26 ตุลาคม 2556

คุณเห็นเค้ามั้ย

ในสังคมที่มีแต่ความวุ่นวายแย่งชิงดีชิงเด่นกันและในยุคของทุนนิยมที่เทคโนโลยีทันสมัยเจริญก้าวหน้า ยังมีคนอีกกลุ่มนึงที่ถูกสังคมตีตราว่าพวกเค้าเป็นคนที่สกปรกน่ารังเกียจซึ่งคนในสังคมเรียกพวกเค้าว่าคนเร่ร่อนคุณเคยเห็นและรับรู้ไหมว่ายังมีพวกเค้าอยู่ในสังคมคำว่า ' คุณเห็นเค้ามั้ย ? "  หมายความว่า คุณเห็นเค้ารึเปล่าที่นอนอยู่ตามข้างถนน หรือนอนอยู่ใต้สะพาน คุณเคยคิดที่จะช่วยหรือแบ่งปันพวกเขาบ้างรึเปล่า พวกเขาไม่ได้ขอให้ใครมาสงสารหรือเห็นใจพวกเขาแต่อยากให้เห็นว่า ' เขาก็เท่ากับคุณ ' ที่นี้อิสรชนใช้คำเรียกพวกเขาว่า ' เพื่อน ' เพราะเราเป็นเพื่อนกันมีอะไรก็แบ่งปันกัน อยากให้สังคมลองปรับทัศนคติต่อพวกเขาเหล่านี้ใหม่ ลองเปิดใจและลองแบ่งปันโอกาสให้กับเพื่อนในสังคมแค่นี้สังคมเราก็จะน่าอยู่มากขึ้น


16 ตุลาคม 2556

SW201 มูลนิธิอิสรชน



น้อง ๆ นักศึกษา สังคมสงเคราะห์ ธรรมศาสตร์ มาทำรายงาน

12 ตุลาคม 2556

โรงเรียนข้างถนนกับเรียนรู้ชีวิตคนเร่ร่อน

สัปดาห์ที่ 2แล้วของฉันที่ได้ลงพื้นที่พูดคุยเรียนรู้ชีวิตของคนเร่ร่อน ฉันได้เข้าไปพูดคุยกับพี่เคราที่ใช้ชีวิตที่คลองหลอดสนามหลวงมานานเกือบ 10 กว่าปี ' พี่เคราเล่าว่าการดำรงชีวิตอยู่หรือการใช้ชีวิตของคนที่นี้ ก่อยู่แบบง่ายๆ ไม่ได้เลือกกิน หิวก่ไปขอข้าววัด หรือไม่ก่หาของเก่าหรือเก็บขวดขายเพื่อที่จะได้เอาเงินมาซื้อข้าวกิน แต่ถ้าหากวันไหนไม่มีก่หาตามถังขยะกินเพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอดในวันต่อไป ส่วนการนอนพี่เคราเล่าว่า ' บางทีก่ไปอาศัยนอนอยู่ป้อมตำรวจเพราะว่ามันทำให้รู้สึกปลอดภัยอีกทั้งก่เฝ้าป้อมตำรวจเอาไว้ด้วย หรือดัดแปลงจากแพงเหล็กที่กั้นนำเชือกมาผูกทำเป็นที่นอนส่วนตัวและนำผ้าใบมากางไว้ข้างบนเพื่อเป็นการป้องกันฝนเวลาฝนตกก่จะได้ไม่เปียก เคยมีคำถามจากพี่จะจ๋าว่า ถ้าหากกรุงเทพเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ เกิดสึนามิ เราจะเอาตัวรอดได้ไหม คำตอบฉันของฉันคือ คิดว่าต้องตายแน่ๆ แต่พี่จะจ๋าก่บอกว่ารู้มั้ยคนที่จะอยู่รอดก่คือคนเขาเหล่านี้ละเพราะพวกเขาไม่ได้เลือกกินไม่ได้เลือกอยู่ โรงเรียนข้างถนนแห่งนี้ได้สอนให้ฉันรู้กับการใช้ชีวิตของคนเร่ร่อนที่ถึงแม้ว่าพวกเค้าจะไม่ได้มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายกว่าพวกเราแต่พวกเขาก่อยู่ได้และยังสอนมิตรภาพในความเป็นเพื่อนให้กับฉันอีกด้วย :) 

10 ตุลาคม 2556

ข้อเสนอและขั้นตอนการทำงานให้การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

