21 กันยายน 2554

WE CARE FRIEND OF THE HOMELES



Instead of a crackdown - which the Bangkok Metropolitan Administration is intent on - what the homeless at Sanam Luang need is assistance, understanding and respect in order to return to a normal life

Writer: Story by PICHAYA SVASTI / Photos by CHANAT KATANYU

Published: 1/09/2009 at 12:00 AM

Newspaper section: Outlook

Fifty-year-old Jakkalaen, a very skinny woman wearing dirty old clothes, has been living at Sanam Luang for almost 10 years.


The homeless live tough lives at Sanam Luang.

Before that, she had a home and family. But she went out of her mind and ran away from home to Sanam Luang after one of her children died. Like many homeless women at Sanam luang, she has became an alcoholic and used to sell her body in return for a glass of whisky.

Her story has been repeatedly told as a joke by cafe comedians. But, it is not considered funny by the Voluntary Activity Creation Association, or Issarachon, which has been assisting the homeless and sex workers at Sanam Luang for the past six years.

"Our volunteers will sit and chat [with the homeless], distribute condoms and listen to their complaints about this and that. The more they talk, the more we know about their problems, so we can better help them," said Nathee Sornwaree, chairman of Issarachon, which means free people.

The current crackdown attempt by the Bangkok Metropolitan Administration is part of the routine cat-and-mouse chase, he noted. This is the fourth crackdown in the past ten years. Everytime, he said, the homeless soon return to Sanam Luang again.

"The authorities have yet to learn that it is unconstitutional to punish the homeless like this," he said, adding that a bill is being drafted to assist the homeless. "What they need is help, not a crackdown," he said.

His group's attempt to help the homeless started in 1996 when a group of 5 or 6 volunteers who called themselves Issarachon began organising activities for homeless children. The work later grew to include other underprivileged groups such as slum dwellers. It became a foundation in 2005.


"We started our work in 2003, to assist people who stay at Sanam Luang," Nathee recalled. Now, we operate from a van-turned-mobile unit parked near Sanam Luang every Tuesday and Friday from 3 to 11pm. All are welcome to stop by for counselling, medicines, condoms, snacks, water and books to read.

Actually, many of these people have houses and families but have left them behind because of a host of life problems, he said.

Treated as the scum of society, they suffer health problems from their poor quality of life. Alcohol is their escape, a solution for being denied a social identity.

"To many, they are social trash and a burden. But they are actually helping society. Without them, there would be mountains of garbage at Sanam Luang. They help collect the rubbish and turn it into money.

"Many of them have become guinea pigs for vaccine testing programmes, mostly Aids vaccines," he added.

Family problems, especially about money and spouses, are the main reasons why they run away from home. The longer they stay at Sanam Luang, the harder it is for them to return home as most of them become alcoholics.


"They drink alcohol partly because they often have to sleep in the rain, having only a plastic sheet to cover themselves. Alcohol keeps them warm and they enjoy drinking with friends. It sounds like an excuse, but it's true," Nathee added.

Alcoholism, which can lead to heart disease and road accidents, is the major cause of death here. For six years, the group has witnessed the deaths of 30 to 50 people at Sanam Luang. They organised funerals for a few of them and sent the bodies of the rest back home.

According to Nathee, Issarachon's main goal is to help the homeless regain their rights to state welfare benefits as citizens. The group helps them to establish their identities and apply for new ID cards.

"Our primary mission is to bring back their civil rights. However, it is very difficult to convince them to go to a district office for new ID cards. A few BMA thesakit city police [inspectors] have been helping by acting as guarantors. But, these people lose their ID cards so often," he said.

After getting the new ID cards, the homeless will be asked about their future plans. Most of them want to become vendors, so Issarachon helps them to start their businesses by giving them some money or a food cart.

For the new homeless, Issarachon offers them moral support until they feel better and decide to return to their families.


From its mobile unit along Klong Lod canal, the Voluntary Activity Creation Association, or Issarachon, assists the homeless at Sanam Luang.

"If they want to go home, we give them a piggy bank for them to save money. Once their piggy bank is full, we ask them to them count the money. If they are ready to leave, we drive them home and tell them to keep the money as a present. Only a few people have made it, though," Nathee said.

According to him, some of the homeless change their mind and use the money to buy alcohol instead when they are only half-way there.

So far, nearly 20 people have returned home. Fifteen of them did it with the foundation's support. The rest did on their own. "All of them later told us on the phone not to worry about them," Nathee said.

"If they are not ready to go home yet, we help by giving them medicines or arranging medical treatment at nearby hospitals," he explained.

Trust is the key in the relationship. And it does not come by easily.

"It takes a long time for them to give us their real names; a year or two in some cases," said Achara Udomsilp, 22, a volunteer who is a Thammasat graduate. "It's not because they don't trust us. But, they want to forget their past."
ในถาวะที่จะมีการปิดสนามหลวงเกิดขึ้น แต่อยากผู้บริหารว่า ยังมีอีกหลาย Case ที่เจ็บป่วย ช่วยตัวเองไม่ได้เท่าไร คนเหล่านี้คูรมีแผนอย่างไรหรือเพียงคิดได้แค่เอาเขาออกจากพื้นที่ หรือเข้าสู่สถานะสงเคราะห์ที่ ณ วันนี้ไม่เพียงพอที่จะรองรับ เหมือนกับที่คุณพยายามให้ข่าว ว่าจะส่งไปปากเกร็ด
A listening ear, she said, works wonders to win their trust. Many of them love talking about their children and their hopes for them. The volunteers often use this to ask them to reconsider going back home.

