม หากเรายังปล่อยให้ มีการยกย่องเชิดชูบูชากันแบบผิด ๆ อยู่อย่างนี้ วันหนึ่งคนที่ออกมาใช้ชีวิตข้าถนน ในที่สาธารณะจะเพิ่มจำนวนขึ้นจนยากที่จะแก้ไข วันนี้ คุณมองเห็นพวกเขาแล้วหรือยัง

13 ธันวาคม 2554

Hero of the Sanam Luang Homeless By Sanhaporn Manoharn


Hero of the Sanam Luang Homeless
By Sanhaporn Manoharn 


She comforts her growling stomach by rummaging the bin for anything edible, and then rests on the dirty pavement wearing torn clothes. Strong smell of garbage came from his body while he begs for spare changes to buy necessities that will at least make his life a little bit better. These are some of the daily lives of more than 600 homeless living in Sanam Luang area. Passersby take no notice of these people, or even if they do, they look at them in disgust and not as equal human beings. But one guy proves that there are people with decent heart out there who are willing to lend a hand. Natee Saravari, 41, has spent half of his life caring for less fortunate children and the homeless around Sanam Luang area.


  Saravari grew up in a family where his mother always taught him to never take advantage of others, especially the minorities, but rather to help the society get better. During university he went camping, at the camping base he saw a group of less fortunate kids staring at him
and his friends from outside the fence. This triggered what his mother has always taught him, soon after he got back from camp he gathered a few friends and formed a small group to start working with less fortunate kids.
“When I see that the people we help are relieved from suffering I feel good,” says Saravari who has been helping less fortunate people and homeless for over 20 years.
One day, Saravari slept over at Phra Meru Ground in Sanam Luang. To his surprise, homeless people who were nearby put on the incense to scare away mosquitoes for him, and that was when he started thinking about lending a helping hand to the homeless around Sanam Luang area.
“I never helped them with anything else other than giving back there human pride and pointing out ways to stand on their own feet.”

Problems of homeless people developed from many factors, from being raised in a broken home to severe financial situation. Some moved to Bangkok from rural areas in search of a better life because they believe that the capital city holds better opportunities for them. But when they got tricked by their employers such as taking away their ID, not paying them and firing them, they ended up living on the streets of Sanam Luang area.

It is difficult being a volunteer, money is no question one of the most important aspects in keeping the voluntary group going. Saravari eventually formed a private voluntary organisation, “Issarachon” (literally means people with freedom), with friends and people who decided to join the voluntary group after seeinghis work through Facebook, his website and other media. He also formed “Issarachon Foundation” to fundraise and use the money to help homeless people who depend on him. Saravari wants his organisation to be the “bridge of hope”, bridging the volunteers who hope to offer help to the society and homeless people who hope to learn how to live a better life.
ThailandFree
 “I’m very proud of what I do and I enjoy every moment of it, but I really don’t consider myself a hero.”
The organisation coordinates with Bangkok Health Centre to issue their new IDs and help them get basic healthcare. They also encourage homeless couples to prenatal care and to deliver baby at hospitals rather than on the street. They help find relatives for sick homeless and unidentified dead bodies. The main goal for Issarachon is to empower these people to sustain themselves as well as get public awareness to respect their human rights. Moreover, they motivate homeless people to return home and improve their quality of life.
When asked whether he gets tired or stressed to the point that he wants to stop or not, Saravari said what makes him tired is the fact that he is faced with people who thinks working together is not the solution, people who do not collaborate and does not appreciate teamwork.
Photo Credit: Natee Saravari Facebook
“I always tell others who asked me this question that work is life, life is work, life brings you happiness and work brings happiness,” he also went on saying, “The most important thing I had heard from them that keeps ringing in my ears are the words ‘Please don’t abandon us’, with these few words it assures me that I won’t abandon this job, instead I will make others see what I see in them.”
He also holds a Buddhist motto, “Love your work, be deliberate with your work, always remind yourself and it will bring you happiness and success.” This motto is his belief and it sums up just how passionate he is towards his work as a volunteer.
Saravari suggests that the society should treat all people with equity and accept the diversity. Everyone should learn to be more open-minded. Also, public sectors should provide social welfare sufficiently and equally to everyone. He also believes that everyone in the society has an important part that can make Issarachon happen and become successful.
Saravari’s effort in trying to improve the quality of life for homeless people and less fortunate children have been recognized by the media and was awarded twice as “Good Person to the Society” by UBC TrueVisions, Thailand’s leading cable satellite television operator. iTV, a television station in Thailand (already closed down) also awarded him as “Voluntary Person”. Furthermore, he has received a certificate for “Innovative Work in AIDS Prevention, Bangkok”.
Without Saravari and his private voluntary organisation, Issarachon, homeless people living in Sanam Luang area would never know that life could get better. He proves to the society that there are people out there who are willing to lend a hand to these people and are ready to listen to their stories. He is indeed a local hero for the many homeless people whose lives are much better after knowing this man.