มูลนิธิอิสรชน และ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เคยเสนอรูปแบบและขั้นตอนการทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไปแล้วได้แก่
  1. การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
  2. การสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น
  3. การคุยกลุ่มย่อยในพื้นที่
  4. การคุยกลุ่มย่อยนอกพื้นที่
  5. การทำประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็นในพื้นที่
  6. การให้บริการพื้นฐานเฉพาะหน้า
  7. การออกหน่วยให้คำปรึกษาแบบเคลื่อนที่เร็ว
  8. การตั้งหน่วยบริการให้คำปรึกษาแบบประจำจุด


โดยที่ทั้ง 8 ขั้นตอนในการทำงานหัวใจสำคัญอยู่ที่การเป็นคนช่างสังเกต มองเห็น ด้วยความสงสัยใคร่รู้ เพื่อนำไปสู่การแสวงหาคำตอบที่จะเป็นหนทางในการให้การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้อย่างถูกต้องตรงความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายและสภาพปัญหาที่แต่ละคนเผชิญ

อนึ่งภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในระดับแรกต้องใช้ภาษากายก่อน ด้วยการส่งสายตาและรอยยิ้มรวมถึงท่าทีที่เป็นมิตร จากนั้นจึงใช้คำทักทายที่เป็นกันเองภาษาง่าย ๆ ถ้าสามารถสื่อสารภาษษท้องถิ่นเดียวกันกับเขาได้จะยิ่งเป็นการกระชับเวลาในการสร้างความคุ้นเคยได้เร็วขึ้น

ทุกครั้งที่เข้าพื้นที่เพื่อทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม คือ กระเป๋า ย่าม หรือเป้สะพาย ที่ภายในนั้นจะมีอุปกรณ์การทำงานในเบื้องต้นได้แก่ ยาสามัญประจำบ้าน และชุดปฐมพยาบาล รวมไปถึง ขนม ถุงยางอนามัย ยาทากันยุง หนังสือการ์ตูนหรือหนังสืออ่านเล่น บางครั้งอาจจะมีเกมแบบพกพา เพื่อนำไปใช้ในระหว่างการสนทนาพูดคุยเก็บข้อมูลเบื้องต้น

ความรวดเร็วและความไวต่อปฏิกิริยารอบข้างรอบตัวในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ปฏิบัติงานต้องตั้งใจฟังการพูดคุยของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพื่อเก็บประเด็นสนทนาที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในแต่ละราย โดยเฉพาะข้อมูลจำเพาะส่วนตัว หรือข้อมูลที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือในกรณีส่งกลับครอบครัว ชุมชน ที่เขาจากมา

ประการสำคัญที่สุดของการทำงานภาคสนามกับ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คือ การรักษาความลับของเจ้าของข้อมูล การเปิดเผยจะสามารถทำได้ในกรณีเดียวคือการประชุมคณะทำงานเพื่อแสวงหาทางเลือกในการให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณี หรือการส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนต่อไป 






ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ : พัฒนาการการทำงาน


             
 เมื่อพูดถึงผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเชื่อว่าหลายคนยังไม่คุ้นชินกับคำ ๆ นี้ เพราะส่วนมากยังหลงวนอยู่ในวาทกรรม คนเร่ร่อน”  “คนไร้บ้านหรือแม้กระทั่งยังติดบ่วงคำว่า คนจรจัดอยู่ด้วยซ้ำไป ทั้งที่ในความเป็นจริงยังมีหลากหลายชีวิตที่อยู่ในที่สาธารณะ ทั้งที่โลดแล่นอยู่ด้วยนิยามความหมายที่ว่า โดยสมัครใจหรือ รักอิสระทั้งหมดนั่นเป็นเพียง การให้นิยามที่ตัดความรำคาญเมื่อถูกรุกไล่เพื่อซักถามจาก คนนอกมากจนเกินความพอดีที่จะอดทนสนทนาอยู่ได้.....
               จากการคลุกคลีในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในที่สาธารณะ ทำให้ค้นพบความหลากหลายของสรรพชีวิตในที่สาธารณะจนจำแนกแยกแยะออกมาได้ 10 กลุ่ม เมื่อราวปลายปี 2553ซึ่งได้แก่ คนเร่ร่อน ,ผู้ติดสุรา ,คนที่ใช้ที่สาธารณะในการหลับนอน ,ผู้ป่วยข้างถนน ,คนจนเมือง ,คนไร้บ้าน ,เด็กเร่ร่อนและครอบครัวเร่ร่อน ,คนเร่ร่อนไร้บ้าน ,พนักงานบริการอิสระ และผู้พ้นโทษ และจากากรทำงานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ เราพบว่ายังคนอีกอย่างน้อย 3 กลุ่มอยู่ในพื้นที่สาธารณะทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ,เพื่อนบ้านแถบอาเซียน และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
ประเด็นที่น่าสนใจกับสถานการณ์ดังกล่าวคือ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา หน่วยงานภาครัฐเริ่มปรับตัวในการให้บริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีการระบุในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก ที่ระบุให้รัฐต้องมีนโยบายในการดูแลกลุ่มคนที่ยากไร้ไร้ที่พึ่งไม่มีอาชีพและที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงออกแบบการให้บริการพลเมืองในกลุ่มที่ตกหล่นจากการรับสวัสดิการของรัฐในรูปแบบของ ศูนย์คนไร้บ้านที่ต่อมา ได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการ เน้นการทำงานทั้ง รุกและรับ อีกทั้งยังมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่หลากหลายมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค ภายใต้ชื่อ บ้านมิตรไมตรี