According to Achara, Issarachon, with 100 to 200 volunteers at work on rotation, helps about 50 of the 300 to 400 homeless people at Sanam Luang.

The group also assists sex workers at Sanam Luang. It is estimated that there are about 800 to 1,000 sex workers loitering around Sanam Luang around the clock. Their ages range from eight to eighty, said Achara.

"We start by giving them free condoms.When they feel comfortable to talk, we start telling them about birth control and safe sex," she said.

While preventing the HIV/Aids infection from rising, the group also helps to arrange free treatment for those with the infection.
วันนี้อาสาสมัครช่วยกัน เขียนเสื้อ "คุณทิ้ง เราเก็บ" แจกคนสนามหลวง โดยนำเสื้อผ้ามือสองที่ได้รับบริจาค มาเขียนแทน เพราะยังไม่ได้การตอบรับจากกทม.ในเรื่องขอเสื้อสกีนแจกคนสนามหลวงในการช่วยเป็นหูเป็นตาในการเก็บขยะ และไม่มีงบในการซื้อเสื้อตัวใหม่ จึงนำเสื้อมือสองมาเขียน และจะรวมตัวกันครั้งใหญ่ในการช่วยกันเก็บชยะในพื้นที่สนามหลวง คลองหลอด
"They helped send me to Siriraj Hospital when I felt sick. I've had the flu for three days. I usually come to the van for snacks," said Jakkalaen, whose real name is Sulai Madewa.

There are bruises on her legs and body. She fell silent when asked who attacked her. All Achara could do was to apply balm on the wounds while Nathee told her to tell him right away if she was abused again.

Despite her difficult life, Jakkalaen is among those who refuse to return home. "I have been begging," Jakkalaen said showing her two 20-baht bills. Then she put one of the banknotes into Issarachon's donation box.

"I'll keep the rest for booze. I can get more money."

She makes a donation almost every time she visits this mobile unit, said Nathee.

Shortly after Jakkalaen left, a homeless man named Jook, who has been staying at Sanam Luang for three decades, approached the van and greeted Nathee.

"Issarachon helped me apply for a new ID card. But, I've lost more than 20 ID cards so far. I also had a gold health care card, but lost it, too," he recalled.

According to him, he has a family and a house in Thon Buri, but prefers to stay here to drink and spend time with friends.

"I sleep at Sanam Luang on a plastic sheet. Sometimes, I can afford to rent a mat. In winter, it's not cold. When rain falls, we have to run and seek shelter in front of nearby buildings," Jook said about his living condition.
ลุงสมศักดิ์ ที่พอห้าโมงเย็นทุกวันอังคารกับศุกร์จะมานั่งที่ข้าง ๆ รถเพื่อรอาสาสมัครคนใดวางคุยด้วย ซื้อส้มถุงละสิบบาทมาให้ทุกครั้งที่อิสรชนลงพื้นที่ ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย นอกจากลุงสมศักดิ์ที่หายไปยังมีมากกว่าสาม Case ที่เคยมาขอบริการที่รถประจำได้หายไป กำลังตามหาย เพราะเท่าที่ทราบวันที่ประกาศ เคอฟิววันแรกนั้น คนเร่ร่อนถูกจับไป 2 คันรถ เพราะเขาไม่มีเคหะสถาน นอนที่ถนน ซึ่งก่อนหน้านี้อิสรชนก็ตั้งข้อสังเกตว่าคนเหล่านี้ รัฐจะดูแลอย่างไรในระหว่างการประกาศเคอฟิว
Sometimes he sells lottery result checkers or is hired to distribute leaflets or attend mobs. But, for four years, he has been doing another job which he said it is open to drug addicts, drunkards and the homeless only.

"I'm just back from taking medicines for money. I'm paid 70 baht a day. If I go there everyday, I get a weekly bonus of 350 baht. This anti-Aids drug trial programme has been in progress for more than four years," he said.

After Jook walked away, Jon Somjairao, a homeless woman-turned-vendor, approached the van.

"The Issarachon people help us with everything. When we are sick, they take care of us and give us medicines. They have told me about the use of condoms, birth control and basic medicines. Many people around here know them," Jon said.
เด็กตัวเล็กที่ออกจากการเรียน มาช่วยแม่ขายของ ทุกครั้งที่เราลงพื้นที่ น้องเขาก็จะแวะเวียน มาคุย มาอ่านหนังสือ ร่วมทั้งเด็ก ๆ ลูกหลานแม่ค้าในบริเวณนั้นด้วยที่มาค้าขายและหลับนอนในพื้นที่ เด็กคนนี้มีบาดแผลจากการถูกสังกะสีบาด มาทำแผล แต่ที่เราอยากเล่าให้ฟังคือ น้ำใจหลังจากการทำแผล นั้น บางครั้งไปซื้อน้ำดื่ม ก็ซื้อมาฝากเราด้วย มีห้าบาทก็มาหยอดกล่องให้
This year, Issarachon is aiming to expand its programme to cover the homeless in Mahachai, Samut Sakhon. Unfortunately, the group is now faced with a decline in donations in the wake of the economic and political crisis. Before the September 19, 2006 coup, it received at least 10,000 baht each month. Since then, the amount has dropped a few hundred baht per month.