Interviewee contact:

Mr. Natee Saravari
E-mail:             expo2513@hotmail.com
Facebook:        www.facebook.com/profile.php?id=706778299

Website:          www.issarachon.com
Blog:   www.issarachon-homeless.blogspot.com
YouTube:        www.youtube.com/user/naiissarachon

22 ตุลาคม 2554

จดหมายถึงนายกรัฐมนตรี เฝ้าระวังสถานการณ์หลังน้ำลด ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจะเพิ่มมากขึ้น

จดหมายถึงนายกรัฐมนตรี เฝ้าระวังสถานการณ์หลังน้ำลด ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจะเพิ่มมากขึ้น
            อิสรชน เป็นองค์กรที่ทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ พื้นที่หลัก คือสนามหลวง คลองหลอด ได้เฝ้าติดตาม สถานการณ์ตั้งแต่น้ำท่วม และร่วมเฝ้าติดตามสถานการณ์มาด้วยอย่างต่อเนื่องด้วยความเป็นห่วงและกังวลใจ ทั้งนี้ได้ลงพื้นที่ไปให้ความช่วยเหลือในบางพื้นที่ตามกำลังขององค์กร
            สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่หลังจากน้ำลด ก็คือ การออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ของคนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ หนึ่ง คือ การว่างงาน การตกงาน สิ้นเนื้อประดาตัว ที่กล่าวเช่นนั้น อิสรชนเคยเก็บข้อมูล หลังสถานการ์รัฐประหาร ปี 49 โรงงานหลายโรงงานปิดตัวลง คนงานตกงาน ในสนามหลวง มีสาวโรงงานออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะและบางรายเข้าสู่อาชีพของพนักงานบริการอิสระ กว่า 30% และในเหตุกาณ์สถานการร์น้ำท่วมครั้งนี้ แหล่งอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม หลายที่ปิดตัวลง พนักงานพักงาน หยุดงานไม่มีกำหนด บางรายกลับสู่ถิ่นฐาน แต่บางราย ต้องมาดิ้นรนช่วงโรงงานปิดตัว ในกรุง เพื่อหารายได้ในการพยุงชีพ เลี้ยงชีพ บางรายกลับสู่ครอบครัวไม่ได้ เพราะกลับสู่ชนบทก็ทำมาหากินไม่ได้ สิ่งที่น่ากังวลและเป้นห่วงมากที่สุด ที่อิสรชน เฝ้าระวังและร่วมประเมินสถานการร์ร่วมกับ บ้านมิตรไมตรี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่คงของมนุษย์
            สาเหตุที่สอง คือ สุขภาพจิต ผู้ประสบภัยน้ำท่วมบางราย ที่หมดสิ้นเนื้อประดาตัว ตั้งหลักไม่ทัน เข้าสู่ภาวะเครียดและบางรายอาจเสียสติ เข้าสู่ภาวะการป่วยทางจิต และออกมาสู่ถนน เพิ่มมากขึ้น ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ สถานกณารณ์ผู้ป่วยทางจิต เพียงที่สนามหลวง ณ เวลานี้ก็มีกว่า 40% ที่มีอาการทางสมองและจิต และตามถนนทุกเส้นคุณจะเห็นว่ามีผู้ป่วยทางจิต อย่างน้อยหนึ่งรายต่อถนนทุกเส้น สิ่งที่เราอิสรชนกล้ายืนยันที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจาก การย้อนเข้าสู่อดีต ไม่ว่าสถานการณ์ ฟองสบู่แตก รัฐประหาร ทำให้ธุรกิจและโรงงานหลายโรงงานปิดตัวลง บางรายสิ้นเนื้อประดาตัว ตั้งสติไม่ได้ ก็กลายเป็นผู้มีอาการทางจิต พลัดดหลง หรือหายออกจากบ้าน จนกลายมาเป็นผู้ใช้ชีวิตนี่สาธารณะ
            สาเหตุอีกประการหนึ่งคือการสิ้นเนื้อประดาตัวจากงานภาคการเกษตร ที่ดินทำกินถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ทำให้ต้องดิ้นรนเดินทางเข้าสู่เมืองใหญ่ที่ยังพอจะมีโอกาสในการทำมาหากินรวมถึงบางส่วนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีแนวโน้มจะใช้พื้นที่สาธารณะเป็นที่พักพิงและอาศัยในช่วงเวลาที่ตั้งหลักตั้งตัวในกรุงเทพมหานคร
            จึงเป็นสถานการณ์ที่เฝ้าระวังและคาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เพิ่มมากขึ้น กว่าปสถานการณ์ปกติ แต่ทุกรัฐบาลก็จะหันไปเน้นทางด้านเศรษฐกิจ เม็ดเงิน แต่อยากให้หันมาเห็นเรื่องบุคคลมากขึ้น เน้นการดูแลและพัฒนาบุคคลไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ต่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจก้าวเดิน แต่คนไม่ได้ได้รับการดูแลและพัฒนาร่วมกันไปด้วย การก่อเกิดการกดทับ ระบบชนชั้น ก็จะมีคู่กันไป เพราะคนจะมองไม่เห็นคนด้วยกันเอง มองไม่เห็นความเท่ากัน สิทธิอันพึ่งได้ของคนเท่ากันเอง  เพราะทุกวันนี้ผู้ที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อย่างสนามหลวง อย่างน้อยตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ราย กลายเป็นศพไม่มีญาติ ตายไม่ได้ตาย เพราะ ไม่ได้แจ้งตายและอาจเกิดการสวมสิทธิภายหลังได้ ซึ่งอาจจะมองเป็นปัญหาที่ไม่สำคัญ แต่ลึกแล้ว มันเกี่ยวเนื่องกันหมด  การรักษาพยาบาลถ้าไม่มีใครรับเป็นญาติก็ไม่ได้รับการรักษา เอากลับมาคืนที่ สุดท้ายก็นอนเสียชีวิต ณ ที่นั้น ทั้งที่เขาควรได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลขั้นพื้นที่ฐานตามสิทธิความเป็นมนุษย์ ทุกอย่างเริ่มต้นจากการมองเห้นคนไม่เป็นคน มองคนไม่เท่ากัน   การฟื้นฟูสภาพจิตใจ สังคม ต้องทำควบคู่ไปกับการฟื้นฟูทางด้านเศรษฐกิจ เพราะความมั่นคงทางสังคมจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกอบกู้สถานการที่เลวร้ายหลังจากผ่านพ้นวิกฤติพิบัติอุทกภัยของประเทศในครั้งนี้