บ้านมิตรไมตรี ในระยะเริ่มแรกเปิดเพียง 4 บ้านในระยะแรก และเพิ่มเติมเป็น 5 บ้านในระยะ 2 ปีแรก หลังจากปี 2554 เป็นต้นมา บ้านมิตรไมตรี ขยายงานออกในส่วนภูมิภาคทั้งสิ้น 10 บ้านได้แก่ กรุงเทพมหานคร ,ชลบุรี ,นครราชสีมา ,ขอนแก่น ,อุบลราชธานี ,พิษณุโลก ,เชียงใหม่ ,นครศรีธรรมราช ,สงขลา และภูเก็ต โดยในแต่ละบ้าน ได้สร้างอัตตลักษณ์ในการทำงานได้อย่างชัดเจนและตรงความต้องการ และสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มการพัฒนารูปแบบการทำงานอย่างไม่หยุดนิ่ง


ในขณะที่ฟากขององค์กรพัฒนาเอกชนเองที่กลับหยุดนิ่งในการพัฒนารูปแบบการทำงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่ยังหลงวนอยู่กับงานประจำของตัวเอง สาละวนกับการเรียกร้องในเรื่องเดิม ๆ ที่ยังมองไม่เห็นการต่อยอดในการพัฒนา หรือการบูรณาการในการทำงานที่เป็นรูปธรรม ไม่มีข้อเสนอใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพของปัญหาและความต้องการที่ในแต่ละกลุ่มของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ มีแตกจต่างกันออกไป

มูลนิธิอิสรชน และ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณได้เดินสายถอดบทเรียนการทำงานของบ้านมิตรไมตรีและสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง ที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ โดยการสุ่มสำรวจและสอบถามพูดคุย ถอดบทเรียนการทำงานของภาครัฐ จนสามารถจัดทำ คู่มือการทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและกระตุ้นให้บ้านมิตรไมตรี 10 แห่ง คิดค้นรูปแบบการทำงานที่แต่ละบ้านเผชิญอยู่ในแต่ละพื้นที่ และมีแน้วโน้มที่จะนำไปสู่การทำงานในรูปแบบใหม่ ที่ภาครัฐปรับตัวมีการทำงานนอกเวลาราชการในระดับพื้นที่เพิ่มมากขึ้น มีการสร้างความคุ้นเคยกับ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในแต่ละจังหวัดเพิ่มมากขึ้น มีกระบวนการนำไปสู่การสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้เกิดการจัดสรรงบประมาณในการทำงานให้สอดคล้องกับขนาดของปัญหาในแต่ละพื้นที่ โดยเกือบทั้งหมด เกิดจากการสอบถามจากความต้องการของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นผู้รับบริการเองโดยตรง และยังมีการผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. .. ที่เป็นกฎหมายสำหรับสนับสนุนการทำงานกับผู้รับบริการกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ

จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ณ วันนี้ ภาครัฐ โดยเฉพาะ บ้านมิตรไมตรี  สำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานภาครัฐที่เริ่มทำงานเชิงรุกและรับ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ อย่างครบวงจร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองกันต่อไปว่า หากมีการจัดการอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของปัญหานี้ แล้ว ปัญหา ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จะสามารถคลี่คลายตัวเองลงได้บ้างหรือไม่อย่างไร