"However, money is not the biggest issue for us. We will continue our work," Nathee said, "Our goal is to maintain the spirit of volunteerism and pass it on to the younger generations."
การแก้ปัญหาคนไร้บ้าน หรือคนที่เราเรียกว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณธไม่ใช่การหาที่อยู่ให้เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นแค่หนึ่งทางเลือกของเขา เพราะคนทุกคนมีบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่า หรือบ้านแบบไหนก็ตามเขามีบ้าน แต่สิ่งที่เขาต้องการคือการยอมรับ จากสังคม การไม่กดทับกันในสังคม

18 กันยายน 2554

สนใจงานฝึกอบรม ติดต่อเรา



สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
คือ องค์กรทำงานแบบอาสาสมัคร ดำเนินกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตแก่คนด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ 
มุ่งให้ความรู้ในเรื่องของทักษะชีวิตจนมาถึงในปี พ.ศ. 2548 ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมกับ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในชื่อ “สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน” เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2548 ตาม หนังสืออนุญาตเลขที่ ต.001/2548 โดยใช้ชื่อย่อว่า “สกอ.” และใช้ชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า “Voluntary Activity Creation Association” ใช้ชื่อย่อในภาษาอังกฤษว่า “VACA.”
ในด้านของงานวิทยากรฝึกอบรม นับเป็นงานระดมทุนในการทำงาน เนื่องจากรายได้จากการเป็นวิทยากรฝึกอบรม 80% นำเข้าสมาคมฯ
เป็นทุนในการทำงานกับผู้ยากไร้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
หลักสูตร ยาเสพติด
¨ สถานการณ์ทั่วไป
¨ ประเภทของยาเสพติด
¨ ปัญหาและผลกระทบ
¨ การแก้ไขละป้องกัน
¨ กระบวนการกลุ่ม
หลักสูตร ผู้นำ
- ภาวะผู้นำ
- สร้างทีมงาน
- การบริหารความขัดแย้ง
- การสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
- การสร้างความรักและความผูกพันในองค์กร
หลักสูตรเพศศึกษา
‡ ร่างกาย ความเชื่อและความจริง
‡ ฉันเป็นฉันเอง
‡ ใจเขาใจเรา เธอคิดฉันคิด
‡ เพศสัมพันธ์ในช่วงวัยรุ่น
‡ แลกน้ำ
‡ เฉียด
‡ นักข่าวหัวเห็ด
‡ รู้เท่าทันสื่อ
หลักสูตรอื่น ๆ
* หลักสูตร ผู้นำกิจกรรม
* หลักสูตร สิ่งแวดล้อม
* หลักสูตร วิทยากรสิทธิและหน้าที่       
แรงงานข้ามชาติเบื้องต้น
* หลักสูตร ประชาธิปไตย
* หลักสูตร เรื่องโลกร้อน
* หลักสูตร ค่ายครอบครัว
* หลักสูตร ผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน
   พนักงานบริการ
* หลักสูตร  ทักษะชีวิต
สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)ที่ดำเนินงาน ด้านพัฒนาศักยภาพของคนด้อยโอกาส ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ เด็กและเยาวชน ให้มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตลอดจนสนับสนุนงานพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)  มีพื้นที่หลักในหารทำงานด้านสาธารณะประโยชน์ที่สนามหลวง คลองหลอดกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและผู้ด้อยโอกาส และงานฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งในการระดมทุนทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
                สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)เห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคคลากรกับองค์กรของท่านโดยที่สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน มีวิทยากรที่มีความสามารถในด้านการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร พร้อมหลักสูตรไว้ให้ท่านพิจารณาหรือออกแบบหลักสูตรใหม่ตามความสนใจของแต่ละองค์กรและยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลากรของท่าน อนึ่ง รายได้จาการรับจัดกิจกรรมฝึกอบรมดังกล่าวสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์) นำไปจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้แก่คนด้อยโฮกาส และเด็กด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งเท่ากับว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโอกาสในสังคมร่วมกับสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)อีกด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ประสานงาน คุณอัจฉรา สรวารี : 086 6870902

8 กันยายน 2554

People live in Public area(PLIPA)