นที สรวารี
นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

7 ตุลาคม 2554

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิดและเห็น



ทำไมถึงไล่พวกเขา คนจน คนที่บาดเจ็บจากสังคม คุณจะไม่ให้เขามีที่ยืนในสังคมเลยหรือ ทุกวันนี้เขาก็ถูกมองข้ามจากสังคมอยู่แล้ว การดิ้นรนเพื่อเลี้ยงชีวิตวันละพอกิน พออยู่ ตามกำลัง กับชีวิตครอบครัวที่ต้องคอยเลี้ยงดู คุณภาพชีวิตของเขาไม่มี เขาขอเพียงที่หลับนอนที่สนามหลวง แต่วันนี้คุณขอสนามหลวงให้กับคนส่วนใหญ่ ที่มีรถ ที่มีบ้าน แล้วเขาละ จะอยู่ที่ไหน จะเยียวยาอย่างไรก็ช่าง ไม่เดือดร้อนคุณใช่ไหม ผู้บริหารกทม. ทั้งหลาย


.
       จากที่เคยมีนักวิชาการบางท่านนำเสนองานวิจัยที่อ้างว่าทำจากฐานการลงทำงานในพื้นที่โดยเฉพาะสนามหลวงอย่างลงลึกและเกาะติดอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ปี และนำเสนองานจนเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยาว่าเป็นงานวิจัยที่ยอดเยี่ยมฉบับหนึ่งนั่น ในฐานะที่อิสรชน ก็ถือได้ว่าทำงานกับกลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้านอย่างยาวนานและต่อเนื่ององค์กรหนึ่ง ขออนุญาตแสดงความเห็นทั้งที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกันและเห็นแย้งในอีกมุมหนึ่งที่มองจากมุมของคนเร่ร่อนไร้บ้านเองไม่ได้มองจากมุมที่คนนอกมองเข้ามาเพียงอย่างเดียว
ถึงบ้าก็น่ารัก เมียมีอาการทางจิต ที่ไม่สื่อสารกับใคร แต่สามีก็ดูแลกันและกันเสมอมากว่า 10 ปี
         รูปแบบการทำงานของอิสรชนออกจะค่อนข้างนิสัยเสียในด้านของการลงไปฝังตัวแบบลึกถึงลึกมากกับกลุ่มเป้าหมายที่เราทำงานร่วมด้วย เข้าทำนอง ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกิน ร่วมอยู่ ร่วมนอน กันเลยทีเดียว สิ่งที่เราพบเห็น พบเจอ มีทั้งมุมที่สอดคล้องกับ นักวิชาการท่านนั้น อ้างในงานวิจัย และยังมีมุมที่ผิดแผกแตกต่างออกไปเกือบจะสุดขั้วเลยด้วยซ้ำไป