ทำไมถึงไล่พวกเขา คนจน คนที่บาดเจ็บจากสังคม คุณจะไม่ให้เขามีที่ยืนในสังคมเลยหรือ ทุกวันนี้เขาก็ถูกมองข้ามจากสังคมอยู่แล้ว การดิ้นรนเพื่อเลี้ยงชีวิตวันละพอกิน พออยู่ ตามกำลัง กับชีวิตครอบครัวที่ต้องคอยเลี้ยงดู คุณภาพชีวิตของเขาไม่มี เขาขอเพียงที่หลับนอนที่สนามหลวง แต่วันนี้คุณขอสนามหลวงให้กับคนส่วนใหญ่ ที่มีรถ ที่มีบ้าน แล้วเขาละ จะอยู่ที่ไหน จะเยียวยาอย่างไรก็ช่าง ไม่เดือดร้อนคุณใช่ไหม ผู้บริหารกทม. ทั้งหลาย
1.   Homeless person: a person who lives in public areas such as on the street since he owns no land or has been evicted from his own land.ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เป็นผู้ป่วย อยู่ที่จังหวัด พิษณุโลก ใครอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่ในการร่วมส่งเสริมความเท่ากันให้เกิดได้ในสังคม เพียงยิ้ม ทักทายให้คนเหล่านี้บ้าง และอยากช่วยเราอิสรชนในการทำงาน สามารถบริจาคได้ ที่ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล่า ชื่อ สมาคมสร้างสรค์กิจกรรมอิสรชน เลขที่ 031-0-03432-9 หรือ ติดต่อที่ 086-687-0902 เพราะเดือนนี้ยอดบริจาคหายไปเลย ขอบคุณค่ะ
2.   Gypsy: a person who lives in public spaces for instance; the street, Sanamluang, Sapanput (memorial bridge area), Hua Lumpong, Mo Chit, Lumpini, and under the highway or the bridge, usually urban areas such as bus terminals, markets, and tourist spots. The reasons of being gypsy vary among diverse problems for example; unemployment, family dilemma, handicap, following the parents, as well as seeking for freedom.เพียงแค่มีตัวตน ได้ใช้สิทธิตามพลเมือง ของผู้ที่ออมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
3.   Homeless gypsy: a person who moves out from his/her own place for whatever reason, live in public spaces, or even set up a new family in public. Homeless gypsy can move around or temporarily settle down at some places.การแก้ปัญหาคนไร้บ้าน หรือคนที่เราเรียกว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณธไม่ใช่การหาที่อยู่ให้เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นแค่หนึ่งทางเลือกของเขา เพราะคนทุกคนมีบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่า หรือบ้านแบบไหนก็ตามเขามีบ้าน แต่สิ่งที่เขาต้องการคือการยอมรับ จากสังคม การไม่กดทับกันในสังคม
4.   Homeless children / Homeless family: children who live on the street or other public areas which could be divided into groups according to;ล่าสุดที่ลงพื้นที่ที่สนามหลวง พบว่าตอนนี้มีเด็กอ่อน ถึง 3 คน เป็นเด็กชาย 2 เด็ก หญิง 1 อายุ 1 เดือน 3 เดือน และ 7 เดือน ที่แม่เป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อยู่ที่ริมคลองหลอด เบื้องต้น ต้องการรับบริจาคนมผง ตรา S26 และผ้าอ้อม เบอร์ s เฉลี่ยเด็ก 1 คน ค่าใช้จ่ายในเรื่องนมผงและผ้าอ้อม ตกเดือนละประมาณ 1000 บาท หรือถ้าใครสนใจบริจาคนมผง สามารถติดต่อมาได้ที่ 086-687-0902 ค่ะ จะซื้อมาบริจาคด้วยตัวเองหรือโอนเงินมาสนันสนุน ยินดีค่ะ
1) where they live for example; children who live and make their living on the street, children who live under bridges, market, beaches, or construction sites
2) their jobs such as beggars, workforces, gangsters, and sex-workers
3) their ways of living for example; family lives on street that move to particular places according to their jobs such as construction-site workers and fishermen, and people who prefer to live by themselves for some reasons such as family problems, broken family, poverty which could widely be defined as laborer’s children, slum children, tribal children, stateless children, and foreign children
NOTE: in particular cases children under 15 (no ID card) can grow up in public spaces until set up their families and turn into homeless families which then the kids that were born to these families are likely to be permanent homeless children since they have no ID cards and neither do their parents
5. Alcoholism can cause trouble at people’s work as well their health, can be chronic even losing self-control leading to many negative results socially, politically, mentally, and physically which many patients do not realize that these problems caused by alcoholism.These people might be motivated by denial or refusal from their families since they are alcoholic, otherwise they might use alcohol to relieve their pain for too long therefore later become addicted to itคนสวยประจำสนามหลวงมาขอรองเท้าไม่มีรองเท้าใส่ จึงต้องถอดให้ อิอิ สุดท้ายเราเดินเท้าเปล่า ขับรถเท้าเปล่ากลับบ้าน แต่ก็มีความสุขดี คนสวยได้รองเท้าแล้วยิ้มมีความสุขเช่นกัน
6. Mental patients in public: people who have mental illness that might get lost from their homes and later on become gypsies anyhow including homeless gypsy who have psychological or mental problems as well.
NOTE:“Dementia” or mental deterioration is a non-specific illness syndrome which affects areas of brain such as memory, attention, language, and problem-solving as well as a person’s daily-life. It can be separated into 2 groups; Alzheimer's disease and strokes which usually happen with old people.รูปนี้พอจะสู้หนุ่มจีนไหวไหมค่ะ น้องอาสาสมัครถ่ายไว้เมื่อปีที่แล้วตอนเจอที่สยามก่อนมาพบกันในสนามหลวงปีนี้ ตอนเอาภาพให้เจ้าตัวดูเขานั่งนึกตั้งนาน จนไม่ยอมกินข้าวไข่เจียวที่ซื้อให้ แต่หันมาพูดเพียงประโยคเดียวว่า "หล่อ" ชมตัวเองด้วย ความน่ารักของผู้ป่วยข้างถนน ที่เราเริ่มต้นคุยได้เกือบเดือน จนวันนี้มานั่งเฝ้าเราทุกวันที่ลงพื้นที่
7.  Sex-worker: people who earn their living from sexual services, provide mental and physical pleasure for customers in exchange of money. Having this job maybe the result of poverty, problems in family, personal reasons such as being nobody and bad environment. Some of them are both sex-workers and service-ladies.
8.  Former prisoner: people who already served their time in prison but receive neither chance nor forgiveness from their community therefore force them to live in public.วันนี้ไปรับของบริจาค ที่ ซ.รางน้ำ ได้เห็นครอบครัว คนเร่ร่อน อยุ่ที่ใต้สะพาน ก่อนถึงสวนสันติภาพ 1 ครอบครัวแลละบางส่วนก็จะอยู่รอบ ๆ สวนสันติภาพ
9.  Urban poor: people who live in slum or have no permanent home, distant from social welfare, face economic problem, indebted, thus seek their chances in the city however, with high living expenses too no hope as they expected, they have no place to go and no land to return so they become people who live in public areas.คุณลุง แซนต้า ที่คุณจะเห็นได้บ่อยตามท้องถนน คุณลุงเขาเก็บขยะ ขวดน้ำ ที่คนทิ้ง ไปขายแลกเงินในการดำรงชีวิต อีกอาชีพของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ขยะแลกเป็นรายได้สำหรับคนคนหนึ่ง หรือครอบครัวหนึ่ง วันหนึ่งได้ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป ถ้าวันไหนไม่ได้ก็ไปขอข้าววัดทาน คือ คนเร่ร่อนที่ช่วยตัวเองได้ สู้ดิ้นรนด้วยตัวเอง ไม่ได้ขี้เกียจอย่างสังคมเข้าใจ
10.   People who temporarily stay in public: people who have special purposes to stay in public for a length of time for example; to visit relatives at nearby hospital, to work in the factory, or to work as motorcyclist but not enough money to rent the room/apartment therefore use public spaces to rest at night.
คนสนามหลวงเอารั้วเหล็ก มาทำบ้านนอนริมคลองหลอด เพื่อกันฝน 
Plaes Donation Bank info : Savings Account : Voluntary Activity Creation Association,Krung Thai Bank, Central Pinklao branch, account number 031-0-03432-9 or Bangkok Bank, Min Buri branch, account number 145-5-24762-5