            แม้ว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบในมาตรา 55 จะระบุถึงมาตรฐานขั้นต่ำ (สสร.บางคนออกมาบอก) ที่ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้รัฐบาลที่เข้ามาบริหารหลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไปที่จะถึงนี้ นำไปกำหนดเป็นนโยบายในการบริหารประเทศ แต่ถามว่าจะมีพรรคการเมืองใดจะให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเป็นอันดับต้น ๆ ในเมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ได้ออกมาใช้สิทธิ์ตามหน้าที่ในการละคะแนนเสียงเลือกตั้งพวกเขาเข้ามาบริหารประเทศ ?? ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ก็ ต้องเป็น ประชากรที่ต่ำกว่าประชากรชั้นสามด้วยซ้ำไป คือพวกที่ต้องแอบขึ้นรถไฟ เพราะตั๋วโดยสารไม่มี หรือมีแต่หล่นตกหายไปแล้ว ครั้นจะเสียค่าปรับเพื่อได้ตั๋วใหม่ก็ ไม่มีค่าปรับ ไม่มีใครรับรองว่า เป็นคนเคยมีตั๋วมาก่อน ถึงขนาดบางทีอาจจะต้องโดนเชิญลงจากรถในสถานีถัดไป สู้ ไม่ ไปไหน อยู่กับที่ดูน่าจะมีความสุขกว่า ไม่ต้องดิ้นรนอะไรให้ต้องเสียความรู้สึกไปเปล่า ๆ
ลุงชัยพรตอนนี้กลับมาอยู่ที่บ้านมิตรไมตรี มาเป็นอาสาสมัครสอนพิเศษภาษาอังกฤษ วันนี้แวะมาเยี่ยมอิสรชนที่สนามหลวง
        ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่ อิสรชนพบเจอในการทำงาน ไม่ใช่พวกสิ้นไร้หนทางในการดำเนินชีวิตไปเสียทั้งหมด หากแต่ หลายคนโดนกระทำจากสังคม จากชุมชน  จากครอบครัว จากคนรอบข้าง จนทำให้เขา หมดอาลัยตายอยากในชีวิตก็มีไม่น้อย หลายคนออกจากบ้านเพราะไม่อยากเป็นภาระของลูกหลาน หรือพี่น้อง หลายคน ได้รับความกดดันจากสังคมและชุมชนที่อาศัยอยู่ ไม่ได้เป็นที่ต้องตั้งใจจะออกมาเป็นภาระของสังคมด้วยซ้ำไป หลายคนที่อิสรชน ได้มีโอกาสพูดคุยด้วยก่อนที่เขาจะหายตัวไปจากสนามหลวงหรือที่สาธารณะแห่งอื่น ๆ เป็นคนที่มาจากครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะดี มีการศึกษา แต่ ก็ พอใจที่จะออกมาใช้ชีวิตที่จะแสวงหาคำตอบของชีวิตด้วยตัวของเขาเอง ในรูปแบบของเขาเอง
 รูปนี้พอจะสู้หนุ่มจีนไหวไหมค่ะ น้องอาสาสมัครถ่ายไว้เมื่อปีที่แล้วตอนเจอที่สยามก่อนมาพบกันในสนามหลวงปีนี้ ตอนเอาภาพให้เจ้าตัวดูเขานั่งนึกตั้งนาน จนไม่ยอมกินข้าวไข่เจียวที่ซื้อให้ แต่หันมาพูดเพียงประโยคเดียวว่า "หล่อ" ชมตัวเองด้วย ความน่ารักของผู้ป่วยข้างถนน ที่เราเริ่มต้นคุยได้เกือบเดือน จนวันนี้มานั่งเฝ้าเราทุกวันที่ลงพื้นที่        หลายคนออกมาใช้ชีวิตอย่างอิสระนานวันเข้า ความคิดที่เคยมีกรอบกักขังเขาไว้ ก็ เริ่มเลือนรางและหายไปในที่สุด เขาประกาศตัวเป็นไทจากพันธนาการทางสังคมที่ห่อหุ้มเขาเอาไว้ตั้งแต่แรกเกิด ใช้ชีวิต โดยไม่ ติดยึดกับกรอบเดิม ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาอยู่นอก หรือเหนือกฎหมาย เพียงแต่ เขาไม่ยอมอยู่ภายใต้ การตีตราของสังคมว่า เขาเป็นภาระหรือเป็นขยะสังคมอย่างที่หลาย ๆ คนมองและพิพากษาเขา
        หากวันใดคุณมีโอกาสหรือผ่านไปในที่ที่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่ เขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข อยู่กันแบบครอบครัว เนื้อตัวอาจจะดูสกปรกและมอมแมมไปบ้าง ก็ ขออย่าได้มองอย่างพิพากษาเขาว่า เขา เป็นอย่างที่ ใครเคยบอกคุณต่อ ๆ กันมา ลองมองในมุมที่อิสรชนมอง แล้วคุณเอง จะมีรอยยิ้มแห่งความปิติปรากฎขึ้นทันทีโดยไม่รู้ตัว
คุณลุงที่มาเป้นยามแล้วถูกโกง ตอนนี้ก็ต้องดิ้นรนใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

21 กันยายน 2554

WE CARE FRIEND OF THE HOMELES



Instead of a crackdown - which the Bangkok Metropolitan Administration is intent on - what the homeless at Sanam Luang need is assistance, understanding and respect in order to return to a normal life

Writer: Story by PICHAYA SVASTI / Photos by CHANAT KATANYU

Published: 1/09/2009 at 12:00 AM

Newspaper section: Outlook

Fifty-year-old Jakkalaen, a very skinny woman wearing dirty old clothes, has been living at Sanam Luang for almost 10 years.


The homeless live tough lives at Sanam Luang.

Before that, she had a home and family. But she went out of her mind and ran away from home to Sanam Luang after one of her children died. Like many homeless women at Sanam luang, she has became an alcoholic and used to sell her body in return for a glass of whisky.

Her story has been repeatedly told as a joke by cafe comedians. But, it is not considered funny by the Voluntary Activity Creation Association, or Issarachon, which has been assisting the homeless and sex workers at Sanam Luang for the past six years.

"Our volunteers will sit and chat [with the homeless], distribute condoms and listen to their complaints about this and that. The more they talk, the more we know about their problems, so we can better help them," said Nathee Sornwaree, chairman of Issarachon, which means free people.

The current crackdown attempt by the Bangkok Metropolitan Administration is part of the routine cat-and-mouse chase, he noted. This is the fourth crackdown in the past ten years. Everytime, he said, the homeless soon return to Sanam Luang again.

"The authorities have yet to learn that it is unconstitutional to punish the homeless like this," he said, adding that a bill is being drafted to assist the homeless. "What they need is help, not a crackdown," he said.

His group's attempt to help the homeless started in 1996 when a group of 5 or 6 volunteers who called themselves Issarachon began organising activities for homeless children. The work later grew to include other underprivileged groups such as slum dwellers. It became a foundation in 2005.


"We started our work in 2003, to assist people who stay at Sanam Luang," Nathee recalled. Now, we operate from a van-turned-mobile unit parked near Sanam Luang every Tuesday and Friday from 3 to 11pm. All are welcome to stop by for counselling, medicines, condoms, snacks, water and books to read.