6 กันยายน 2554

ล้อม “สนามหลวง” ผลักไสพวกเขาไปไห



เรื่อง/ภาพ : ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ
- 1 -
ภายหลังการทำบุญตักบาตรแด่พระภิกษุนับพันรูป พิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราชและสมเด็จพระบูรพมหากษัตราธิราชเจ้าผ่านพ้นไปเมื่อ 9 สิงหาคม 2554  “สนามหลวง” ที่ปิดปรับปรุงมายาวนานหลายร้อยวัน (เกินกำหนดการแรกมากว่าร้อยวันโดยปราศจากคำอธิบาย) จึงได้ฤกษ์เปิดให้ “สาธารณชน” เข้ามาใช้สอยพื้นที่อย่างเป็นทางการ
ก่อนการปิดปรับปรุง ที่แห่งนี้เคยมีสภาพที่ทรุดโทรมจากการใช้งานที่หลากหลายมายาวนาน และยังถูกมองว่าเป็นโบราณสถานที่มีอาชญากรรมเกิดขึ้น  เช่นนั้น-กรุงเทพมหานครจึงใช้งบประมาณสูงถึง 181 ล้านบาทในการ “ปรับปรุงภูมิทัศน์” พร้อมกับสร้างมาตรการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อดูแล “ความปลอดภัย” ให้สาธารณชน
ปัจจุบัน “สนามหลวง” อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่ได้ในช่วงเวลา 05.00 – 22.00 น. โดยมีรั้วเหล็กสีเขียวล้อมรอบเพื่อป้องกันการ “บุกรุก” เข้ามาในช่วงเวลาค่ำคืน เหลือไว้เพียงถนนเส้นกลางที่สามารถสัญจรไปมาได้ตลอด 24 ชั่วโมง (หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 10 ปี ปรับ 1 ล้านบาท) โดยกรุงเทพมหานครให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกัน “ผู้บุกรุก” และคงความสง่างามของพื้นที่ ให้เคียงคู่กับพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เวลาผ่านมานับเดือน จริงหรือไม่ว่าคนจำนวนไม่น้อยต่างรู้สึกดีกับ “สนามหลวงโฉมใหม่” ที่ได้เปลี่ยนพื้นที่อันเคยทรุดโทรมตามกาลเวลา ให้เป็นผืนหญ้าอันเขียวขจี ซ่อมแซมพื้นที่บริเวณรอบๆ ปรับปรุงระบบระบายน้ำ และเพิ่มเติมแสงสว่างยามค่ำคืน พร้อมกับมีความปลอดภัยแผ่ไปรอบพื้นที่ จากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
หากจับโฟกัสไปยังตัว “พื้นที่” ขนาด 74 ไร่ 63 ตารางวา การปรับปรุงภูมิทัศน์ “สนามหลวง” ให้สมกับเป็น “โบราณสถาน” ที่สำคัญของประเทศไทย -- ก็น่ายินดี-ไม่มีปัญหา เพราะสิ่งที่ได้มาก็มีแต่ “ทัศนียภาพที่งดงาม” และ “ความปลอดภัยที่น่าอุ่นใจ”
- 2 -
ห่างจาก “สนามหลวงโฉมใหม่” เพียงการก้าวเดินไม่กี่นาที บริเวณริมคลองหลอด สวนสราญรมย์ ชุมชนสามแพร่ง แยกคอกวัว สะพานพระปิ่นเกล้า ฯลฯ เมื่อสนามหลวงไม่อนุญาตให้พวกเขาอาศัยหลับนอนในเวลากลางคืนอีกแล้ว ส่งผลให้เป็นเวลามากกว่าหนึ่งปีแล้วที่ “คนใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ได้กระจายเพิ่มจำนวนออกไปหลับนอนในเวลากลางคืน หรือแม้เวลากลางวันที่สนามหลวงอนุญาตให้เข้าไปได้ พวกเขาก็ดูจะยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเข้าไปหย่อนกายลงพักผ่อน
ปี 2553 สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนได้สำรวจปริมาณคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะในทุกเขตของกรุงเทพฯ พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 2,451 คน แบ่งเป็นชาย 1,590 คน และหญิง 861 คน
นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน บอกว่าคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่จะมาอาศัยสนามหลวงเป็นที่พึ่ง เพราะเป็นพื้นที่เปิดโล่ง-ให้ความรู้สึกปลอดภัย และพวกเขายังสามารถมีรายได้จากการเก็บขวดพลาสติกบริเวณรอบๆ มาขายได้ด้วย