Actually, many of these people have houses and families but have left them behind because of a host of life problems, he said.

Treated as the scum of society, they suffer health problems from their poor quality of life. Alcohol is their escape, a solution for being denied a social identity.

"To many, they are social trash and a burden. But they are actually helping society. Without them, there would be mountains of garbage at Sanam Luang. They help collect the rubbish and turn it into money.

"Many of them have become guinea pigs for vaccine testing programmes, mostly Aids vaccines," he added.

Family problems, especially about money and spouses, are the main reasons why they run away from home. The longer they stay at Sanam Luang, the harder it is for them to return home as most of them become alcoholics.


"They drink alcohol partly because they often have to sleep in the rain, having only a plastic sheet to cover themselves. Alcohol keeps them warm and they enjoy drinking with friends. It sounds like an excuse, but it's true," Nathee added.

Alcoholism, which can lead to heart disease and road accidents, is the major cause of death here. For six years, the group has witnessed the deaths of 30 to 50 people at Sanam Luang. They organised funerals for a few of them and sent the bodies of the rest back home.

According to Nathee, Issarachon's main goal is to help the homeless regain their rights to state welfare benefits as citizens. The group helps them to establish their identities and apply for new ID cards.

"Our primary mission is to bring back their civil rights. However, it is very difficult to convince them to go to a district office for new ID cards. A few BMA thesakit city police [inspectors] have been helping by acting as guarantors. But, these people lose their ID cards so often," he said.

After getting the new ID cards, the homeless will be asked about their future plans. Most of them want to become vendors, so Issarachon helps them to start their businesses by giving them some money or a food cart.

For the new homeless, Issarachon offers them moral support until they feel better and decide to return to their families.


From its mobile unit along Klong Lod canal, the Voluntary Activity Creation Association, or Issarachon, assists the homeless at Sanam Luang.

"If they want to go home, we give them a piggy bank for them to save money. Once their piggy bank is full, we ask them to them count the money. If they are ready to leave, we drive them home and tell them to keep the money as a present. Only a few people have made it, though," Nathee said.

According to him, some of the homeless change their mind and use the money to buy alcohol instead when they are only half-way there.

So far, nearly 20 people have returned home. Fifteen of them did it with the foundation's support. The rest did on their own. "All of them later told us on the phone not to worry about them," Nathee said.

"If they are not ready to go home yet, we help by giving them medicines or arranging medical treatment at nearby hospitals," he explained.

Trust is the key in the relationship. And it does not come by easily.

"It takes a long time for them to give us their real names; a year or two in some cases," said Achara Udomsilp, 22, a volunteer who is a Thammasat graduate. "It's not because they don't trust us. But, they want to forget their past."
ในถาวะที่จะมีการปิดสนามหลวงเกิดขึ้น แต่อยากผู้บริหารว่า ยังมีอีกหลาย Case ที่เจ็บป่วย ช่วยตัวเองไม่ได้เท่าไร คนเหล่านี้คูรมีแผนอย่างไรหรือเพียงคิดได้แค่เอาเขาออกจากพื้นที่ หรือเข้าสู่สถานะสงเคราะห์ที่ ณ วันนี้ไม่เพียงพอที่จะรองรับ เหมือนกับที่คุณพยายามให้ข่าว ว่าจะส่งไปปากเกร็ด
A listening ear, she said, works wonders to win their trust. Many of them love talking about their children and their hopes for them. The volunteers often use this to ask them to reconsider going back home.

According to Achara, Issarachon, with 100 to 200 volunteers at work on rotation, helps about 50 of the 300 to 400 homeless people at Sanam Luang.

The group also assists sex workers at Sanam Luang. It is estimated that there are about 800 to 1,000 sex workers loitering around Sanam Luang around the clock. Their ages range from eight to eighty, said Achara.

"We start by giving them free condoms.When they feel comfortable to talk, we start telling them about birth control and safe sex," she said.

While preventing the HIV/Aids infection from rising, the group also helps to arrange free treatment for those with the infection.
วันนี้อาสาสมัครช่วยกัน เขียนเสื้อ "คุณทิ้ง เราเก็บ" แจกคนสนามหลวง โดยนำเสื้อผ้ามือสองที่ได้รับบริจาค มาเขียนแทน เพราะยังไม่ได้การตอบรับจากกทม.ในเรื่องขอเสื้อสกีนแจกคนสนามหลวงในการช่วยเป็นหูเป็นตาในการเก็บขยะ และไม่มีงบในการซื้อเสื้อตัวใหม่ จึงนำเสื้อมือสองมาเขียน และจะรวมตัวกันครั้งใหญ่ในการช่วยกันเก็บชยะในพื้นที่สนามหลวง คลองหลอด
"They helped send me to Siriraj Hospital when I felt sick. I've had the flu for three days. I usually come to the van for snacks," said Jakkalaen, whose real name is Sulai Madewa.

There are bruises on her legs and body. She fell silent when asked who attacked her. All Achara could do was to apply balm on the wounds while Nathee told her to tell him right away if she was abused again.

Despite her difficult life, Jakkalaen is among those who refuse to return home. "I have been begging," Jakkalaen said showing her two 20-baht bills. Then she put one of the banknotes into Issarachon's donation box.

"I'll keep the rest for booze. I can get more money."

She makes a donation almost every time she visits this mobile unit, said Nathee.

Shortly after Jakkalaen left, a homeless man named Jook, who has been staying at Sanam Luang for three decades, approached the van and greeted Nathee.

"Issarachon helped me apply for a new ID card. But, I've lost more than 20 ID cards so far. I also had a gold health care card, but lost it, too," he recalled.

According to him, he has a family and a house in Thon Buri, but prefers to stay here to drink and spend time with friends.

"I sleep at Sanam Luang on a plastic sheet. Sometimes, I can afford to rent a mat. In winter, it's not cold. When rain falls, we have to run and seek shelter in front of nearby buildings," Jook said about his living condition.
ลุงสมศักดิ์ ที่พอห้าโมงเย็นทุกวันอังคารกับศุกร์จะมานั่งที่ข้าง ๆ รถเพื่อรอาสาสมัครคนใดวางคุยด้วย ซื้อส้มถุงละสิบบาทมาให้ทุกครั้งที่อิสรชนลงพื้นที่ ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย นอกจากลุงสมศักดิ์ที่หายไปยังมีมากกว่าสาม Case ที่เคยมาขอบริการที่รถประจำได้หายไป กำลังตามหาย เพราะเท่าที่ทราบวันที่ประกาศ เคอฟิววันแรกนั้น คนเร่ร่อนถูกจับไป 2 คันรถ เพราะเขาไม่มีเคหะสถาน นอนที่ถนน ซึ่งก่อนหน้านี้อิสรชนก็ตั้งข้อสังเกตว่าคนเหล่านี้ รัฐจะดูแลอย่างไรในระหว่างการประกาศเคอฟิว
Sometimes he sells lottery result checkers or is hired to distribute leaflets or attend mobs. But, for four years, he has been doing another job which he said it is open to drug addicts, drunkards and the homeless only.

"I'm just back from taking medicines for money. I'm paid 70 baht a day. If I go there everyday, I get a weekly bonus of 350 baht. This anti-Aids drug trial programme has been in progress for more than four years," he said.

After Jook walked away, Jon Somjairao, a homeless woman-turned-vendor, approached the van.

"The Issarachon people help us with everything. When we are sick, they take care of us and give us medicines. They have told me about the use of condoms, birth control and basic medicines. Many people around here know them," Jon said.
เด็กตัวเล็กที่ออกจากการเรียน มาช่วยแม่ขายของ ทุกครั้งที่เราลงพื้นที่ น้องเขาก็จะแวะเวียน มาคุย มาอ่านหนังสือ ร่วมทั้งเด็ก ๆ ลูกหลานแม่ค้าในบริเวณนั้นด้วยที่มาค้าขายและหลับนอนในพื้นที่ เด็กคนนี้มีบาดแผลจากการถูกสังกะสีบาด มาทำแผล แต่ที่เราอยากเล่าให้ฟังคือ น้ำใจหลังจากการทำแผล นั้น บางครั้งไปซื้อน้ำดื่ม ก็ซื้อมาฝากเราด้วย มีห้าบาทก็มาหยอดกล่องให้
This year, Issarachon is aiming to expand its programme to cover the homeless in Mahachai, Samut Sakhon. Unfortunately, the group is now faced with a decline in donations in the wake of the economic and political crisis. Before the September 19, 2006 coup, it received at least 10,000 baht each month. Since then, the amount has dropped a few hundred baht per month.

"However, money is not the biggest issue for us. We will continue our work," Nathee said, "Our goal is to maintain the spirit of volunteerism and pass it on to the younger generations."
การแก้ปัญหาคนไร้บ้าน หรือคนที่เราเรียกว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณธไม่ใช่การหาที่อยู่ให้เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นแค่หนึ่งทางเลือกของเขา เพราะคนทุกคนมีบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่า หรือบ้านแบบไหนก็ตามเขามีบ้าน แต่สิ่งที่เขาต้องการคือการยอมรับ จากสังคม การไม่กดทับกันในสังคม