วันที่เจอกันบริเวณริมคลองหลอด นทีประจำการอยู่ท้ายรถคันใหญ่ที่สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนใช้เป็นพาหนะสำหรับมาทำงานกับคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะรอบๆ สนามหลวงทุกวันอังคารและวันศุกร์  ประสบการณ์กว่า 10 ปีที่เขาคลุกคลีกับความเป็นจริง คงไม่มากเกินไปที่จะบอกว่า เขาคือคนหนึ่งที่มองเห็นปัญหาระหว่าง “สนามหลวง” และ “คนใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” เป็นอย่างดี
เมื่อถามถึงสิ่งที่ “สนามหลวง” เป็น และสิ่งที่ “คนใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” เจอ นทีได้ลองเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่เกิดได้อย่างเห็นภาพว่า
สนามหลวง = เขื่อนขนาดใหญ่
คนใช้ชีวิตในที่สาธารณะ = น้ำที่อยู่ในเขื่อน
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ = การเปิดเขื่อน
ระบบรองรับ = พื้นที่รับน้ำ
“ลองนึกดูว่าถ้า ‘สนามหลวง’ เป็น ‘เขื่อนขนาดใหญ่’ ที่มี ‘น้ำ’ อยู่จำนวนมาก แล้วคุณไป ‘เปิดเขื่อน’ กระทันหัน ทั้งที่บริเวณรอบนอกยังไม่มี ‘พื้นที่รับน้ำ’ เพียงพอ ในที่สุดน้ำจำนวนมากก็ออกไปท่วมอยู่ตามที่ต่างๆ” นทีเปรียบเทียบปัญหา และบอกว่าเขื่อนได้ถูกเปิดมาตั้งแต่กลางปี 2553 แล้ว
ย้อนกลับไปในปี 2552 นทีเล่าว่าจากที่เขาเคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมที่จะเตรียมปิดปรับปรุงสนามหลวง แล้วที่ประชุมมีมติร่วมกันว่าจะใช้เวลา 2 ปีในการเตรียม “พื้นที่รับน้ำ” แล้วจึงจะเปิดเขื่อน -- แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน กรุงเทพมหานครก็ประกาศ-ปิดปรับปรุงสนามหลวง ทั้งที่ระบบรองรับยังไม่เพียงพอ หรือแม้แต่บ้านพักตามคำมั่นสัญญาก็ยังไม่สมบูรณ์
“ผมเองก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการที่ให้พวกเขามานอนในสนามหลวงนะ แต่เราต้องไม่ห้าม ถ้าคุณว่าคนกลุ่มนี้เป็นปัญหา ทางออกมันไม่ใช่การเอาเขาออกจากพื้นที่ แต่คุณต้องสร้างกลไกอื่นมาทำงานกับเขา เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เขาออกจากพื้นที่ จนเขาไม่อยากกลับมาอยู่ที่นี่  ถ้ารัฐมีบริการที่ดี เขาจะไม่มานอนสนามหลวง ถ้าเขามานอน นั่นหมายถึงบริการของรัฐมันยังไม่เพียงพอ” นทีแสดงความเห็น
สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนเลือกที่จะแบ่งคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะเป็น 10 ประเภท ได้แก่ผู้พ้นโทษ พนักงานบริการ คนเร่ร่อนไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน/ครอบครัวเร่ร่อน คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน คนจนเมือง ผู้ใช้ที่สาธารณะหลับนอนชั่วคราว คนเร่ร่อน ผู้ติดสุรา นั่นหมายความว่าการแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันด้วย
นทีเปรียบเทียบการแก้ปัญหากับการคัดเลือกเบอร์ไข่ ถ้าสามารถทำให้ไข่เบอร์ใหญ่-เบอร์เล็กสามารถลงไปตามช่องที่เหมาะสม การคัดแยกก็จะได้ตรงตามประเภท  เช่นเดียวกับคนใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่กว่าครึ่งมีอาการป่วยทั้งทางจิต และทางสมอง ส่วนที่เหลือยังแบ่งได้อีกหลากหลายประเภท ภาครัฐจึงไม่สามารถที่จะเหมารวมกัน และใช้วิธีการเดียวกันในการแก้ปัญหาได้
“ไม่ใช่มันใช้ไม่ได้ แต่มันไม่พอ” นทีพูดถึงวิธีการแบบสังคมสงเคราะห์ที่รัฐมักใช้เป็นทางออก “ผู้ป่วยสมองเสื่อมก็ใช้วิธีการหนึ่ง ผู้ป่วยทางจิตก็ใช้วิธีหนึ่ง คนไม่มีบ้านก็พาไปหาบ้าน คนไหนสามารถส่งกลับได้ก็ส่งกลับ มันเป็นการทำงานกับคนที่ใช้กลไกต่างๆ เยอะมาก  คุณลงทุน 181 ล้านสำหรับการสร้างสนามหญ้า และลงทุนปีละหลายล้านสำหรับจ้างเจ้าหน้าที่มาเฝ้าสนามหญ้า แล้วคุณลงทุนกับคนเท่าไร”
- 3 -
สัปดาห์ต้นเดือนกันยายน 2554