18 กันยายน 2554

สนใจงานฝึกอบรม ติดต่อเรา



สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
คือ องค์กรทำงานแบบอาสาสมัคร ดำเนินกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตแก่คนด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ 
มุ่งให้ความรู้ในเรื่องของทักษะชีวิตจนมาถึงในปี พ.ศ. 2548 ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมกับ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในชื่อ “สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน” เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2548 ตาม หนังสืออนุญาตเลขที่ ต.001/2548 โดยใช้ชื่อย่อว่า “สกอ.” และใช้ชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า “Voluntary Activity Creation Association” ใช้ชื่อย่อในภาษาอังกฤษว่า “VACA.”
ในด้านของงานวิทยากรฝึกอบรม นับเป็นงานระดมทุนในการทำงาน เนื่องจากรายได้จากการเป็นวิทยากรฝึกอบรม 80% นำเข้าสมาคมฯ
เป็นทุนในการทำงานกับผู้ยากไร้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
หลักสูตร ยาเสพติด
¨ สถานการณ์ทั่วไป
¨ ประเภทของยาเสพติด
¨ ปัญหาและผลกระทบ
¨ การแก้ไขละป้องกัน
¨ กระบวนการกลุ่ม
หลักสูตร ผู้นำ
- ภาวะผู้นำ
- สร้างทีมงาน
- การบริหารความขัดแย้ง
- การสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
- การสร้างความรักและความผูกพันในองค์กร
หลักสูตรเพศศึกษา
‡ ร่างกาย ความเชื่อและความจริง
‡ ฉันเป็นฉันเอง
‡ ใจเขาใจเรา เธอคิดฉันคิด
‡ เพศสัมพันธ์ในช่วงวัยรุ่น
‡ แลกน้ำ
‡ เฉียด
‡ นักข่าวหัวเห็ด
‡ รู้เท่าทันสื่อ
หลักสูตรอื่น ๆ
* หลักสูตร ผู้นำกิจกรรม
* หลักสูตร สิ่งแวดล้อม
* หลักสูตร วิทยากรสิทธิและหน้าที่       
แรงงานข้ามชาติเบื้องต้น
* หลักสูตร ประชาธิปไตย
* หลักสูตร เรื่องโลกร้อน
* หลักสูตร ค่ายครอบครัว
* หลักสูตร ผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน
   พนักงานบริการ
* หลักสูตร  ทักษะชีวิต
สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)ที่ดำเนินงาน ด้านพัฒนาศักยภาพของคนด้อยโอกาส ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ เด็กและเยาวชน ให้มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตลอดจนสนับสนุนงานพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)  มีพื้นที่หลักในหารทำงานด้านสาธารณะประโยชน์ที่สนามหลวง คลองหลอดกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและผู้ด้อยโอกาส และงานฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งในการระดมทุนทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
                สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)เห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคคลากรกับองค์กรของท่านโดยที่สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน มีวิทยากรที่มีความสามารถในด้านการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร พร้อมหลักสูตรไว้ให้ท่านพิจารณาหรือออกแบบหลักสูตรใหม่ตามความสนใจของแต่ละองค์กรและยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลากรของท่าน อนึ่ง รายได้จาการรับจัดกิจกรรมฝึกอบรมดังกล่าวสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์) นำไปจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้แก่คนด้อยโฮกาส และเด็กด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งเท่ากับว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโอกาสในสังคมร่วมกับสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)อีกด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ประสานงาน คุณอัจฉรา สรวารี : 086 6870902

8 กันยายน 2554

People live in Public area(PLIPA)