ผมยืนอยู่ ณ ใจกลางโบราณสถานนามว่า “สนามหลวง”  นึกเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เห็นกับสิ่งที่เคยเห็นก่อนการปรับปรุง  แม้เดิมจะไม่มีหญ้าเขียวๆ ให้ชื่นชม ไม่สะอาด-เป็นระเบียบเท่าวันนี้ แต่ผมกลับรู้สึกว่าภาพเก่าก่อนดูจะมีชีวิตชีวาไม่น้อย – คนมาเล่นกีฬาเป็นประจำ การค้าขายที่หลากหลาย หรือแม้แต่การเห็นความเป็นจริงของสังคม ผ่านคนที่มาใช้ชีวิตเช้า-กลางวัน-เย็น-ดึกดื่นที่นี่
หลังจากเดินรอบสนามหลวง ผมพบว่าทั้งที่เป็นเวลาอนุญาต จะเป็นช่วงระหว่างวันที่แดดร้อนจัด หรือช่วงพลบค่ำที่ปลอดไอแดด จากที่เคยมีคนเข้ามาใช้สอยพื้นที่จำนวนมาก ก็เหลือคนมาบางตา จนพื้นที่อันเคยมีชีวิตชีวาได้ถูกลดทอนความสำคัญ จนการใช้งานเหลือเพียงเส้นทางข้ามผ่านระหว่างฟากถนนไปโดยไม่รู้ตัว
‘เป็นไปได้ว่าความเป็นระเบียบคงเป็นคนละความหมายกับคำว่ามีชีวิตชีวา’ ผมรู้สึกแบบนั้น
“ตอนนี้สามารถเข้าไปในสนามหญ้าได้ไหมครับ” ผมลองถามเจ้าหน้าที่เทศกิจดู เพราะเห็นว่าจะกลางวันหรือกลางคืน ผมก็แทบไม่เห็นใครเหยียบย่ำลงไปในผืนหญ้าเลย
“เข้าได้แล้วครับ ตอนนี้สนามหญ้าที่ดูแลมาเริ่มอยู่ตัวแล้ว” เขาตอบ และผายมือไปรอบๆ คล้ายเชิญชวน
“แล้วในเวลาปกติ สามารถเข้าไปนอนได้ไหม” ผมถามต่อ
“ถ้าเป็นการมานอนเล่นๆ มาปิกนิคกัน สามารถทำได้ครับ แต่ถ้ามานอนจริงจัง มานอนหลับเลย จะไม่อนุญาตครับ” เจ้าหน้าที่เทศกิจตอบคำถาม โดยไม่มีคำอธิบายอย่างสมเหตุสมผล นอกจากบอกว่า-มันจะดูไม่ดี
มองเผินๆ มาตรการนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับ “คนใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาต้องเจอ ก็คือสิ่งเดียวกับที่คนทุกคนต้องเจอ
บ่ายวันหนึ่ง-ผมเห็นชายเนื้อตัวมอมแมมเดินเข้ามายังภายใน “สนามหลวง” จากฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านรั้วเหล็กสีเขียวที่ล้อมรอบ และการเฝ้ามองจากเจ้าหน้าที่เทศกิจที่เฝ้าดูแลพื้นที่อยู่ เขาหยุดที่ถังขยะแต่ละใบ ค้นหาสิ่งที่ต้องการ และใช้เวลาไม่นานนักในการออกไปทางฝั่งศาลฎีกา พร้อมกับขวดพลาสติกจำนวนหนึ่ง
พูดแบบไม่เข้าข้างใคร เพราะผมเองก็ไม่ได้มีญาติมิตรเป็น “คนใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ผมรู้สึกว่า “สนามหลวงโฉมใหม่” นอกจากจะห้ามพวกเขามาหลับนอนในยามค่ำคืนแล้ว เวลาเปิดทำการก็ได้สถาปนาภาพลักษณ์ที่สวยๆ งามๆ มาสถิตยังพื้นที่ ทำให้ด้วยความที่ภายนอกดูไม่น่าไว้วางใจ จะน้อยจะมาก คนไม่น้อยคงรู้สึกหวั่นใจถ้าพวกเขาเข้ามาดังเดิม และพวกเขาเองก็คงได้สูญเสียความมั่นใจที่จะมาพักพิงยังพื้นที่แห่งนี้ไป – ดังเช่นที่ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเคลื่อนย้ายไปไหนก็มีแต่คนมองด้วยสายตาหวาดระแวง
“ที่ผมกลัวที่สุด คือกลัวความเคยชินของคนที่รู้สึกว่า ‘อย่างนี้ก็ดีอยู่แล้ว’ ไม่เห็นมีปัญหาอะไร” นที สรวารี เคยพูดไว้ และผมเองก็เห็นด้วยกับเขาอย่างยิ่ง
“ทุกวันนี้พวกเขารู้สึกว่า ‘ไม่เข้าก็ได้’ ‘นอนข้างนอกก็ได้’ และ ‘สนามหลวง’ ก็สูญเสียจิตวิญญาณในการช่วยคนทุกข์ยาก ผมว่ามันน่าจะภูมิใจมากกว่านะ เปรียบเป็นคน เขาเคยโอบอุ้มคนทุกข์ยากไว้ แต่วันหนึ่ง ‘สนามหลวง’ ก็ถูกแต่งตัวใหม่ให้สวยงาม แต่ห้ามคนแต่งตัวสกปรกมากอด เขาอาจจะอยากกอดคนเหล่านี้ใจจะขาด ต่างคนต่างได้แต่นั่งมองกัน”
“จินตนาการ ‘สนามหลวง’ ไว้ยังไงบ้าง” ผมถามคำถามสุดท้ายกับเขา
“มันก็จะกลายเป็น ‘สวนสาธารณะ’ ที่เขียวชอุ่ม ดูเป็นธรรมชาติ แต่มันจะแห้งแล้งในความรู้สึก คนที่บอกว่าปรับปรุงดีแล้ว เขาเคยเข้ามาใช้สนามหลวงไหม ? ผมว่ามีความเป็นไปได้นะ ถ้าเป็นแบบนั้นจริง มันหมายความว่าคนไทยได้พ่ายแพ้วัตถุ และได้เริ่มสูญเสียจิตวิญญาณความเป็นคนไปแล้ว” เขาปิดบนสนทนาได้น่าหดหู่ยิ่ง