ทำไมถึงไล่พวกเขา คนจน คนที่บาดเจ็บจากสังคม คุณจะไม่ให้เขามีที่ยืนในสังคมเลยหรือ ทุกวันนี้เขาก็ถูกมองข้ามจากสังคมอยู่แล้ว การดิ้นรนเพื่อเลี้ยงชีวิตวันละพอกิน พออยู่ ตามกำลัง กับชีวิตครอบครัวที่ต้องคอยเลี้ยงดู คุณภาพชีวิตของเขาไม่มี เขาขอเพียงที่หลับนอนที่สนามหลวง แต่วันนี้คุณขอสนามหลวงให้กับคนส่วนใหญ่ ที่มีรถ ที่มีบ้าน แล้วเขาละ จะอยู่ที่ไหน จะเยียวยาอย่างไรก็ช่าง ไม่เดือดร้อนคุณใช่ไหม ผู้บริหารกทม. ทั้งหลาย
1.   Homeless person: a person who lives in public areas such as on the street since he owns no land or has been evicted from his own land.ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เป็นผู้ป่วย อยู่ที่จังหวัด พิษณุโลก ใครอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่ในการร่วมส่งเสริมความเท่ากันให้เกิดได้ในสังคม เพียงยิ้ม ทักทายให้คนเหล่านี้บ้าง และอยากช่วยเราอิสรชนในการทำงาน สามารถบริจาคได้ ที่ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล่า ชื่อ สมาคมสร้างสรค์กิจกรรมอิสรชน เลขที่ 031-0-03432-9 หรือ ติดต่อที่ 086-687-0902 เพราะเดือนนี้ยอดบริจาคหายไปเลย ขอบคุณค่ะ
2.   Gypsy: a person who lives in public spaces for instance; the street, Sanamluang, Sapanput (memorial bridge area), Hua Lumpong, Mo Chit, Lumpini, and under the highway or the bridge, usually urban areas such as bus terminals, markets, and tourist spots. The reasons of being gypsy vary among diverse problems for example; unemployment, family dilemma, handicap, following the parents, as well as seeking for freedom.เพียงแค่มีตัวตน ได้ใช้สิทธิตามพลเมือง ของผู้ที่ออมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
3.   Homeless gypsy: a person who moves out from his/her own place for whatever reason, live in public spaces, or even set up a new family in public. Homeless gypsy can move around or temporarily settle down at some places.การแก้ปัญหาคนไร้บ้าน หรือคนที่เราเรียกว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณธไม่ใช่การหาที่อยู่ให้เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นแค่หนึ่งทางเลือกของเขา เพราะคนทุกคนมีบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่า หรือบ้านแบบไหนก็ตามเขามีบ้าน แต่สิ่งที่เขาต้องการคือการยอมรับ จากสังคม การไม่กดทับกันในสังคม
4.   Homeless children / Homeless family: children who live on the street or other public areas which could be divided into groups according to;ล่าสุดที่ลงพื้นที่ที่สนามหลวง พบว่าตอนนี้มีเด็กอ่อน ถึง 3 คน เป็นเด็กชาย 2 เด็ก หญิง 1 อายุ 1 เดือน 3 เดือน และ 7 เดือน ที่แม่เป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อยู่ที่ริมคลองหลอด เบื้องต้น ต้องการรับบริจาคนมผง ตรา S26 และผ้าอ้อม เบอร์ s เฉลี่ยเด็ก 1 คน ค่าใช้จ่ายในเรื่องนมผงและผ้าอ้อม ตกเดือนละประมาณ 1000 บาท หรือถ้าใครสนใจบริจาคนมผง สามารถติดต่อมาได้ที่ 086-687-0902 ค่ะ จะซื้อมาบริจาคด้วยตัวเองหรือโอนเงินมาสนันสนุน ยินดีค่ะ
1) where they live for example; children who live and make their living on the street, children who live under bridges, market, beaches, or construction sites
2) their jobs such as beggars, workforces, gangsters, and sex-workers
3) their ways of living for example; family lives on street that move to particular places according to their jobs such as construction-site workers and fishermen, and people who prefer to live by themselves for some reasons such as family problems, broken family, poverty which could widely be defined as laborer’s children, slum children, tribal children, stateless children, and foreign children
NOTE: in particular cases children under 15 (no ID card) can grow up in public spaces until set up their families and turn into homeless families which then the kids that were born to these families are likely to be permanent homeless children since they have no ID cards and neither do their parents
5. Alcoholism can cause trouble at people’s work as well their health, can be chronic even losing self-control leading to many negative results socially, politically, mentally, and physically which many patients do not realize that these problems caused by alcoholism.These people might be motivated by denial or refusal from their families since they are alcoholic, otherwise they might use alcohol to relieve their pain for too long therefore later become addicted to itคนสวยประจำสนามหลวงมาขอรองเท้าไม่มีรองเท้าใส่ จึงต้องถอดให้ อิอิ สุดท้ายเราเดินเท้าเปล่า ขับรถเท้าเปล่ากลับบ้าน แต่ก็มีความสุขดี คนสวยได้รองเท้าแล้วยิ้มมีความสุขเช่นกัน
6. Mental patients in public: people who have mental illness that might get lost from their homes and later on become gypsies anyhow including homeless gypsy who have psychological or mental problems as well.
NOTE:“Dementia” or mental deterioration is a non-specific illness syndrome which affects areas of brain such as memory, attention, language, and problem-solving as well as a person’s daily-life. It can be separated into 2 groups; Alzheimer's disease and strokes which usually happen with old people.รูปนี้พอจะสู้หนุ่มจีนไหวไหมค่ะ น้องอาสาสมัครถ่ายไว้เมื่อปีที่แล้วตอนเจอที่สยามก่อนมาพบกันในสนามหลวงปีนี้ ตอนเอาภาพให้เจ้าตัวดูเขานั่งนึกตั้งนาน จนไม่ยอมกินข้าวไข่เจียวที่ซื้อให้ แต่หันมาพูดเพียงประโยคเดียวว่า "หล่อ" ชมตัวเองด้วย ความน่ารักของผู้ป่วยข้างถนน ที่เราเริ่มต้นคุยได้เกือบเดือน จนวันนี้มานั่งเฝ้าเราทุกวันที่ลงพื้นที่
7.  Sex-worker: people who earn their living from sexual services, provide mental and physical pleasure for customers in exchange of money. Having this job maybe the result of poverty, problems in family, personal reasons such as being nobody and bad environment. Some of them are both sex-workers and service-ladies.
8.  Former prisoner: people who already served their time in prison but receive neither chance nor forgiveness from their community therefore force them to live in public.วันนี้ไปรับของบริจาค ที่ ซ.รางน้ำ ได้เห็นครอบครัว คนเร่ร่อน อยุ่ที่ใต้สะพาน ก่อนถึงสวนสันติภาพ 1 ครอบครัวแลละบางส่วนก็จะอยู่รอบ ๆ สวนสันติภาพ
9.  Urban poor: people who live in slum or have no permanent home, distant from social welfare, face economic problem, indebted, thus seek their chances in the city however, with high living expenses too no hope as they expected, they have no place to go and no land to return so they become people who live in public areas.คุณลุง แซนต้า ที่คุณจะเห็นได้บ่อยตามท้องถนน คุณลุงเขาเก็บขยะ ขวดน้ำ ที่คนทิ้ง ไปขายแลกเงินในการดำรงชีวิต อีกอาชีพของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ขยะแลกเป็นรายได้สำหรับคนคนหนึ่ง หรือครอบครัวหนึ่ง วันหนึ่งได้ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป ถ้าวันไหนไม่ได้ก็ไปขอข้าววัดทาน คือ คนเร่ร่อนที่ช่วยตัวเองได้ สู้ดิ้นรนด้วยตัวเอง ไม่ได้ขี้เกียจอย่างสังคมเข้าใจ
10.   People who temporarily stay in public: people who have special purposes to stay in public for a length of time for example; to visit relatives at nearby hospital, to work in the factory, or to work as motorcyclist but not enough money to rent the room/apartment therefore use public spaces to rest at night.
คนสนามหลวงเอารั้วเหล็ก มาทำบ้านนอนริมคลองหลอด เพื่อกันฝน 
Plaes Donation Bank info : Savings Account : Voluntary Activity Creation Association,Krung Thai Bank, Central Pinklao branch, account number 031-0-03432-9 or Bangkok Bank, Min Buri branch, account number 145-5-24762-5