2 กันยายน 2554

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ สนามหลวง ฤดูฝน


ย่างเข้าฤดูฝนอีกครั้ง ?? หลายคนบ่นกระปอดกระแปด เพราะฝนตกไปไหนมาไหนก็ชื้นเฉะไปหมด เดินทางก็ลำบาก ขึ้นรถลงเรือก็ไม่สะดวกสบาย แต่ในอีกมุมหนึ่งหลายคนอาจจะมองไม่ทันเห็นหรือไม่ทันสังเกต ?? โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ หรือที่หลาย ๆ คนยังเรียกติดปากว่า คนเร่ร่อน คนจรจัด คนไร้บ้าน ตามแต่ จะเรียกกันไป ?? ว่าเขานอนเขาอยู่กันอย่างไร ??
นี่ล่ะ ฝีมือ ของอิสรชนของแท้
อิสรชน ในฐานะองค์กรอาสาสมัคร ที่ทำงานคลุกคลีอยู่กับคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยเฉพาะบริเวณ สนามหลวงและคลองหลอด มาระยะเวลาหนึ่ง พบว่าภาพหนึ่งที่เราเห็นแล้วต้องรู้สึกสลดใจทุกครั้งในรอบปี ที่ผ่านมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นั่นคือ ภาพของ คนที่อยู่ที่นี่ ต้องตอนตากฝน นอนทนหนวเมื่อยามฝนตกทุกครั้ง เพราะหาก ไปหาที่หลบฝนตามใต้หลังคาตึกบนถนนราชดำเนินไม่ทันเสียแล้ว ก็ต้องนอนตากฝนใต้ต้นไม้ริมคลองหลอด หรือ รอบ ๆ สนามหลวงกันไปให้พ้นคืนนั้นไปให้ได้
ยามฝนโปรยริมคลองหลอด
อิสรชน พยายามหาทางช่วยเหลือแบบเฉพาะหน้ากันไปในแต่ละปี ทั้งการหาเต้นท์นอนเพื่อใช้ในช่วงฤดูฝน หรือ หาผ้าพลาสติคเพื่อให้ไว้ใช้ในระหว่างที่ยังใช้ชีวิตในที่สาธารณะก่อนที่จะตัดสินในเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตนเองไปสู่เส้นทางอื่น ที่สุดแท้แต่ละคนแต่ละครอบครัวจะเลือก
พื้นที่ทำงาน
ฤดูฝนนี้ อิสรชนมัวสาละวนกับการเตรียมการจัดตั้งมูลนิธิ เพื่อหวังว่าจะทำให้เราทำงานช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เผลอไผลไปว่าเข้าสู่ช่วงวิกฤตอีกครั้งของฅนสนามหลวงแล้ว การระดมหาทางให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ทั้งผ้าพลาสติค หรือต้นท์นอน ในปีนี้ คงต้องเริ่มต้นหาเตรียมไว้สำหรับช่วงฝนชุกที่กำลังจะมาในอีกไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึงนี้
นี่ก็ปี ......
หลายคนอาจะรู้สึกแค่รำคาญและเปียกชื้นกับการโดนฝนแต่เมื่อกลับถึงที่พัก กลับถึงบ้านของแต่ละคนอาการเหล่านั้นก็จะหายไปในที่สุด แต่ คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ นั้น เขาต้องอยู่ในสาภพนั้นจนกว่าฝนจะหยุดตก และ ต้องรอให้ตัวแห้งไปเองซึ่งนั่นก็เสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยเพิ่มเติม
ตรอกสาเก
ใครอยากจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเฉพาะหน้าในปีนี้ ก็ยังสามารถทำได้ตลอดเวลา อิสรชนยินดีเป็นสื่อกลางในการส่งต่อความหวังดีของคนไทยที่มีต่อกัน
 คุณสามารถมีส่วนร่วมสนับสนุนการทำงานของเราได้ที่ ธานคารกรุงไทย สาขาปิ่นเกล้า เลขที่บัญชี 031-0-03432-9 ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน